ReadyPlanet.com


จะประนอมหนี้กัน ต้องไกล่เกลี่ยที่ศาลหรือเปล่า


ตอนนี้มีคดีกับพ่อของลูกอยู่เรื่องการเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรซึ่งศาลตัดสินให้ชนะแล้ว แต่ได้ข่าวแว่วๆมาว่าเขาจะรื้อคดีขึ้นมาทำใหม่แล้วอ้างว่าไม่ได้ไปศาลเพราะไมได้รับหมายศาลทั้งสองครั้ง แต่มีพนักงานที่บริษัทเซ็นรับ ทั้งสองครั้งและเขาก็เข้าบริษัทในช่วงเวลาระหว่างการฟ้องจนถึงขั้นไต่สวน ตอนนี้ดิฉันไม่อยากยุ่งยากแล้วเพราะครั้งก่อนก็มีปัญหากับทนายความจนต้องถึงขั้นเพิกถอนทนาย และทางพ่อเด็กก็บอกว่าอยากกลับมาอยู่ร่วมกันอีกและแต่งงานให้เป็นเรื่องเป็นราว

คำถาม

1. ถ้าเราจะทำสัญญาการประนอมหนี้ ต่อรองการชำระเงินกัน จะทำกันเองได้หรือไม่หรือจะต้องไปทำที่ศาลเพราะถ้ากลับมาอยู่ด้วยกันจริงๆ ดิฉันก็คิดว่าจะลดให้เขาในส่วนที่เขาช่วยเลี้ยงดูหรือจ่ายค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันให้ลูก แต่เรื่องจะเซ็นยินยอมรับผิดชอบลูกเพียงฝ่ายเดียวเพื่อให้คดีจบไปนั้นดิฉันไม่ทำแน่นอน

2. การที่เขาขออุทร ขอรื้อคดีขึ้นมาทำใหม่ ตอนนี้เขาได้ทำการโอนหุ้นทั้งหมดที่มีในบริษัทไปให้คนอื่นแล้ว เพราะกลัวว่าเราจะเอาเรื่อง แต่ตอนนี้มันกลายเป็นปัญหาขึ้นมาเพราะคนที่มีชื่อผู้ถือหุ้นนั้นไม่ต้องการคืนบริษัทให้ ควรจัทำอย่างไรดีคะ

ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ชลบุรี :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-26 14:43:14 IP : 117.47.198.131


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2928109)

1.การทำสัญญาประนีประนอม   ทำกันเองก็มีผลบังคับได้เช่นกัน    คือเมื่อตกลงกันอย่างไร  ก็ระบุไว้ในสัญญาเช่นนั้น......แต่สัญญาบางที   ก็แทบไม่มีความหมายอะไร   ไม่ว่าทำกันเองหรือทำที่ศาล   เพราะถ้าเขาไม่ปฏิบัติตาม ก็ต้องฟ้องศาลให้บังคับตามสัญญาอยู่ดี    ซึ่งบางทีอาจไม่คุ้มค่า หรือคุ้มกับเวลาที่สูญเสียไป.....ถ้าเขาจะส่งเสียค่าเลี้ยงดูด้วยใจจริง   ก็ส่งได้ตามที่ตกลงกัน    ไม่เห็นต้องมีสัญญาให้ยุ่งยาก..

2.  การอุทธรณ์ของเขา  ก็แสดงว่าเขาไม่ได้มีเจตนาจะส่งเสียค่าเลี้ยงดู  จึงพยายามดิ้นรนเพื่อให้พ้นภาระความรับผิดชอบ  โดยเฉพาะการโอนหุ้นให้ผู้อื่นถือแทน   ก็แสดงเจตนาชัดแจ้งแล้วว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่.....คุณก็คงจัดการอะไรกับเขาไม่ได้มากนัก   ในเมื่อใจของเขาไม่ยอมจ่าย  ก็ต้องหาวิธีหลบเลี่ยงสารพัด  หรือใช้วิธีส่งๆขาดๆ   บางทีกฎหมายก็ไม่สามารถเยียวยาได้มากนัก

-คำแนะนำ    ถ้าเป็นไปได้   ควรหาทางอยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยา และจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้อง น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด  การถอยให้กันและกันคนละก้าว หรืออย่าถือทิฐิจนเกินไป   น่าจะช่วยเสริมสร้างชีวิตครอบครัวให้วัฒนาถาวรสืบไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2008-10-26 17:47:17 IP : 125.26.107.11



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.