ReadyPlanet.com


พินัยกรรม


การทำพินัยกรรมขึ้น 2 ฉบับพร้อมกัน โดยฉบับหนึ่งยกทรัพย์สมบัติจำนวนหนึ่งให้กับทายาทกลุ่มหนึ่ง และอีกฉบับหนึ่งยกทรัพย์สมบัติอีกจำนวนหนึ่ง(ที่ไม่ซ้ำ)ให้กับทายาทอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ทราบว่าตามกฏหมายแล้วจะทำได้หรือไม่ และหากทำได้ควรทำอย่างไรเพื่อที่ภายหลังจะได้ไม่เกิดปัญหา เช่น จำเป็นต้องมีพยานหรือไม่ หรือทั้ง 2 ฉบับจำเป็นต้องเก็บที่อำเภอหรือไม่


ผู้ตั้งกระทู้ ลิน :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-30 17:32:23 IP : 202.44.210.45


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2990080)
-ถ้าทำพินัยกรรมสองฉบับพร้อมกัน   โดยมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทคนละกลุ่ม  และที่สำคัญเป็นทรัพย์สินคนละอย่างกัน   ย่อมสามารถใช้บังคับได้ทั้งสองฉบัย......   พินัยกรรมมีหลายแบบ  ถ้าเขียนเองทั้งฉบับไม่ต้องมีพยานก็ได้.....    แต่ตามความเห็นของผม พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง   น่าจะมีข้อโต้แย้งน้อยที่สุด เพราะผ่านการกระทำโดยการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ  แต่จะให้ป้องกันปัญหาได้ทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้  ขอแนะนำให้ไปศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ที่เกี่ยวกับพินัยกรรม  มาตรา1655-มาตรา1710  คงพอทำให้คุณเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับพินัยกรรมมากขึ้นครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2009-03-31 07:51:23 IP : 125.26.108.68



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.