ReadyPlanet.com


อาจารย์ นพ วิสุทธิ์


ครั้งที่อาจารย์วิสุทธิ์  ขอให้ศาลตัดสินให้ อาจารย์ กับ พญผุสดี  หย่าถ้าศาลตัดสินให้อาจารย์วิสุทธ์ กับพญ ผัสพร หย่า  ตามที่ ท่านทั้งสอง ขอ คงไม่เกิดเรื่องรุนแรงแบบนี้ ครับ   บทเรียนจาก เคสนี้   คือ   การที่คน 2 คนไม่เต็มใจอยู่ร่วมกัน  กรุณาอย่าใช้กฎหมายบังคับให้คนทั้ง สองต้องทรมานไปตลอดชีวิตเลยครับ    ถ้ามีเคสอื่น ที่สามีไม่สามารถอยู่ร่วมกับภรรยา เนื่องจากมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน และไม่มีความสุขและนับวันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  แต่ภรรยาไม่ยินยอมหย่า   ทางกฎหมายมีทางช่วยเหลืออย่างไร ก่อนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำเป็นต้องไปพึ่งวิธีอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายครับ


ผู้ตั้งกระทู้ สมคิด :: วันที่ลงประกาศ 2008-03-03 20:52:41 IP : 124.121.5.74


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1711521)

-ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516  ก็ได้เขียนทางออกให้กับสามีและภริยาสามารถสมัครแยกกันอยู่ หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งได้  ในกรณีที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันโดยปกติสุข  เมื่อแยกกันอยู่เกินกว่า  3  ปี  ก็สามารถฟ้องหย่าได้  และศาลน่าจะให้หย่าได้เพราะเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายเขียนทางออกไว้สำหรับชีวิตคู่

-ชีวิตครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เมื่อเกิดปัญหาและฟ้องหย่า  ศาลคงคำนึงถึงปัญหาสังคมที่จะตามมามากมายเกินที่จะประมาณได้  จึงไม่ให้หย่า.ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขตาม มาตรา 1516.....แต่จะอ้างเหตุนี้มาแก้ตัวว่าจำเป็นต้องก่อคดีร้ายแรง   น่าจะฟังไม่ขึ้น   เมื่อมีปัญหาในชีวิต  คนที่มีปัญญาอย่างแท้จริงย่อมเลือกทางแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี  กรณีนี้น่าจะเกิดขึ้นเพราะคุณธรรมจริยธรรมของผู้ก่อคดีผุ กร่อนเกินที่จะเยียวยาต่างหาก    เป็นความล้มเหลวของสังคมที่มีเครื่องวัดและเครื่องคัดคนที่สามารถเลือกสรรได้เฉพาะคนเก่งและฉลาดปราดเปรื่องเท่านั้น  แต่ยังไม่สามารถหาเครื่องวัดหรือคัดสรรคนดีได้  ผลพวงที่ตามมาคือ ทุกองค์กรล้วนมีแต่คนเก่งๆ  แต่จะเป็นคนดีหรือไม่เป็นเรื่องที่สังคมยังหวาดระแวงอยู่ทุกเมื่อ....

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2008-03-04 06:15:11 IP : 125.26.106.68



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.