ReadyPlanet.com


เช็คอาญาหรือไม่


เรียนคุณ  ผู้เฒ่า  ที่นับถือ

คำพิพากษาฎีกาที่ 2921/2540  จำเลยออกเช็คฉบับแรกไปแลกเงินสดจากโจทก์ เช็คฉบับแรกมิได้ออกเพื่อชำระหนี้ จึงไม่เป็นความผิด ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มีผลก่อให้เกิดหนี้ระหว่างจำเลยผู้ออกเช็คกับโจทก์ผู้ทรงตามจำนวนเงินในเช็คฉบับนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 914 ต่อมาจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ถือว่าเช็คฉบับหลังออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับหลัง จำเลยจึงมีความผิดทางอาญา
-จากฏีกา2921/2540 ที่ข้าฯคัดลอกมาให้ท่านดู ขอเรียนถามว่า

1.กรณีของข้าฯ ภรรยานำเช็คมาแลกเงินสด ต่อมาเช็คเด้ง ข้อ เงินในบัญชีไม่พอจ่าย ยอดเงิน 3 แสน  เช็คฉบับนี้มิได้ออกเพื่อชำระหนี้จึงไม่มีความผิดทาง อาญาถูกต้องหรือไม่  ขอคำแนะนำและคำอธิบายด้วย

2.ต่อมา สามีของลูกหนี้มาทำหนังสือรับสภาพหนี้ ยอด 3แสน+ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน เข้าไปในเช็คฉบับใหม่ โดยสามีของลูกหนี้เป็นคนสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ 1ธค.51  ข้าฯได้นำเช็คไปเรียกเก็บ  ธนาคารปฎิเสธเงินไม่พอจ่าย  เช็คฉบับนี้ผิดอาญาหรือไม่ เข้าข่ายฏีกา2921/2540 หรือยัง ขอคำแนะนำและคำอธิบาย

3.เช็คฉบับแรกภรรยาเป็นคนสั่งจ่ายแล้วเช็คเด้ง  ฉบับต่อมาสามีเป็นคนสั่งจ่ายแทนเช็คฉบับแรกที่เด้งฏีกาที่2921/2540  ต้องเป็นบุคคล คนเดียวกันหรือไม่

4.อยากทราบว่าฏีกา ฉบับเต็ม สามารถค้นหาได้จากที่ไหน

ขอขอบคุณล่วงหน้า ขออวยพรปีใหม่ให้ทีมงานทุกท่านมีความสุข


 



ผู้ตั้งกระทู้ ปีใหม่ :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-09 09:23:05 IP : 58.8.193.7


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2947897)

1.บรรดานักกฎหมายส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า   การออกเช็คเพื่อแลกเงินสดไม่มีความผิดทางอาญา   เพราะขณะออกเช็คยังไม่มีมูลหนี้  แต่ยังต้องรับผิดทางแพ่ง

2. เมื่อสามีของลูกหนี้ออกเช็คในขณะมีมูลหนี้เกิดขึ้น   เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน   ผู้สั่งจ่ายคงต้องรับผิดทางอาญาฐานจ่ายเงินโดยไม่ต้องการให้คนรับเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารได้

3. ตามกฎหมายแพ่งสามีภรรยาถือเป็นบุคคลเดียวกัน  เมื่อสามีออกเช็คเพื่อใช้หนี้ของภรรยา  ถือว่าออกเช็คโดยมีมูลหนี้  จึงต้องรับผิดทางอาญา....ถ้าเช็คเด้ง

4.ก็ลองเข้าไปค้นที่  www.supremecourt.or.th  เมื่อสมัครเป็นสมาชิกน่าจะค้นหาได้..ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2008-12-09 11:47:31 IP : 125.26.109.130


ความคิดเห็นที่ 2 (2947907)
-ผมเข้าไปค้นดู  จึงนำมาให้คุณสึกษาดูครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2540

แจ้งแก้ไขข้อมูล

จำเลยออกเช็คนำไปแลกเงินสดจากโจทก์ แม้การออกเช็คของจำเลยดังกล่าวจะมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ก็ตาม แต่การที่จำเลยออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากโจทก์และเช็คดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่จำเลยสั่งจ่ายนั้นย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 898,900 ในกรณีนี้หากจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าว เช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ได้ คดีนี้โจทก์และจำเลยได้แปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็คมาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืม และจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม จึงต้องถือว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 แล้ว จำเลยจึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินปรากฎว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่า "บัญชีปิดแล้ว" แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้ทีการใช้เงินตามเช็คนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 ตามที่โจทก์ฟ้อง

  
ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2008-12-09 12:31:00 IP : 125.26.109.130


ความคิดเห็นที่ 3 (2948055)

เรียน  คุณผู้เฒ่า  ที่นับถือ

 ขอกราบขอบคุณเป็นอย่างสูง  ที่กรุณาตอบคำถาม  และกรุณาค้นฏีกาให้ด้วย  ขอขอบคุณอีกครั้ง

ขออวยพรให้บุญกุศลจากการที่ท่านตอบคำถามให้ซึ่งเป็นวิทยาทานอย่างสูง  จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง อย่าได้มีสิ่งใดๆ แผ้วพาน

ผู้แสดงความคิดเห็น ปีใหม่ วันที่ตอบ 2008-12-09 18:50:30 IP : 58.8.182.123



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.