ReadyPlanet.com


ซื้อบ้านเป็นชื่อเรา แต่มีชื่อแฟนเป็นเจ้าบ้าน


พอดีกู้เงินซื้อบ้าน(กู้คนเดียว)หลังจากแต่งงานกับสามี(แต่ยังไม่จดทะเบียน) ต่อมาย้ายชื่อสามีเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้าน (เป็นเจ้าบ้าน) อยากทราบว่า

1.เนื่องจากสามีเคยแต่งงานมาก่อนแล้ว (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) มีลูกกับภรรยาเก่า 2 คน ในกรณีที่สามีเสียชีวิต ลูกที่เกิดจากภรรยาเก่ามีสิทธิ์ในบ้านหลังนี้/ทรัพย์สินอื่นๆมั้ย และสิทธิ์เท่าเทียมกับลูกที่เกิดกับดิฉันหรือไม่ 

2.ในกรณีดิฉันจะจดทะเบียนสมรส สามารถแจ้งว่า บ้านหลังนี้เป็นสินส่วนตัวได้มั้ยค่ะ เนื่องจากบ้านหลังนี้ได้มาด้วยเงินจากการทำธุรกิจในครอบครัวของดิฉันก่อนการสมรส ส่วนสามีก็ทำงานช่วยเหลือธุรกิจร้านขายยากับดิฉัน

  ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะ  พอดีกังวลมากเกี่ยวกับปัญหาในอนาคต



ผู้ตั้งกระทู้ fasai (wipharz-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2008-06-15 20:16:24 IP : 118.173.52.107


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2856597)

ที่ดิฉันกังวลเนื่องจาก ภรรยาเก่าของสามีเป็นคนไม่ค่อยยอมใคร ตั้งแต่สามีเลิกกับเธอมา2 ปีเธอก็ไม่เคยปล่อยวาง คอยรังควานดิฉันและครอบครัวตลอด ทั้งๆที่ตอนนี้ดิฉันกับสามีก็ส่งเสียเงินให้ลูกของเธอทั้ง2คนทุกเดือน (คนโต อยู่กะสามี คนเล็กอยู่กับภรรยาเก่า) เธอซะอีกที่ไม่เคยส่งเสียเลี้ยงดูลูกคนโตเลย  

อยากสอบถามเพื่ออนาคต เพราะตั้งใจจะไปจดทะเบียนในเร็วๆนี้ 

ดิฉันคงต้องรอบครอบนิดหน่อย เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มา มันเป็นน้ำพักน้ำแรงของพ่อแม่ ( เงินลงทุนทำธุรกิจร้านขายยาเป็นเงินส่วนกลางที่แม่เก็บไว้ส่งเสียให้ลูกทุกคนเรียนค่ะ ..พอดีพ่อเสียแล้ว ตอนนี้น้องอีก 3 คนก็ยังเรียนอยู่ แค่ไม่อยากให้คนอื่นๆที่ไม่หวังดีกะเรามาทำลายอนาคตของน้องๆ หรือมาชุบมือเปิบเงินที่พ่อแม่เราหามาทั้งชีวิต ซึ่งมีพอส่งน้องๆเรียนจนจบเท่าน้นเอง  )

ขอโทษนะค่ะ ดิฉันอาจจะกังวลเกินไป แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ สำหรับผู้หญิงคนนี้ (ถึงขนาดบุกมาอาลวาดที่ร้านยาและที่บ้าน ทั้งๆที่ไม่มีสิทธิ์(ดิฉันกับสามีแต่งงานถูกต้องตามหลักศาสนา เหลือแค่จดทะเบียน  ทุกคนรับทราบ) แค่กลัวว่าในอนาคตเธอจะให้ลูกใช้สิทธิ์เรียกร้องมรดกจากบิดา ทั้งๆที่มันสมบัติของพ่อแม่ดิฉันชัดๆๆๆ (แฟนไม่มีทรัพย์สมบัติใดๆก่อนแต่งงาน)

ขอบคุณค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น fasai (wipharz-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-06-15 23:48:27 IP : 118.173.52.107


ความคิดเห็นที่ 2 (2858727)

