ReadyPlanet.com


คนค้ำประกันคนที่ 2 (nan)


ต่อจากเรื่องการค้ำประกันรถที่ได้สอบถามมาเมื่อประมาณเดือนมกราคม เมื่อวันที่ 11 ที่ผ่านมาได้รับหมายศาลให้ไปศาลในวันที่ 6 สิงหาคมที่จะถึงนี้โดยธนาคารฟ้องด้วยจำนวนเงินทั้งหมด 150000 บาท

ข้าพเจ้าขอถามดังนี้ค่ะ

1. เราสามารถให้ทนายไปแทนเราได้ไหม

2. ไปศาลในครั้งนี้ไปไกล่เกลี่ยใช่หรือไม่

3. ถ้าหากลูกหนี้กับคนค้ำคนที่ 1 ไม่ไปแล้วเราไปคนเดียวเค้าจะยัดเยียดหนี้สินให้เราหรือไม่

4. ถ้าหาลูกหนี้กับคนค้ำคนที่ 1 รับชำระทั้งหมดเราก็จะหลุดพ้นไปเลยใช่หรือไม่

5. ไม่ว่าจะอย่างไรเราจะปฏิเสธการรับชำระอย่างเดียวได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ nan :: วันที่ลงประกาศ 2008-07-14 14:17:57 IP : 202.183.143.54


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2877569)

1. ได้

2.ใช่ แต่ถ้าไกล่เกลี่ยไม่ได้ ก็กำหนดวันสืบพยานโจทก์- จำเลย

3.ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระเป็นเรื่องปกติที่คนค้ำต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว ซึ่งเข้าใจว่าคงฟ้องรวมกันมา ทั้ง สาม คนเลย

4.ใช่ แต่ต้องชำระทั้งหมดนะครับ

5.ก็ได้นะโดยให้ไปเรียกกับลูกหนี้ก่อนแล้วถ้าไม่ได้ค่อยมาเรียกกับผู้ค้ำ หรือไม่ก็ยื่นคำให้การหรือแถลงศาลเข้าไป และถ้ารับผิดชอบแทนแล้วก็สามารถที่จะไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ได้ครับ

สรุป ไม่ต้องตกใจไม่มีการติดคุก

ผู้แสดงความคิดเห็น เฮ้อ วันที่ตอบ 2008-07-16 12:39:16 IP : 203.149.11.19


ความคิดเห็นที่ 2 (2877662)

ขอบคุณมาก ขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยค่ะ

1. ค่าทนายแพงไหมค่ะต่อการไปครั้งหนึ่ง เพราะเราอยู่อยุธยาไม่รู้จักด้วยว่าอยู่ที่ไหนพอมีช่องทางไหม

2. ถ้าตัวเราเองไม่หาทนายและไม่ไปไกล่เกลี่ยจะมีผลเสียอย่างไรบ้างค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น nan วันที่ตอบ 2008-07-16 15:06:55 IP : 202.183.143.54


ความคิดเห็นที่ 3 (2878563)

1.ค่าทนายความนั้น มันเป็นเรื่องการจ้างทำของ ซึ่งหมายความว่าเป็นเรื่องความยินยอมของทั้งสองฝ่ายคือ ทนาย - ลูกความ ในกรณีนี้ผมแนะนำว่า ถ้าเราไม่มีเงินจ่ายมากนักก็ให้แจ้งทนายความว่าขอจ่ายเป็นนัดครับ ซึ่งมักจะใช้กรณีคดีธนาคารฟ้องเราเป็นจำเลย กล่าวคือ อาจจะขอจ่ายทนายความเป็นค่าขึ้นศาลครั้งละ 1,000.- บาท  ถึง 2,000.- บาท ก็จะช่วยในเรื่องค่าจ้างกันได้บ้างครับ เพราะว่ามีเวลาหาเงินมาเป็นค่าจ้างทนายความ

