ReadyPlanet.com


หากต้องการให้ประเทศไทยเพิ่มบทลงโทษพวกคดีขมขื่น(ทั้งฆ่าและไม่ได้ฆ่า)ควรทำอย่างไร


ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกฏหมายค่อนข้างอ่อน หรือผู้พิพากษาเองตัดสินบทลงโทษค่อนข้างอ่อน และการดำเนินคดีมีความล่าช้ามาก นอกจากนี้ยังมีหลายคดีที่ผู้เสียหายไม่ได้รับความยุติธรรม อย่างเช่นคดีฆ่าขมขื่นเป็นต้น ไม่ว่าจะขมขื่นแล้วฆ่า / ฆ่าขมขื่น/ รุมโทรมถ่ายคลิป การขมขื่นในกรณีสายเลือดเดียวกัน เป็นต้น มีประชาชนจำนวนมากเมื่อเห็นข่าวประเภทนี้แล้วรู้สึกสะเทือนขวัญ และหวาดกลัวกับภัยสังคม และยิ่งเมื่อเห็นคำตัดสินซึ่งมันควรจะมีบทลงโทษที่แรงกว่านี้ แต่กลับไม่เห็นความยุติธรรมของศาลไทย ก็ยิ่งทำให้หลายคนมีความเห็นว่า ไทยควรเพิ่มบทลงโทษให้หนักกว่านี้ แต่จะทำเช่นนั้นได้ ต้องทำอย่างไร ต้องเสนอผ่านใคร และใครมีอำนาจในการทำเรื่องนี้

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้และร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ จอย :: วันที่ลงประกาศ 2008-11-03 23:02:08 IP : 124.157.145.162


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2932095)

-การข่มขืน...ทั้งชายและหญิง (ปอ.ม.276) มีโทษจำคุก  4-20 ปี  ถ้าเป็นการโทรมหญิงหรือชาย(ร่วมกัน 2คนขึ้นไป) มีโทษ  15-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต....

-การฆ่าผู้อื่น (ปอ.ม.288) มีโทษประหารชีวิต     จำคุกตลอดชีวิต   หรือ   จำคุก  15-20  ปี  เป็นต้น....

-ที่คุณบอกว่ากฎหมายไทยยังอ่อน   หรือกำหนดโทษไว้ค่อนข้างน้อย  จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด  ดูตัวอย่างอัตราโทษที่ผมยกมาให้เห็นก็คงพอจะยืนยันได้....

-ส่วนจำเลยต้องได้รับโทษมากน้อยเพียงใด  ก็อยู่ที่กระบวนการพิจรณาในศาล    การที่ศาลจะลงโทษจำเลยมากน้อยเพียงใด   พยานหลักฐานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง   บางทีข่าวที่ออกมาทางสื่อ  มีการเพิ่มสีเพิ่มแสง   เพื่อการประโคมข่าว  เพื่อหวังผลทางการค้า การโฆษณา   ข้อเท็จจริงอาจคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป  ด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม   ผู้รับสื่อหรือประชาชนอาจสับสน......แต่กระบวนการพิจรณาในศาล   ต้องชัดเจนหรือ  มีเหตุมีผล  สอดรับกัน  จนปราศจากข้อสงสัยจึงจะสามารถลงโทษจำเลยได้.......ผู้กระทำความผิดอาจหลุดรอดไปได้   เพราะขาดพยานหลักฐาน  ก็มีทางเป็นไปได้  และก็เป็นไปอยู่เสมอ  ที่คนผิดลอยนวล     กระบวนการยุติธรมจึงได้นำกระบวนทางวิทยาศาสตร์  เช่นนิติเวช หรือการติดกล้องวงจรปิด     มาช่วยเหลือ    แต่จะให้ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์คงเป็นไปไม่ได้    เพราะการก่ออาชญากรรมมักทำในที่ลับตาคนเป็นส่วนใหญ่   ถ้าพยานหลักฐานเอื้อมไม่ถึง  เขาก็รอดตัวไป......คุณคงไม่ต้องคิดแก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษให้สูงขึ้นหรอก.เพราะอัตราโทษปัจจุบันก็สูงมากพอแล้ว......ควรหาทางเสนอแนะว่า    ทำอย่างไร   จึงจะสามารถรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดให้ได้ทุกราย น่าจะดีกว่า.....

-ขอยกตัวอย่าง   พยานบุคคลที่ถูกอ้างตัวในการพิจารณาคดี    พยานส่วนใหญ่มัก บอกว่าไม่รู้  ไม่เห็น  ไม่ทราบ   ทั้งที่เป็นประจักษ์พยาน   เพราะกลัวภัยมาถึงตัว......คุณก็คิดดูก็แล้วกัน  ถ้าให้ปากคำเช่นนี้   ผู้กระทำผิดก็ลอยนวล.....แล้วจะมาโทษว่ากฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไรครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2008-11-04 14:02:33 IP : 125.26.108.239


ความคิดเห็นที่ 2 (2932102)

-การข่มขืน...ทั้งชายและหญิง (ปอ.ม.276) มีโทษจำคุก  4-20 ปี  ถ้าเป็นการโทรมหญิงหรือชาย(ร่วมกัน 2คนขึ้นไป) มีโทษ  15-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต....

