ReadyPlanet.com


สอบถามครับหากร้านค้าไม่ส่งของตามที่กำหนด สามารถขอเงินคืนได้หรือไม่


หากซื้อของจากร้านค้าออนไลน์ โดยร้านบอกว่าจะจัดส่งให้ภายใจ7วัน และได้วางเงินมัดจำให้จำนวนนึงแล้ว แต่ร้านค้าลืมส่งเลยมากระทั่งจนวันที่12 แต่ในระหว่างที่รอก็ไม่ได้ท้วงถามร้านค้าแต่อย่างใด ในกรณีนี้เราสามารถยกเลิกการซื้อสินค้าและขอเงินมัดจำคืนได้หรือไม่? และร้านค้ามีความผิดหรือไม่? ขอมาตราที่เกี่ยวข้องด้วยครับ เป็นการบ้านเรื่องกฏหมายคาใจครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ชยาชยาชยา :: วันที่ลงประกาศ 2017-02-20 14:21:19 IP : 202.28.250.83


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4140618)

 การผิดสัญญา

  เมื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญา   ก็ต้องบอกเลิกสัญญา   เมื่อบอกเลิกสัญญา  คู่กรณีจะกลับส้ฐานะเดิม  ตาม ปพพ. ม.391  คือต้องคืนเงินมัดจำเป็นต้น  แต่...ในทางปฏิบัติ คงไม่ง่ายดายเช่นนั้น แม้บอกเลิกสัญญา ถ้าไม่คืนเงิน ก็ต้องฟ้องศาล ซึ่งคงยุ่งยากพอสมควร บางทีอาจไม่คุ้ม ครับ

 

มาตรา ๓๙๑ เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่

   ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้

    ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น

      การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2552
         เมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน จึงมิใช่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าเสียหาย แต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ส่วนค่าของงานที่จะชดใช้แก่กันนั้น ก็ต้องพิจารณาจากมูลค่าของงานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตามความเป็นจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดงานที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เลิกกันแล้วมา เป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะค่าจ้างที่กำหนดให้ชำระตามสัญญานั้นอาจมีการกำหนดสิ่งที่มิใช่ค่าของ งานลงไปด้วย
ที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
ความรับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-02-20 14:41:23 IP : 101.51.177.17


ความคิดเห็นที่ 2 (4140629)

 ขอบคุณพี่มโนธรรมมากๆครับ ขอบคุณที่ช่วยเผื่อแผ่วิทยาทานให้เป็นความรู้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชยาชยาชยา วันที่ตอบ 2017-02-20 15:08:03 IP : 202.28.250.83



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.