ReadyPlanet.com


ข้อขัดแย้งมรดกที่ดิน


พ่อเป็นทนาย ลูกความจ่าย เป็นที่ดิน 13ไร่3งาน87วา ที่บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี

 

พ่อมีลูกสาวทั้งหมดหกคน

 

พ่อต้องการให้ใส่ชื่อลูกสาวคนโต (พี่เล็ก) 

 

พี่เล็กโทรไปขอเงินลูกสาวคนที่สาม(พี่นิด) ที่อเมริกาเป็นเงินประมาณ 30,000 บาทเป็นค่าโอน ในปี 2025 ที่ดินโอนเข้าชื่อพี่เล็กคนเดียว

 

ได้มีการกล่าวกันว่า พ่อได้พูดว่า พี่เล็กคงไม่โกงน้องๆ แต่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร 

 

?? พี่เล็กเป็นเพียง nominee หรือเป็นเจ้าของตามกฎหมาย??

 

ตามเวลาที่ผ่านมาพี่เล็กก็ได้เข้าไปปรับปรุงที่บ้าง มีการถางหญ้า ปลูกต้นไม้บ้าง อย่างสม่ำเสมอ ประมาณเดือนละ สองสามครั้งแล้วแต่เวลาจะอำนวย พี่นิดผู้ออกตังค่าโอนก็ได้ไปด้วยเป็นครั้งคราวในตอนแรกๆ พี่นิดได้ย้ายถิ่นฐานกลับมาอยู่เมืองไทย  มีการจ้างคนท้องถิ่นให้ช่วยดูแลพืชสวนที่ปลูกไว้ด้วย

 

วันที่19มกราคม38, 13ปีหลังที่ได้ที่ดินมา,  พี่เล็กที่มีชื่ออยู่ในโฉนด ได้ไปแบ่งที่ดินออกเป็นสองแปลง, แบ่งเป็นสองโฉนด ( A 7ไร่ - B 6ไร3งาน87วา) 

เหตุผลที่ไปแบ่งแยกในขณะนั้นก็คือต้องการให้พี่นิดที่ออกตังค่าโอนได้เป็นเจ้าของแปลง 6ไร่3งาน87วา (B) 

ก่อนไปแบ่งโฉนดได้มีการปรึกษาลูกสาวคนสุดท้องที่เรียนกฏหมายมาและสามีก็เป็นทนายด้วย

ลูกสาวคนสุดท้องแนะนำว่ายังไม่ต้องโอนก็ได้ แบ่งโฉนดไว้ก่อนไม่ต้องเสียค่าโอน **ทั้งสองแปลงก็ยังอยู่ในชื่อพี่เล็กเหมือนเดิม

 

การแบ่งแยกโฉนดและจุดมุ่งหมายในการแบ่งแยกโฉนดเพื่อให้พี่นิดได้แปลงเล็กในขณะนั้นได้เป็นที่รับทราบในหมู่พี่น้องทั้งหกคน

 

Side Note แทรก Time Line **พี่เล็กเสียชีวิต unexpectedly by accident ตุลาคม 2561 ไม่มีพินัยกรรม

 

?? Verbal agreement และ การไป split โฉนด และการที่พี่นิดเป็นคนออกตังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคนเดียว เพียงพอที่พี่นิดจะเอาไป claim ส่วนที่พี่เล็ก promise ไว้ได้หรือไม่??

ความสัมพันธ์ระหว่างพี่เล็กและพี่นิด deteriorated ในสิบกว่าปีที่ผ่านมา

 

Side Note แทรก Time Line **ลูกสาวคนที่สาม (พี่ต๋อย) บอกว่าก่อนพี่เล็กเสียชีวิตสองเดือน พี่เล็กได้ให้พี่ต๋อยทำบันทึกว่าเขาต้องการยกที่ทั้งสองแปลงให้พี่ต๋อยและพี่แอ๊ด (ลูกคนที่สี่) คือพี่เล็กไม่ต้องการยกที่ดินแปลงเล็กให้พี่นิดตามที่promisedไว้แล้ว เอกสารไม่ได้เขียนโดยพี่เล็ก แต่เอกสารนี้ไม่ยอมให้พี่น้องคนอื่นดู?? เอกสารนี้ไม่ใช่พินัยกรรม เหมือนเป็น dictation note รับรู้กันเพียงผู้ที่claimว่าเป็นbeneficiariesใหม่  สองคนที่claimว่าเป็นbeneficiariesใหม่มาเปิดเผยverballyเมื่อเร็วๆนี้ว่าจะมีการตั้งผู้จัดการมรดก