-การฆ่าผู้อื่น (ปอ.ม.288) มีโทษประหารชีวิต     จำคุกตลอดชีวิต   หรือ   จำคุก  15-20  ปี  เป็นต้น....

-ที่คุณบอกว่ากฎหมายไทยยังอ่อน   หรือกำหนดโทษไว้ค่อนข้างน้อย  จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด  ดูตัวอย่างอัตราโทษที่ผมยกมาให้เห็นก็คงพอจะยืนยันได้....

-ส่วนจำเลยต้องได้รับโทษมากน้อยเพียงใด  ก็อยู่ที่กระบวนการพิจรณาในศาล    การที่ศาลจะลงโทษจำเลยมากน้อยเพียงใด   พยานหลักฐานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง   บางทีข่าวที่ออกมาทางสื่อ  มีการเพิ่มสีเพิ่มแสง   เพื่อการประโคมข่าว  เพื่อหวังผลทางการค้า การโฆษณา   ข้อเท็จจริงอาจคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป  ด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม   ผู้รับสื่อหรือประชาชนอาจสับสน......แต่กระบวนการพิจรณาในศาล   ต้องชัดเจนหรือ  มีเหตุมีผล  สอดรับกัน  จนปราศจากข้อสงสัยจึงจะสามารถลงโทษจำเลยได้.......ผู้กระทำความผิดอาจหลุดรอดไปได้   เพราะขาดพยานหลักฐาน  ก็มีทางเป็นไปได้  และก็เป็นไปอยู่เสมอ  ที่คนผิดลอยนวล     กระบวนการยุติธรมจึงได้นำกระบวนทางวิทยาศาสตร์  เช่นนิติเวช หรือการติดกล้องวงจรปิด     มาช่วยเหลือ    แต่จะให้ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์คงเป็นไปไม่ได้    เพราะการก่ออาชญากรรมมักทำในที่ลับตาคนเป็นส่วนใหญ่   ถ้าพยานหลักฐานเอื้อมไม่ถึง  เขาก็รอดตัวไป......คุณคงไม่ต้องคิดแก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษให้สูงขึ้นหรอก.เพราะอัตราโทษปัจจุบันก็สูงมากพอแล้ว......ควรหาทางเสนอแนะว่า    ทำอย่างไร   จึงจะสามารถรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดให้ได้ทุกราย น่าจะดีกว่า.....

-ขอยกตัวอย่าง   พยานบุคคลที่ถูกอ้างตัวในการพิจารณาคดี    พยานส่วนใหญ่มัก บอกว่าไม่รู้  ไม่เห็น  ไม่ทราบ   ทั้งที่เป็นประจักษ์พยาน   เพราะกลัวภัยมาถึงตัว......คุณก็คิดดูก็แล้วกัน  ถ้าให้ปากคำเช่นนี้   ผู้กระทำผิดก็ลอยนวล.....แล้วจะมาโทษว่ากฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไรครับ

-เรื่องความล่าช้า ในการพิจารณาคดี    ถ้ามองดูเผินๆก็ล่าช้าจริง     แต่ถ้าเข้าใจกระบวนการยุติธรรม  ก็คงพอเข้าใจได้ว่า   การพิจารณาแต่ละคดี  คงไม่สามารถรวดเร็วทันใจ  เพราะ   คดีความต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายหลายหน่วยงาน....เริ่มจากตำรวจ   รวบรวมพยานหลักฐาน   สั่งฟ้องไปยังอัยการ   อัยการพิจารณาเพื่อส่งฟ้องศาล  เพียงแค่สองหน่วยงานนี้ คงใช้เวลาไม่น้อย  เมื่อคดีขึ้นสู๋ศาล   กระบวนการพิจารณาในศาล    กว่าจะสืบปากคำพยานผ่านไปแต่ละปาก  บางทีต้องใช้เวลาครึ่งค่อนวัน  บางทีตำรวจ  อัยการ   ทนาย   พยาน  ผู้พิพากษา  มีภารกิจในช่วงนั้น จำเป็นต้องเลื่อนการพิจารณาไปอีก    ประกอบกับคดีความที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลมีค่อนข้างมาก.....คดีแต่ละคดีจึงอาจไม่ทันใจทันกับความรู้สึกของเราอย่างแน่นอนครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2008-11-04 14:14:47 IP : 125.26.108.239


ความคิดเห็นที่ 3 (2933427)

น่าจะประหารชีวิตสถานเดียวไปเลยนะคะ ไม่ได้โหดนะคะ แต่บทลงโทษไม่ได้ทำให้ผู้ต้องหาสำนึกผิดเลย ออกมาจากคุกก็ก่อคดีซ้ำอีก ถ้ามีบทลงโทษที่รุนแรงก็อาจทำให้ไม่มีใครกล้ากระทำผิด เพราะทุกคนย่อมรักชีวิตตัวเองอยู่แล้ว ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำตอบนะคะคุณผู้เฒ่า

ผู้แสดงความคิดเห็น จอย วันที่ตอบ 2008-11-07 23:43:00 IP : 124.157.145.52


ความคิดเห็นที่ 4 (2942549)
ออกกฎหมายและบังคับใช้ให้เด็ดขาด ถ้าทำผิดจริงให้ริบของกลาง ห้ามอุทธรณ์
ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา วันที่ตอบ 2008-11-26 15:57:59 IP : 58.9.230.23



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.