ReadyPlanet.com


เขียนพินัยกรรมร่วมกัน


  ขอเรียนสอบถาม ครับ

 
นางสาวเอและนางสาวบี  อยู่อาศัยร่วมกันมากว่า 30 ปี และได้ถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆซึ่งเป็นชื่อร่วมกันทั้งในโฉนดที่ดินและบัญชีเงินฝากธนาคาร 
 
นางสาวเอปัจจุบัน อายุ อายุ 84 ปี ไม่เคยผ่านการสมรส  ไม่มีบุตร ไม่มีผู้สืบสันดาน   แต่มีน้องสาวและหลานชายเป็นทายาทโดยธรรม 
นางสาวบี  ปัจจุบันอายุ 77 ปี ไม่เคยผ่านการสมรส ไม่มีผู้สืบสันดานและไม่มีทายาทโดยธรรม
 
ทั้งนางสาวเอและนางสาวบีต้องการจัดทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดหลังเสียชีวิต ให้ นางกอซึ่งเป็นน้องสาวและนายขอซึ่งเป็นหลานชาย เป็นผู้รับผลประโยชน์คนละกึ่งหนึ่งในทรัพย์สินตามพินัยกรรมทั้งหมด 
 
 ระหว่างนางสาวกอและนางสาวขอ เคยทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินระหว่างกันที่มีชื่อร่วมกันมาก่อน แต่เนื่องด้วย นางสาวขอ ไม่มีทายาทรับมรดกและไม่ต้องการให้มรดกในส่วนของตนตกเป็นของรัฐบาล จึงต้องการจัดทำพินัยกรรมฉบับใหม่เพื่อให้ทรัพย์ของตนตกแก่นางกอและนายขอที่เป็นทายาทโดยธรรมของนางสาวเอ  
 
เพราะฉะนั้นควรจะดำเนินการอย่างใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนาของเจ้าของมรดกทั้งสองคน
 
ขอขอบคุณมากครับ
 


ผู้ตั้งกระทู้ เจตริน :: วันที่ลงประกาศ 2017-06-17 07:43:58 IP : 107.198.124.158


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4193968)

การเขียนพินัยกรรม

  การเขียนพินัยกรรมทำได้หลายรูปแบบ  เช่น

     ...พินัยกรรมแบบธรรมดา  ต้องทำเป็นหนังสือ ลงวันเดือนปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรม ต้องลงลายมือชื่อรับรอง ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน  และพยานสองคนนั้นก็ต้องลงลายมือรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น  ตาม ปพพ. ม.1656..(ใช้แบบพิมพ์ หรือ เขียนขึ้นมาก็ได้  ผู้ทำพินัยกรรม  ไม่ต้องเขียนเอง )

     ....พินัยกรรมแบบเขียนเอง  ก็มีรูปแบบเหมือนพินัยกรรมธรรมดา  แต่ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือของตนทั้งฉบับ  และลงลายมือชื่อของตนกำกับไว้  ตาม ปพพ. ม.1657

       ----พินัยกรรม แบบเอกสารฝ่ายเมือง ตาม ปพพ. ม.1658.. ต้องไปที่อำเภอ  พร้อมพยานอย่างน้อยสองคน  แจ้งความจำนงในการทำพินัยกรรม  เจ้าหน้าที่จะช่วยเหลือแนะนำ   พินัยกรรมแบบนี้น่าจะดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด เพราะมีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำ  และยังมีแบบของพินัยกรรมอีก แต่ขอแนะนำเพียงเท่านี้  ก็คงเพียงพอ

....กรณีที่ถาม   ควรทำพินัยรรมแยกคนละฉบับ  เพื่อป้องกันปัญหา การโต้แย้งในภายหลัง สำหรับแบบของพินัยกรรม  เปิดูได้ ในกูเกิ้ล ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม (konnatham93-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2017-06-18 16:53:19 IP : 101.51.171.27


ความคิดเห็นที่ 2 (4193969)

 

 

 

                                                  พินัยกรรมแบบธรรมดา

 ทำที่......................................

                           วันที่...............เดือน.............พ.ศ. .............

ข้าพเจ้า.....................อายุ............ปี อยู่บ้านเลขที่ ..........หมู่ที่...........

ถนน...........................ตำบล/แขวง............................อำเภอ/เขต........

จังหวัด..........................ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึง

แก่กรรมให้ทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีต่อไปในอนาคตตก

ได้แก่..................................................แต่ผู้เดียว

 


ลงชื่อ................................................ผู้ทำพินัยกรรม

 


(ลายพิมพ์นิ้วมือของ...............................................)

 

 


ข้าพเจ้าผู้มีนามข้างท้ายนี้ขอรับรองว่า.........................ผู้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ได้ทำพินัยกรรม

และพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าข้าพเจ้า และได้สังเกตเห็นว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ทุก

ประการ ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ในพินัยกรรม

 

 


ลงชื่อ.....................….....................พยาน

(......................…..................)

                ลงชื่อ............................................พยานและผู้เขียน

(............................................)


 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-06-18 16:56:20 IP : 101.51.171.27


ความคิดเห็นที่ 3 (4193980)

 ขอบคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เจตริน วันที่ตอบ 2017-06-19 06:49:16 IP : 96.91.57.131



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.