ReadyPlanet.com


มรดกที่ดินของย่า


คุณย่าได้เสียไปเมื่อต้นปี และมีกรรมสิทธิในโฉนดที่ดินฉบับหนึ่ง ซึ่งปลูกบ้าน และ ใช้อยู่อาศัยก่อนเสียชีวิต ด้วยกันกับคุณปู่ เดิมที คุณย่า อยู่กินกับสามีเก่า ก่อนที่จะหย่าแล้วก็มาแต่งงานกับคุณปู่ มีลูกติดจากสามีเก่า 3 คน และมีลูกด้วยกันกับคุณปู่ 2 คน (รวมเป็น 5 คน) คุณย่าและคุณปู่ เคยกล่าวไว้ว่า ยกมรดกให้หลานๆ โดยที่ดินและบ้านดังกล่าว จะยกให้กับ ดิฉันและพี่น้อง 3 คน ซึ่งใช้ชีวิตที่บ้านหลังนั้นตั้งแต่เด็กๆ แต่ก็ไม่ได้ทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์ อักษร หลังจากที่คุณย่าเสีย คุณปู่ก็ยังไม่ได้เรียกลูกหลาน มาคุยกันจริงจัง แต่ พอรู้ว่ามีคนที่อยากให้ขายที่แล้วแบ่งกัน ทั้งๆ ที่เป็นบ้านที่คุณปู่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน จนทุกวันนี้ ใกล้จะครบปีแล้วชื่อในโฉนดดังกล่าว ก็ยังเป็นชื่อของคุณย่าอยู่ อยากถามว่า 1- คุณปู่แก่มากแล้ว ดิฉัน อยากให้ท่านได้ใช้ชีวิตที่เหลือที่บ้านหลังนั้น แต่ถ้าป้าหรือลุง (ลูกติดของย่า) ไม่ยอม ดึงดันจะขายแบ่งเงินกัน จะทำอย่างไรดี 2- การที่ล่วงเลยมานานยังไม่ได้โอนชื่อ หรือจัดแบ่งมรดก จะมีปัญหาหรือไม่อย่างไร 3- โดยปกติแล้ว บ้านจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินใช่หรือไม่ 4- การที่มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้าน ในฐานะเ้จ้าบ้านของปู่ และการที่ดิฉันมีชื่อเป็น ผู้อาศัย มีผลต่อการแบ่งมรดกหรือไม่อย่างไร 5- สมมุติว่า ปล่อยไว้อีกปี แล้วปู่เกิดเสียชีวิต ในทางกฏหมายใครจะมีสิทธิ์ในมรดกบ้าง 6- การประกาศทางวาจา ว่าจะยกมรดกให้ใครบ้าง ไม่มีผลใช่ทางกฏหมายใช่มั้ยคะ


ผู้ตั้งกระทู้ p_panas :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-18 14:42:31 IP : 203.146.147.102


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2951679)

1.ให้คุณปู่ร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก   และนำที่ดินของย่าแบ่งมาแบ่งปันทายาทตามสิทธิต่อไป......การที่ลูกติดของย่า  แม้จะมีสิทธิรับมรดก  แต่จะขายที่ดินโดยปู่ไม่ยินยอมคงทำไม่ได้ครับ  เพราะปู่และลูกของปู่  2  คนก็มีสิทธิรับมรดกเช่นกัน  ถ้าปู่และบุตร  2  คนไม่ยินยอมให้ขาย  เขาก็ไม่สามารถขายไม่ได้อย่างแน่นอนครับ

2.  ก็ควรให้ปู่รีบร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก ....... ให้ทนายความช่วยดำเนินการให้     ภายในอายุความ  1  ปี นับแต่ย่าเสียชีวิต    แม้กฎหมายจะให้โอกาสฟ้องร้องเรื่องมรดกได้ภายใน  10 ปี   แต่มีเงื่อนไขและข้อโต้แย้งมากมาย  ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรดำเนินการภายใน  1 ปีครับ

3. เมื่อย่ามีชื่อในโฉนดที่ดิน   ย่าย่อมมีกรรมสิทธิ์ในบ้านด้วย  เพราะบ้านเป็นส่วนควบของที่ดิน.....คุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ

4.  ทรัพย์มรดกจะยึดถือ  ว่าใครมีชื่อในเอกสารสิทธิ์....การที่ปู่มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน  ก็พออ้างได้ว่าปู่เป็นเจ้าของบ้าน    แต่การมีกรรมสิทธิ์ที่สมบูรณ์คือการมีชื่อในโฉนดที่ดินของย่า......การแบ่งมรดก  จะถือสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย  คือผู้มีสิทธิรับมรดกของย่า  ได้แก่   ปู่และบุตรทั้ง  5  คน

5. ควรรีบดำเนินการภายใน  1  ปี นับแต่ย่าเสียชีวิต     ถ้าไม่ดำเนินการอะไร.....   เมื่อปู่เสียชีวิต  บุตรทั้ง  5  คน  ก็สามารถร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก  แบ่งปันมรดกแก่ทายาทตามสิทธิต่อไปครับ  ซึ่งผู้มีสิทธิรัมรดกของปู่-ย่าคือ  บุตร  ทั้ง  5  คนๆละเท่าๆกัน

6. การประกาศมอบที่ดินให้ด้วยวาจา  แม้จะมีผู้รับรู้มามายปานใดก็ตาม  ไม่มีผลให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมายครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2008-12-19 12:52:01 IP : 125.26.107.125


ความคิดเห็นที่ 2 (2951708)
ขอบคุณมากค่ะ k.ผู้เฒ่า ตอบได้ชัดเจนและอ่านง่ายมาก ระหว่างรอคำตอบ ได้อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องหลายเรื่อง คิดว่ามีประโยชน์มาก เห็นในสังคมมีการแบ่งปันความรู้ ช่วยเหลือกันแล้ว รู้สึกดีมากค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น p_panas วันที่ตอบ 2008-12-19 14:21:04 IP : 203.146.147.102



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.