ReadyPlanet.com


บอกเลิกสัญญาเช่านา


ที่บ้านต้องการที่จะขายที่นาครับเพราะอยู่ไกล  ไม่สะดวกที่จะเก็บไว้   ก็ไปแจ้งกับทางผู้เช่าสนใจที่จะซื้อไหม หรือถ้าไม่สนใจก็จะให้นายหน้าดำเนินการเรื่องการขายให้    ผู้เช่าเริ่มเช่าสมัยรุ่นคุณพ่อ  ซึ่งมีการจ่ายเงินค่าเช่าเป็นรายปี  ไม่มีสัญาญาในการเช้่านาเพียงบอกปากเปล่าและตกลงเรื่องค่าเช่า  เมื่อไปคุยกับผู้เช่าท่านดังกล่าว  ก็จะขอหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต  รออีก สัก 2 เดือน  ทางผมก็ยินดีที่จะรอ  เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการลงทุน ทำนา  และทาง  ผู้เช่านาขอค่ารื้อถอนด้วย  ผมก็งง    ตอนเช้าที่นา  เช้าเพื่อการทำการเกษตร  มีการสร้างเพิงพัก ต่อมามีการขยับขยายปลูกเป็นบ้าน  คนเช่าก็ขอค่ารื้อถอนผมควรทำอย่างไรดีครับ  ค่าเช่าที่ของคุณพ่อก็ถูกที่สุดในระแวกเดียวกัน  จะมีแนวทางอย่างไรได้บ้างครับ  ค่าผู้เช่านาเรียกค่ารื้อถอนราคาสูง  เพื่อไม่ให้เราดำเนินการขาย  ใคร่ขอรบกานคำชี้แนะด้วยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ กร :: วันที่ลงประกาศ 2017-07-04 09:11:27 IP : 202.246.252.102


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4197873)

 การเช่าที่นา

   ถ้าไม่มีสัญญาเช่า ถือว่า ให้เช่าคราวละหกปี   ถ้าจะบอกเลิกสัญญาเช่า ต้องบอกกล่าวผู้เช่าก่อน   ดังนั้น  เมื่อจะครบรอบหกปี ต้องบอกเลิกสัญญาเช่าก่อน หกเดือน และต้องปฏิบัติ ตาม พรบ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  พ.ศ 2524  ด้วย

มาตรา ๓๗ ถ้าผู้ให้เช่านาไม่ประสงค์จะให้เช่านาต่อไปเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเช่านาตามมาตรา ๒๖ ผู้ให้เช่านาต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อผู้เช่านาก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการเช่านาไม่น้อยกว่าหกเดือนพร้อมทั้งแจ้งให้ คชก. ตำบล ทราบด้วย และเมื่อ คชก. ตำบล ได้รับแจ้งแล้ว ให้มีหนังสือสอบถามผู้เช่านาว่ายังประสงค์จะเช่านานั้นต่อไปหรือไม่

ถ้าผู้เช่านายังประสงค์จะเช่านานั้นต่อไป ให้แจ้งผู้ให้เช่านาและ คชก. ตำบล ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งจากผู้ให้เช่านา และให้ คชก. ตำบล ดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ยุติ ถ้าสามารถไกล่เกลี่ยให้ยุติได้ ก็ให้ดำเนินการตามผลของการไกล่เกลี่ย ในกรณีที่ไม่อาจไกล่เกลี่ยให้เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย ให้ คชก. ตำบล พิจารณาเหตุผลและความจำเป็นของผู้ให้เช่านา ถ้าเห็นว่าผู้ให้เช่านามีความจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะใช้ที่นานั้น ก็ให้สั่งให้การเช่านาสิ้นสุดลง เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าผู้เช่านาจะเดือดร้อนเกินสมควร จะให้ผู้เช่านาทำนาต่อไปอีกหนึ่งปีก็ได้

ในกรณีที่ คชก. ตำบล เห็นว่าผู้ให้เช่านาไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะใช้ที่นานั้น ให้ คชก. ตำบล วินิจฉัยให้การเช่านานั้นมีผลต่อไปอีกสองปี

ผู้มีส่วนได้เสียอาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ตามวรรคสองและวรรคสาม ต่อ คชก. จังหวัด ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย

คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ที่ให้การเช่านาสิ้นสุดลงตามวรรคสอง ให้มีผลเมื่อพ้นระยะเวลาอุทธรณ์ตามวรรคสี่และผู้เช่านามิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ในกรณีที่ผู้เช่านาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา ให้ทุเลาการบังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ไว้ก่อน จนกว่า คชก. จังหวัด จะมีคำวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น

คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ที่ให้การเช่านายังมีผลต่อไปตามวรรคสาม ให้มีผลบังคับได้ทันทีจนกว่า คชก. จังหวัด จะมีคำวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-07-05 04:13:05 IP : 101.51.179.95


ความคิดเห็นที่ 2 (4197874)

 คชก. ตำบล..

มาตรา ๙ ในตำบลหนึ่ง ๆ ที่มีการเช่า ให้มี คชก. ตำบล ซึ่งประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้

(๑) ในแขวงของกรุงเทพมหานคร คชก. ตำบล ประกอบด้วย ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งผู้อำนวยการเขตแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ พนักงานประเมินภาษี ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนผู้เช่าสี่คนและผู้แทนผู้ให้เช่าสี่คนซึ่งผู้อำนวยการเขตแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และให้เจ้าพนักงานปกครองซึ่งผู้อำนวยการเขตแต่งตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ

(๒) คชก. ตำบล ประกอบด้วย ปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการซึ่งนายอำเภอแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ กำนันท้องที่ เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนเกษตรอำเภอ ผู้แทนเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอหรือผู้แทนเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด แล้วแต่กรณี ผู้แทนพัฒนาการอำเภอ ผู้แทนผู้เช่าสี่คนและผู้แทนผู้ให้เช่าสี่คนซึ่งนายอำเภอแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และเจ้าหน้าที่อื่นในอำเภอซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ

ในกรณีท้องที่ใดไม่มีกำนันแต่มีนายกเทศมนตรี ให้นายกเทศมนตรีที่มีการเช่าอยู่ในเขตเป็นรองประธานกรรมการ

ในการแต่งตั้งผู้แทนผู้เช่าและผู้แทนผู้ให้เช่า ให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ แล้วแต่กรณี ปรึกษาหารือร่วมกันกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งอยู่ในเขตตำบลผู้เช่าและผู้ให้เช่าตามสมควร

ในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งผู้แทนผู้เช่าหรือผู้แทนผู้ให้เช่า ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายก็ตามได้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ แล้วแต่กรณี แต่งตั้งผู้แทนผู้เช่าและผู้แทนผู้ให้เช่าตามจำนวนที่ปรากฏในทะเบียนตามมาตรา ๑๓ (๒) โดยต้องแต่งตั้งฝ่ายละเท่ากัน

ในการพิจารณาเรื่องอันเกี่ยวกับการเช่าในเขตหมู่บ้านใด ให้ผู้ใหญ่บ้านแห่งหมู่บ้านนั้นเป็นกรรมการด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-07-05 04:17:41 IP : 101.51.179.95


ความคิดเห็นที่ 3 (4197875)

 คชก. ตำบล” หมายความว่า คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-07-05 04:19:44 IP : 101.51.179.95



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.