2.กรณีที่ตัวเราไม่ไปหาทนายความมาแก้ต่าง หรือยื่นคำให้การเข้าไปในคดีนั่นเองนั้น ซึ่งจะต้องใช้ทนายความในการทำคดี เนื่องจากเป็นวิชาชีพเฉพาะด้านกล่าวคือจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพในการว่าความนั่นเอง (ยกเว้นการไกล่เกลี่ย ที่ไม่ใช่การสืบพยาน ตัวความหรือจำเลยนั้นสามารถเข้าไปไกล่เกลี่ยได้เองเลยโดยไม่ต้องใช้ทนายก็ได้) ข้อเสียคือ ศาลจะพิพากษาไปฝ่ายเดียวเท่ากับว่าเราจะต้องร่วมกันรับผิดกับลูกหนี้ ซึ่งโดยปกติเมื่อศาลพิพากษาแล้ว ก็จะมีระยะเวลาให้จำเลยปฎิบัติตามคำพิพากษา และถ้าจำเลยไม่ปฎิบัติตาม โจทก์ก็จะขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์จำเลยต่อไป ดังนั้น ให้ดูก่อนว่าเรามีอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะที่ดินเป็นชื่อเราบ้างหรือเปล่าถ้ามีก็ควรยักย้ายเปลี่ยนเป็นชื่อคนที่ไว้ใจได้ซะหรือขายก็หมดเรื่อง

3. ทางที่ดีลองไปคุยให้ตัวจำเลยที่ 1 ผู้กู้นั่นเองให้ไปเจรจารทำยอมและรับผิดชดใช้ถ้าเขาทำและยอมปิดบัญชีไป เราในฐานะผู้ค้ำก็ไม่ต้องรับผิด แต่ถ้าเขายืนกระต่ายขาเดียวไม่ยอมเจรจาถ้าเดียว ก็ไม่ต้องตกใจให้ดูว่าเรามีทรัพย์สินอะไรที่เจ้าหนี้ (โจทก์)จะสามารถยึดได้หรือเปล่า ถ้าไม่มีก็จบในส่วนนี้ แต่ก็ต้องหันมาดูว่าเราเงินเดือนเท่าไหร่ ถ้าไม่เกินหมื่นเจ้าหนี้ (โจทก์)ก็ไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ แต่ถ้าเราทำงานราชการนั้นกฎหมายไม่ให้อำนาจในการที่จะมาอายัดเงินเดือน คืออายัดเงินเดือนคนที่เป็นราชการไม่ได้นั่นเอง 

หมายเหตุ จริงๆแล้วเราสามารถคุยทางโจทก์ให้เปลี่ยนผู้ค้ำก็ได้แต่มันเป็นบางกรณีเท่านั้น ส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนการเจราการขอผ่อนใหม่คือการปรับโครงสร้างหนี้นั่นเอง แต่มันขึ้นอยู่กับว่าโจทก์เขาจะยอมหรือเปล่า

 30% ลิขิตฟ้า 70 % ต้องฝ่าฟัน ต้องสู้...ต้องสู้...จึงจะชนะ...

ไม่มีการติดคุกชัวร์....ยิ่งกว่าชัวร์....อีก   เฮ้อพิมพ์ซะเหนื่อยเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น เฮ้อ วันที่ตอบ 2008-07-18 14:06:52 IP : 203.149.11.19


ความคิดเห็นที่ 4 (2879988)

ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะในการให้ความรู้และความเข้าใจในครั้ค่ะงนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น Nan (nan_9330-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-21 16:41:42 IP : 202.183.143.54


ความคิดเห็นที่ 5 (4401068)

 กรณีลูกหนี้ไปยอมรับสภาพหนี้แต่คนค้ำไปไม่ครบศาลทำไมไม่รับไกล่เกลี่ยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น บุญชื่น บุญมาก วันที่ตอบ 2020-09-24 14:36:23 IP : 27.55.65.27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.