1.การใช้ชื่อสามีเป็นเจ้าของบ้าน  อาจเป็นเงื่อนไขว่าเขาเป็นหุ้นส่วนด้วย   ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของบ้านด้วย   ทำไมไม่ใช้ชื่อคุณเพื่อตัดปัญหา......สำหรับลูกของสามีอาจมีสิทธิ์ในบ้านหลังนี้ถ้าพ่อเขามีส่วนเป็นเจ้าของในฐานะหุ้นส่วน

2. เมื่อจดทะเบียนสมรส   บ้านย่อมเป็นทั้งสินส่วนตัวและสินสมรส     สินส่วนตัวของคุณคือส่วนที่คุณลงทุนซื้อมาก่อนจดทะเบียนสมรส     สินสมรสคือส่วนที่คุณผ่อนต่อหลังจากจดทะเบียนสมรส  แม้สามีไม่เคยส่งเงินผ่อนแม้แต่บาทเดียว

-ข้อกังวลของคุณก็มีเหตุผล   แต่ก็คงป้องกันลำบาก  ถ้าเขาจดทะเบียนรับรองบุตรของเขา    บุตรของเขาย่อมมีสิทธิ์รับมรดกของเขาในส่วนที่เขาเป็นเจ้าของเสมอ.....

-ทางออก ที่พอทำได้คือ  เมื่อจดทะเบียนสมรสกัน  คุณก็ให้สามีทำพินัยกรรม มอบทรัพย์สินให้คุณแต่เพียงผู้เดียว และระบุไว้ท้ายพินัยกรรมด้วยว่า  พินัยกรรมฉบับใดๆที่ทำขึ้นหลังฉบับนี้ไม่ให้มีผลบังคับใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ....ก็อาจพอทำให้คุณคลายวิตกกังวลลงได้บ้างครับ....พินัยกรรมควรทำแบบเอกสารฝ่ายเมือง โดยไปติดต่อที่อำเภอหรือเขต  ให้เจ้าหน้าที่ช่วยดำเนินการให้....

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2008-06-16 19:25:53 IP : 125.26.109.91


ความคิดเห็นที่ 3 (2860485)

คุณยังไม่ได้จดทะเบียนกับสามี ...ลูกติดของสามีคงไม่มีสิทธิ์มาแบ่งสมบัติอะครับ.......

ผู้แสดงความคิดเห็น รู้น้อย วันที่ตอบ 2008-06-17 10:59:28 IP : 124.120.131.209


ความคิดเห็นที่ 4 (2860632)

ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมคุณถึงไม่ใช้ชื่อตัวคุณเองเป็นเจ้าบ้าน  ทั้งที่คุณก็บอกชัดเจนตลอดว่า  เป็นเงินของพ่อแม่คุณ

ขอถามอีกเรื่องว่า  คุณบอกว่าคุณแต่งงานกับสามีถูกต้องตามหลักศาสนา  ไม่ทราบว่าคุณนับถือศสนาอะไรคะ  ถ้าเป้นศาสนาอิสลามและคุณอยุ่ในสี่จังหวัดที่ใช้กฎหมายศาสนาซึ่งไม่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับ  ก็เท่ากับว่าคุณกับสามีเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายแล้ว

แต่ถ้าไม่ใช่  คุณกับสามีก็ยังไม่ใช่สามีภริยากันตามกฎหมายนะคะ  ทรัพย์สินของคุณก็ยังคงเป็นของคุณเป็นสินส่วนตัว  เว้นแต่เป้นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างอยุ่กินด้วยกัน  ซุ่งจะใช้เรื่องของกรรมสิทธิ์รวมมาแบ่งทรัพย์สินตรงนี้ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผ่านมา วันที่ตอบ 2008-06-17 12:07:57 IP : 58.9.135.72


ความคิดเห็นที่ 5 (2861175)

ขอบคุณค่ะ คุณผู้เฒ่า ที่ช่วยแนะนำแนวทางที่ดี

ผู้แสดงความคิดเห็น fasai วันที่ตอบ 2008-06-17 16:21:48 IP : 118.173.55.189



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.