ReadyPlanet.com


บุคคลไร้สัญชาติ


ถ้ารับบุคคลไร้สัญชาติเข้าทำงาน ผิดกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากแฟนของน้องชายสามีเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน แต่เค้าเรียนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จะสามารถรับเข้ามาทำงานในบริษัทได้หรือไม่ ผู้ที่ให้ที่พักอาศัยจะผิดกฎหมายเหมือนให้ที่พักคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองหรือไม่ และถ้าเค้าแต่งงานกับคนไทย เค้ามีสิทธิขอสัญชาติไทยได้มั้ย ใครมีความรู้รบกวนตอบให้ด้วยนะคะ


ผู้ตั้งกระทู้ soft :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-30 08:32:53 IP : 115.67.137.167


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3026211)
พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521
 

พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521


มีผลบังคับใช้ตั้งแต่นที่ 22 กรกฎาคม 2521

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อสงวนอาชีพซึ่งคนไทยทำได้ไว้สำหรับคนไทย
          2. เพื่อควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวที่ขออนุญาตทำงานในประเทศไทย
          3. เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการมีงานทำของประเทศ


คนต่างด้าว  หมายความว่า    
บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
ทำงาน        หมายความว่า     การทำงานโดยใช้กำลังกาย หรือความรู้ด้วยความ
                                                     
ประสงค์ค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม


สาระสำคัญ
          คนต่างด้าวจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย เว้นแต่บุคคลในคณะผู้แทนทางทูต ผู้แทนทางกงสุล ผู้แทนของประทเศสมาชิกและพนักงานองค์การสหประชาชาติ และทบวงการชำนาญพิเศษ รวมทั้งผู้รับใช้ส่วนตัวของผู้แทนดังกล่าว บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจตามความตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรืองค์กรระหว่างประเทศ และบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเพื่อให้ความช่วยหลือแก่รัฐบาลในการพัฒนาการศึกษาของชาติ รวมทั้งการฝึกอบรมครู อาจารย์ และกรสอนนักศึกษาหรือนิสิตในระดบวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือเพื่อให้ความช่วยเหลือในการฝึกสอบการกีฬาให้แก่นักกีฬาตามข้อตกลงกับองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย หรือเพื่อเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาให้แก่นักกีฬาตามข้อตกลงกับองคืการส่งเสริมการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือเพื่อเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาในราชอาณาจักรเป็นเวลาไม่เกินสามสิบวันหรือเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือศิลปะ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดประชุม การจัดสัมมนาหรือนิทรรศการ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ร่วมจัดหรือได้รับทราบและมีกำหนดเวลาไม่เกินสามสิบวัน หรือบุคคลซึ่งรัฐบาลอนุญาตหใข้มาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใด

คนต่างด้าวที่มีสิทธิขอออนุยาตทำงานได้ในปัจุบัน มี 3 ประเภท คือ
          (1) คนต่างด้าวทั่วๆ ไป (ตามมาตรา 7) หมายถึง คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) เช่น เข้ามาทำธุรกิจหรือการปฏิบัติหน้าที่สือมวลชน
          (2) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสิรมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน (ตามมาตรา 10)
          (3) คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ได้แก่ คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศ หรือที่อยู่ในระหว่างการรอเนรเทศ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยหรือถูกถอนสัญชาติ

การยื่นคำขออนุญาตทำงาน
          (1) คนต่างด้าวที่ยังไม่ได้เดินทางมาในราชอาณาจักร ประสงค์จะทำงาน ให้ติดต่อสถานฑูต หรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ หรือให้นายจ้างในราชอาณาจักร ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทน เมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว จึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขอรับใบอนุญาตทำงานได้
 
          (2) คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้ 
                - คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) และไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือต้องห้ามตามเงื่อนไขที่กำหนด จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้วเท่านั้น (ตามมาตรา 7)
                - คนต่างด้าวที่เข้ามาเป้นการชั่วคราว เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนไม่เกิน 15 วัน ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งอธิบดีหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบ
               - คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่น (ตามมาตรา 10) ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามา หรือ 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้นๆ โดยระหว่างรอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอทำงานไปพลางก่อนได้
          (3) คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร (ตามมาตรา 12) หากจะทำงานคนต่างด้าวจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน เมื่อได้รับอนุญาตจึงจะทำงานได้  
  
ระยะเวลาการอนุญาต  
          (1) คนต่างด้าวตามมาตรา 7 จะพิจารณาให้ตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 1 ปี และให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็นการชั่วคราว
          (2) คนต่างด้าวตามมาตรา 10 จะได้รับอนุญาตตามระยะเวลา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุญาต 
          (3) คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ซึ่งสามารถทำงานได้ 27 อาชีพ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดระยะเวลาอนุญาต ไม่เกิน 1 ปี
          (4) กรณีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็นการชั่วคราว โดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน ให้มีอายุ 30 วัน นับแต่วันออกใบอนุญาตทำงาน
 
การต่ออายุใบอนุญาต  
          (1) คนต่างด้าวจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ
          (2) ถ้าหากคนต่างด้าวยื่นภายในเวลากำหนดแล้ว สามารถทำงานไปพลางก่อนได้ จนกว่านายทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาต่อใบอนุญาตหรือไม่อนุญาต 
          (3) การต่ออายุใบอนุญาตจะไดรับการพิจารณาครั้งละไม่เกิน 1 ปี ปี 2544 ได้มีการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่นที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นมา

ข้อมูลข่าวจาก : ส.ลพบุรี / ผู้ลงประกาศ : ส.ลพบุรี
 

--และขอแนะนำให้ไปศึกษา   พรบ.สัญชาติ  พ.ศ. 2508  ในเว็บของกฤษฎีกาครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2009-06-30 19:07:27 IP : 125.26.113.91


ความคิดเห็นที่ 2 (3027426)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลจากท่านผู่เฒ่านะคะ ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่า ถ้าไม่ได้รับอนุญาติ ก็ไม่สามารถรับเข้าทำงานได้ใช่มั้ยคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น soft วันที่ตอบ 2009-07-04 09:23:52 IP : 115.67.25.155


ความคิดเห็นที่ 3 (3165111)

รับเข้าทำงานได้นะคะ..แค่ทำเรื่องขอนุญาตออกนอกเขตที่พักอาศัยมาทำงาน..ทางอำเภอจะออกหนังสืออนุญาตให้ แล้วเอาหนังสือนั้นมาแจ้งที่เจ้าหน้าที่พื้นที่ที่เข้าทำงานก็เป็นการเรียบร้อย

ถ้าจำไม่ผิด แต่งงานแล้วถ้าสามีเป็นคนมีสัญชาติ ภรรยาก็มีสิทธิได้รับสัญชาติตามและลูกก็ได้รับสัญชาติด้วยหลังจากจดทะเบียนสมรสค่ะ..

 

ผู้แสดงความคิดเห็น suda วันที่ตอบ 2010-03-25 11:53:56 IP : 203.153.189.67



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.