ReadyPlanet.com


สอบถามเรื่องภาษีป้าย ร้านในสหกรณ์การเกษตรคะ


อยากสอบถามว่า  ทางเราเปิดร้านกาแฟในปั๊ม ของสหกรณ์การเกษตร  ซึ่งเป็นสถานที่รโหฐาน  เราต้องเสียภาษีป้าย จาก เทศบาลตำบลด้วยเหรอคะ  รวมทั้งป้ายธงญี่ปุ่น  ที่เราตั้งหน้าร้าน แสดงรายการอาหารแนะนำ สลับเปลี่ยนบ่อยครั้ง  เราต้องเสียด้วยเหรอคะ  และปั๊มสหกรณ์การเกษตร  ตั้งอยู่ในเเขวงทางหลวงติดถนน  ไม่ได้อยู่ในตัวอำเภอ หรือ ตัวตำบลเลย เป็นลักษณะคล้าย บ้านน๊อกดาวมาวางในรูปแบบร้านกาแฟ หน้ากว้าง 5 เมตร และป้ายที่ตั้งตรงทางเข้าปั๊ม ขนาด 2x1 เมตร บอกโลโก้ร้านว่ามีร้านกาแฟในปั๊มสหกรณ์  ต้องเสียด้วยเหรอคะ    รบกวนด้วยนะคะ   ขอบคุณมากๆคะ



ผู้ตั้งกระทู้ ทิดาวรรณ :: วันที่ลงประกาศ 2017-02-17 19:08:51 IP : 171.4.125.30


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4139330)

 ภาษีป้าย

  ก็มีข้อยกเว้น  ไม่ต้องจ่ายภาษีป้าย  ตาม พรบ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 8  และผู้มีหน้าที่เก็บภาษีป้าย เป็นไปตาม มาตรา 9 ( ร้านของคุณคงอยู่ในเขตเทศบาล)  คุณอาจไม่ต้องชำระภาษีป้าย  ตาม มาตรา 8 (5)  ถ้าไม่เกิน 3 ตารางเมตร ตามกฎกระทรงที่ 8 (พ.ศ.2542)

มาตรา ๘  เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้ายสำหรับป้าย ดังต่อไปนี้

(๑) ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้น เพื่อโฆษณามหรสพ

(๒) ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า

(๓) ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว

(๔)[ ป้ายที่แสดงไว้ที่คน หรือสัตว์

(๕)[ ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน  ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์

(๖) ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

(๗) ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ

(๘) ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

(๙) ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น

(๑๐) ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน

(๑๑) ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ

(๑๒) ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ

(๑๓) ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

มาตรา ๙[  ภาษีป้ายที่เก็บในเขตราชการส่วนท้องถิ่นใด ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-02-18 08:14:01 IP : 101.51.170.219


ความคิดเห็นที่ 2 (4139338)

(ต่อ)

 

กฎกระทรวง

ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๓๕)

ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย

พ.ศ. ๒๕๑๐[๑]

                  

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

 

ให้กำหนดอัตราภาษีป้ายดังต่อไปนี้

(๑)  ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน     ให้คิดอัตรา ๓ บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

(๒)  ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับ

อักษรต่างประเทศ

และหรือปนกับภาพ

และหรือเครื่องหมายอื่น         ให้คิดอัตรา ๒๐ บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

(๓)  ป้ายดังต่อไปนี้             ให้คิดอัตรา ๔๐ บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร

(ก)  ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย

ไม่ว่าจะมีภาพหรือ

เครื่องหมายใดๆ หรือไม่

(ข)  ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน

หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่า

อักษรต่างประเทศ

(๔)  ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขตามมาตรา ๑๔ (๓) ให้คิดอัตราตาม (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น

(๕)  ป้ายตาม (๑) (๒) หรือ (๓) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ ๒๐๐ บาท ให้เสียภาษีป้ายละ ๒๐๐ บาท

 

 

ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๕

พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดอัตราภาษีป้ายตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

 

 

 


ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-02-18 08:16:50 IP : 101.51.170.219



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.