ReadyPlanet.com


ฟ้องแบ่งมรดก


ได้จดทะเบียนกับสามี อยู่กินกันมาไม่มีบุตร ต่อมาสามีถึงแก่กรรม บิดาเป็นผู้จัดการมรดก และแบ่งมรดกให้ข้าพเจ้าแบบไม่เป็นธรรม ให้ตามความพอใจและความรู้สึกของบิดา ขณะนี้สินส่วนตัวของสามีที่บิดาโอนกรรมสิทธิ์ให้สามีแลว บิดาในฐานะผู้จัดการมรดกได้ดำเนินการโอนสินส่วนตัว และสินสมรสของสามีให้กับพี่น้องสามีและหลานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยไม่ได้ขอความยินยอมจากตัวดิฉัน เพราะบิดาอ้างว่าเป็นมรดกของบิดา ข้าพเจ้าได้รับเพียงบ้าน และที่ดินจำนวน 2 ห้อง พร้อมบ้านเช่าเดือน 10,000 บาท สำหรับบ้านนั้นบิดาแจ้งว่าจะให้รับค่าเช่าตลอดไป แต่หากข้าพเจ้ามีสามีใหม่จะไม่ให้ค่าเช่า และบ้านเช่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้น้องสาว โดยบันทึกว่าจะให้ข้าพเจ้ากินค่าเช่าบ้านแต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ และหากมีสามีกรรมสิทธิ์ในเรื่องบ้านจะไม่ได้รับอีกต่อไป ข้าพเจ้าจะดำเนินการอย่างไร


ผู้ตั้งกระทู้ กาญ :: วันที่ลงประกาศ 2008-04-21 12:53:58 IP : 222.123.179.237


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2217394)
ตามปัญหาของคุณแยกพิจารณาได้ดังนี้ ครั้บ 1.สิทธิในการรับมรดก ใน เบื้องต้น ก็ ต้องตรวจสอบ ก่อนครับ ว่า สามีของคุณ มีทรัพย์มรดก อะไรบ้าง และคุณ มีสิทธิได้รับอะไรบ้าง ซึี่งโดยทั่วไปทายาท ทำการตกลงกันเองก่อน หากตกลงกันได้ ก็จะแบ่งกันไปตามที่ตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย ครับ กล่าว คือ กรณีสินสมรส (ได้มาระหว่างสมรส) ให้แบ่งคนละครึ่ง คือ เป้นของภรรยาครึ่งหนึี่งก่อน ส่วนที่เหลือของสามีนำมารวม เป็น กองมรดก กรณีสินส่วนตัว(ทรัพยฺ์สินได้มาก่อนสมรส) ก็ ต้อง ว่ากันไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635(2) คือ ถ้าไม่มีลูก แต่มีบิดามารดา อยู่ อย่างนี้ คู่สมรส ได้ไปกึงหนึ่ง ขอยกตัวอย่างเช่น สามีมี มรดกจำนวน 2,000,000 บาท แยกเป็นสินสมรส 1,000,000 บาท เป็นสินส่วนตัว 1,000,000 บาท ไม่มีบุตรด้วยกัน มีแต่ บิดา ของสามี เช่นนี้ แล้ว ภรรยาย่อมได้มีสิทธิได้รับมรดกดังนี้ คือ กรณีสินสมรส 1,000,000 บาท ภรรยาได้รับแบ่งในฐานะคู่สมรส แบ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 ก่อนครึ่งหนึี่ง จำนวน 500,000 บาท ส่วนที่เหลือ 500,000 บาท ถ้าหาก มีบิดาอยู่คนเดียว ก็ แบ่งกับบิดา คนละครึ่งเป็นเงิน 250,000 บาท สรุป ภรรยา มีสิทธิได้รับมรดกจากสินสมรส จำนวน 750,000 บาท กรณีสินส่วนตัว 1,000,000 บาท ในกรณีไม่มีบุตร มีเพียงบิดา อย่างนี้ภรรยาได้รับมรดกไปครึ่งหนึ่งจำนวน 500,000 บาท บิดาได้รับไปอีกครึ่ง 500,000 บาท สรุป ในกรณีแบบนี้ ภรรยาจะไ้ด้รับมรดก เป็นเงิน 1,250,000 บาท บิดาจะไ้ด้รับ 750,000 บาท 2.ในกรณีได้รับส่วนแบ่งมรดกไม่เป็นธรรม กรณีนี้ ตามกฎหมายกำหนดให้ ผจก.มรดก ทำการแบ่งมรดกให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหาก ผจก.มรดก แบ่งมรดกไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทายาทที่ได้รับความเสียหาย สามารถดำเนินการตรวจสอบ หรือดำเนินคดีกับ ผจก.มรดกได้ครับ เช่น ยื่นขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและตั้งตัวเองเป็นผู้จัดการมรดกแทน หรือฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดก หรือ ฟ้องเรียกค่าเสียหายทดแทนจากผู้จัดกากมรดกที่ทำให้ทายาทได้รับความเสียหาย ซึ่ง ในการดำเนินการใดๆ กับผู้จัดการมรดก นั้น ควรพิจารณาและดำเนินการอย่างระมัดระวัง เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องความรู้สึกกัน ดังนั้น ในส่วนนี้ผมยังไม่ขอแนะนำใด เพราะจะต้องฟังรายละเอียดอีกครับ 3.เรื่องสุดท้าย ในกรณี ผจก. มรดก จะมากำหนดกฎเกณฑ์ เกี่ยวกับสิทธิในการรับมรดก เช่น ห้ามมีสามีใหม่ ห้ามแต่งงานใหม่ แบบนี้ทำไม่ได้ครับ ผจก.มรดกไม่มีอำนาจมากำหนดได้ครับ และในเรื่องที่ ผจก.มรดกจะโอนบ้านให้น้องสาว โดยไปบันทึกให้คุณมีสิทธเก็บกิน อะไร แบบนี้ ผจก.มรดก ก็ไม่มีสิทธิ และก็ทำไม่ได้ครับ ไม่ทราบว่า เป็นคำตอบที่ต้องการหรือเปล่าครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข วันที่ตอบ 2008-04-22 09:27:45 IP : 58.8.105.126



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.