ReadyPlanet.com


ไม่เข้าใจมาตรากฏหมายที่ว่า "ทวิ" คะ


หนูพอจะมีความรู้เรื่องกฎหมายเล็กน้อย ได้ยินพ่อคุยเรื่อง พรบ อาวุธปืน กับคนที่มาปรึกษา เขาถูกตำรวจจับเรื่องปืนที่พกพาและยิงปืนในที่สาธารณะ โดยมีพยานไปเเจ้งตำรวจเขาบอกโทษมาตรา ทวิ คือ การเพิ่มโทษ จากที่ค่าปรับ มันเป็น จำคุก 5 ปี ปรับ 10000 บาท ใช่มั๊ยคะ ถ้ารับสารภาพ ไม่เคยมีคดี เหลือโทษรอลงอาญา กับ ลหุโทษ อันเดียวกัน มั๊ยคะ อยากได้ความรู้เพิ่มเผื่อไปอ่านหนังสือเจอจะได้เข้าใจ มาตรานี้ 



ผู้ตั้งกระทู้ ฟ้า :: วันที่ลงประกาศ 2008-02-02 09:14:40 IP : 125.24.106.101


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1472874)

-พระราชบัญญัติฉบับใดก็ตามเมื่อประกาศใช้ไปแล้วอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลังเพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย  ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกันอาจใช้วิธีแทรกเพิ่มเติมในมาตรานั้นๆ  เช่นพรบ.อาวุธปืนฯมาตรา  72  ได้มีบทลงโทษแก่ผู้ทำ  ซื้อ  มี ใช้สั่ง  นำเข้าอาวุธปืน.....ต่อมาได้มีการเเก้ไขเพิ่มเติม มาตรา  72  ทวิ กำหนดโทษสำหรับผู้มีเครื่องกระสุนปืน...หรือห้ามยิงปืน...เป็นต้น    ทวิ แปลตามตัวคือ สอง  ที่เพิ่มมาตรา  72  ทวิ  เพราะเป็นการกำหนดโทษที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 72 ....... มีพระราชบัญญัติหลายฉบับ  ที่มีการเพิ่มมาตราที่เกี่ยวเนื่องกัน  เป็น  ทวิ (สอง)    ตรี  (สาม)   จัตวา (4)  เบญจ (5)  เช่นประมวลรัษฎากรฯ  มาตรา 57 ทวิ    มาตรา  57  ตรี    มาตรา 57  จัตวา     มาตรา 57  เบญจ  เป็นต้น

-สำหรับโทษการยิงปืนตามมาตรา 72 ทวิ (พรบ.อาวุธปืนฯ)  โทษจำคุก ไม่เกิน  10 ปีและปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท.....เคยมีผู้แสดงความเห็นในเว็บนี้ว่าโทษยิงปืน..โดยใช่เหตุฯ  โทษจำคุกไม่เกิน 10  วัน  และปรับไม่เกิน  500 บาท  ถ้ารับสารภาพจะได้ลดเหลือ  5  วัน เป็นต้น   นั่นเป็นลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา   376  ตามความเห็นของผมถ้ามีการฟ้องให้ลงโทษ  อัยการ  คงอ้างถึง โทษตามมาตรา  72  ทวิด้วยเพราะมีโทษหนักกว่า      และเป็นโทษตามพรบ.อาวุธฯปืนโดยเฉพาะ

-เรื่องสารภาพแล้วจะได้ลดโทษหรือไม่เป็นดุลยพินิจของศาล  เพราะต้องพิจารณาเงื่อนไขอื่นๆประกอบกัน...

-เรื่องรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ  ที่เรียกกันว่ารอลงอาญา ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของปอ.มาตรา  56  ประกอบดุลยพินิจของศาลด้วยครับ

-ลหุโทษคือโทษเบา  คือจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือนปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท  สำหรับการรอการลงโทษ (รอลงอาญา) เป็นกรณีที่ศาลจำคุกไม่เกิน 3  ปี ถ้าไม่เคยมีโทษมาก่อน   ถ้าพิจารณาจากอายุ  ประวัติ  ความประพฤติ ฯ  หรือมีเหตุอันควรปรานี...ศาลอาจให้รอการลงโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษและปล่อยตัวไป...ให้มีโอกาสกลับตัว...(ปอ.ม.56) เห็นคุณมีความสนใจกฎหมายก็อยากให้คนรุ่นใหม่ศึกษาไว้เพื่อใช้ประโยชน์  จึงว่ากันค่อนข้างยืดยาวหวังว่าคุณ  ฟ้า  คงพอเข้าใจนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2008-02-02 19:09:19 IP : 125.26.109.198



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.