 

Another important note, พี่เล็กเสียชีวิตในขณะที่  แม่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งถ้าพี่เล็กเป็นเจ้าของจริงไม่ใช่nominee ที่ดินสอง ปลงนี้ก็ต้องตกเป็นของแม่  และแม่เสียชีวิต ที่ดินก็ต้องมาแบ่งลูกๆที่เหลือห้าคนเท่าๆกันใช่หรือไม่?

 

เอาคร่าวๆเท่านี้ก่อนครับ

 

ถ้าขึ้นศาลผลตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไร?



 

วันที่7เมษายน38 ได้มีการเอาที่ดินผืนเล็ก (B) ที่แบ่งแยกไว้ให้พี่นิดแต่ยังไม่ได้โอนไปจำนองกับธนาคารเป็นวงเงินประมาณ5แสนบาทเพื่อเอามาต่อเติมและซ่อมแซมบ้านที่อยู่ร่วมกัน (ปากน้ำสมุทรปราการ), กู้ในนามผู้ถือโฉนด (พี่เล็ก) 

พี่เล็กได้ได้ประสบกับปัญหาขัดข้องทางด้าการเงิน และมีการเอาเงินออกมาจากบัตรเครดิตมาผ่อนให้ธนาคารในอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึงกว่า30%ในขณะนั้นทำให้ยอดหนี้รวมสูงขึ้นเป็นดินพอกหางหมูจนพี่เล็กไม่สามารถที่จะผ่อนจ่ายทั้งบัตรเครดิตและธนาคารที่ไปจำนองที่ดินไวั

 

กุมภาพันธ์43 

พี่เล็กได้ติดต่อน้องรองคนสุดท้อง (อุ๊) ให้ช่วยไถ่ถอนหนี้ทั้งหมดให้

หนี้บัตรเครดิตและหนี้ธนาคารได้ถูกไถ่ถอนทั้งหมดในเดือนกุมภาพันธ์43โดยน้องรองสุดท้าย (อุ๊) โฉนดกลับมาอยู่ในชื่อพี่เล็กเหมือนเดิม











 



ผู้ตั้งกระทู้ ภูวี่ :: วันที่ลงประกาศ 2022-02-23 15:51:38 IP : 171.96.88.37


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4453652)

ปัญหาที่ดิน

  ฟังแล้ว  ผู้ถามและญาติต่างก็รู้กฎหมายดีแล้ว  เรื่องนี้ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน   เมื่อพ่อโอนให้บุตรคนโต เพื่อแบ่งน้องๆทุกคน  ก็เข้าทำนองให้ถือกรรมสิทธิ์แทนน้องๆ ที่ดินจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของพี่น้องทุกคน..แม้พี่เสียชีวิตไป  กรรมสิทธิ์นั้นก็คงไม่เปลี่ยนแปลง  คือส่วนของผู้ตาย(1 ใน6 ส่วน)ก็ตกทอดแก่ทายาทของผู้ตาย เช่น มารดาและบุตร...การที่เล็กรับโอนที่ดินมา  ก็ยังถือว่าที่ดินยังเป็นกรรมสิทธิ์รวมของพี่น้องทุกคน  การนำไปจำนอง และน้องคนหนึ่งไถ่ถอนมา  ก็เป็นความผูกพันของผู้จำนองและผู้ไถ่จำนอง  ต้องไปว่าการกล่าวกันเอาเอง   ที่ดินก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของพี่น้องทุกคน

              ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คือ  ผู้รับโอนจากพ่อไม่ยอมรับว่า  เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนพี่น้อง  และการที่ผู้รับโอนจากพ่อ  โอนที่ดินให้น้องอีกคน  น้องที่รับโอนอาจเข้าใจผิดว่าตนเป็นเจ้าของ  ไม่ยอมแบ่งที่ดินแปลงนี้ ให้พี่น้องคนอื่นๆ  และการที่น้องคนที่ไปไถ่จำนอง  ก็อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าตนออกค่าใช้จ่ายไถ่จำนอง ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้   ถ้ายังไปเข้าใจในทำนองนี้ ก็คงไม่สามารถเจรจาแบ่งปันกันได้   ถ้ายอมรับความจริงว่า พ่อมีเจตนาโอนที่ดินให้ ทั้ง 6 คน ก็ต้องแบ่ง คนละเท่าๆกัน ประมาณคนละ 2ไร่เศษ  หรือตีราคาเป็นตัวเงิน  เช่นตีราคา 1,200,000 บาท (สมมุติ)  ก็แบ่งคนละ  2 แสนบาท  ใครต้องการที่ดินทั้งหมดก็จ่ายให้พี่น้อง ทั้ง 5 คน เป็นเงิน 1 ล้านบาท  หรือนำที่ดิน ออกขาย  นำเงินมาแบ่งปันก็ได้ ส่วนคนที่นำที่ดินไปจำนองกับคนไถ่จำนองก็เจรจาหักกลบลบหนี้กันเอาเองก็ได้....ถ้าไม่สามารถเจรจากันได้ลงตัว ก็ขอแนะนำให้ไปที่ศาลจังหวัดชลบุรี  ไปที่ศูนย์ไกล่เกลี่ย  แจ้งเจ้าหน้าที่ขอให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง(ไม่มีค่าใช้จ่าย) น่าจะมีทางออกที่สันติ  เพราะการเจรจาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศาล  คงได้รับความเป็นธรรมกันถ้วนหน้า  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2022-02-24 12:04:19 IP : 223.205.246.167


ความคิดเห็นที่ 2 (4453659)

 ขอบคุณมากครับ

 

ขอถามอีกนิดครับ

ถ้าเจตจำนงของพ่อไม่สามารถพิสูจน์ได้ไม่ได้เขียนไว้และไม่เป็นที่ยอมรัยขของพี่น้องบางคน

พี่เล็กที่มีชื่อในโฉนดแต่ผู้เดียวก็เสียไปแล้ว และยังไม่ได้โอนให้น้องตามที่สัญญา ที่ทั้งสองแปลงก็ตกเป็นของแม่ 

น้องคนที่ออกค่าโอนก็ไม่สามารถจะเรียกร้องที่ดินแปลงเล็กที่พี่เคยสัญญาว่าจะโอนให้ใช่ไหมครับ?

พูดง่ายๆว่าตอนนี้

ที่สองแปลงตกไปที่แม่

แม่เสีย ที่ก็ต้องมาแบ่งเท่าๆกันสำหรับลูกที่เหลือ?

ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องไปไกล่เกลี่ย หรือต้องไปฟ้องร้องกันต่อไป?

 

ขอบคุณอีกครั้งครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภูวี่ (mpalsal-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2022-02-24 12:42:47 IP : 171.96.88.37


ความคิดเห็นที่ 3 (4453687)

 การถือกรรมสิทธิ์แทน

  ถ้าไม่มีการระบุไว้ชัดเจนว่าให้พี่ถือกรรมสิทธิ์แทน  ถ้าทายาทไม่ยอมรับในเรื่องนี้  ก็คงเกิดเป็นประเด็น โต้แย้งกันมากมาย  ก็คงต้องเอาตามเอกสารที่เป็นอยู่จริง  ซึ่งทุกคนน่าจะยอมรับเพราะเอกสารยืนยันไว้  เมื่อพี่ที่รับโอนมา ตายลง  ถ้าเขาไม่มีสามีและบุตร  ที่ดินก็ย่อมตกทอดแก่ แม่ ...เมื่อแม่เสียชีวิต  ที่ดินก็จะเป็นมรดกตกทอดแก่บุตรที่เหลือ ทั้ง 5 คน ตามที่เข้าใจถูกต้องแล้ว...เรื่องมรดกต้องยอมรับกันแบบพี่แบบน้อง  ไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายมาแก้ไขทั้งหมดก็ได้...

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2022-02-25 10:14:34 IP : 223.205.246.167



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.