ReadyPlanet.com


สิทธิเก็บกิน พินัยกรรม ช่วยตอบหน่อยครับ


เรื่องคือตอนนี้ผมมี อาคารพานิชย์อยู่2ตึก และมีแม่ผมเป็นผู้เก็บกิน ซื่งผมกะไว้ว่าหลังนึงจะให้แม่ อีกหลังจะให้ลูกชายผม แต่เพราะ2คนนี้ไม่ค่อยถูกกันนัก และจากคำยุยงของญาติๆสัมภเวสีของผม ท่านจึงไม่ยอมให้ผมโอนให้ลูก

ซ้ำร้ายยังเอา ฉโนด และ เอกสารการก่อสร้างตึก ไปซ่อน[ตัวฉโนดผมไปทำมาใหม่แล้ว] ผมจึงอยากถามว่า

1 ผมสามารถทำ พินัยกรรมให้ลูกใด้ใหม ทั้งที่ยังมีสิธิเก็บกินอยู่

2 พินัยกรรมแบใหนที่จะ ให้สิทธิบังคับใช้ใด้เต็มที่ [พวกญาติพี่น้องผมคงงี่เง่าน่าดูตอนผมตายเพราะกะไม่ให้ซักบาท] ทรัพย์สินส่วนใหญ่จะเป็นบ้านและที่ดิน

3 เอกสารการก่อสร้าง ซื้อขายจะ มีผลอะไรในการครอบครองที่ดิน หรือทะเบียนบ้านใหม ประมาณว่า

เป็นเจ้าของที่ดินอย่างเดียว แต่ตึกแม่ผมดันไปยกให้คนอื่น ทำให้มีปัญหาภายหลังใด้ใหมครับ

ที่มาถามนี่ก็เพราะสุขภาพผมไม่ค่อยดีมีโอกาศสูงที่จะตายก่อนแม่ ตอนนี้ก็ปวดหัวเรื่องนี้มา2-3ปีและครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ชัยวัฒน์ :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-24 13:34:12 IP : 58.9.172.152


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3043060)

1.สามารถทำพินัยกรรมยกให้บุตรได้  เพราะคุณเป็นเจ้าของทรัพย์

2. ทำแบบเอกสารฝ่ายเมือง  ไปติดต่อเจ้าหน้าที่อำเภอ  จะมีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำ    พินัยกรรมแบบนี้น่าจะถูกโต้แย้งได้น้อยที่สุดครับ

3. เอกสารในการก่อสร้าง    น่าจะไม่มีผลในการทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินถูกริดรอนลง     เมื่อในเอกสารสิทธิ์ระบุว่าคุณเป็นเพียงเจ้าของที่ดิน   และแม่มีสิทธิอาศัยบนที่ดิน   ก็ย่อมเป็นไปตามที่ระบุไว้  คือคุณเป็นเพียงเจ้าของที่ดิน  ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง   ถ้าแม่จะยกตึกให้บุคคลอื่นก็ย่อมทำได้    ถ้ามีการกำหนดเวลาสิทธิเหนือพื้นดินไว้    กฎหมายห้ามมีสิทธิอาศัยเกินกว่า  30 ปี  ถ้าไม่กำหนดเวลา   จะบอกยกเลิกเมื่อไรก็ได้   แต่ต้องบอกล่วงหน้าตามสมควร.....หรือสิทธิอาสัยจะกำหนดไว้ตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2009-08-24 15:36:02 IP : 125.26.111.195


ความคิดเห็นที่ 2 (3043614)

ขอบคุณมากครับ

สงสัยอยู่อย่างครับ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด อะไรที่อยู่บนที่ดินของเราก็ต้องเป็นของเรา เมือยกเลิกสิทธิเหนือพื้นดินไปแล้ว ของทุกอย่าทีอยู่บนพื้นดินเราย่อมเป็นเจ้าของ และไม่สามรถรื้อถอนออกไปใด้ใช่ใหมครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชัยวัฒน์ วันที่ตอบ 2009-08-26 10:50:04 IP : 61.90.84.22


ความคิดเห็นที่ 3 (3044120)

-คุณเข้าใจถูกต้อง   เพราะที่ดินเป็นทรัพย์ประธาน   เมื่อคุณเป็นเจ้าของที่ดิน   สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน   คือคุณย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบนั้นๆด้วย   เว้นแต่  จะมีการจดทะเบียนหรือสัญญาระบุชัดเจนว่า  สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น  ก็ย่อมเป็นไปตามที่ระบุไว้     ถ้าไม่มีการระบุเรื่องสิ่งปลูกสร้างไว้ว่าเป็นของผู้อื่น    คุณย่อมมีกรรมสิทธิ์ทั้งหมดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2009-08-27 16:03:08 IP : 125.26.108.151


ความคิดเห็นที่ 4 (3240969)

  นาย ก เป็นชาวต่างชาติได้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินไว้กับนาง ข  ผู้หญิงไทยและอาศัยอยู่ดว้ยกัน  5 ปี โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  จากนั้นได้เลิกกันและ นาง ข ได้ฟ้องศาลขับไล่นาย ก   แต่ นาย ก เป็นผู้จ่ายเงินทั้งหมดในการซื้อที่ดิน รวมทั้งบ้านและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ประมาณ 4,000,000 บาท โดยโฉนดเป็นชื่อนาง ข  และนาย ก มีหลักฐานและบิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง   ผลการขึ้นศาลนาง ข ยอมความให้นาย ก อาศัยอยู่และจ่ายเงินให้แก่นาง ข จำนวนหนึ่ง  นาง ข สัญญาว่าจะไม่เข้ามารบกวนการถือเอาประโยชน์ผู้ทรงสิทธิเก็บกินของนาย ก  ต่อมานาย ก ต้องการให้นาย  ง  เช่าบ้านเป็นเวลา 30 ปี เจ้าหน้าที่บอกต้องนำโฉนดมายื่นขอคำร้อง แต่ว่าโฉนดที่ดินนาง ข ได้นำไปด้วยและไม่สามารถติดต่อได้เลยไม่ได้จดทะเบียนเช่า   ต่อมานาย  ก ได้ให้นาย ง เช่าเป็นรายปีและนาย ก ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดที่อยู่ในบ้านรวมทั้งบ้านที่อยู่บนโฉนดที่ดินนาง ข ให้กับนาง จ  ผู้หญิงไทยซึ่งนาย ก ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ดว้ยโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ดิฉันอยากทราบว่า เมื่อนาย ก  ตายไป พินัยกรรมจะมีผลอย่างไรบ้าง  และนาง จ จะได้รับทรัพย์สินอะไรของนาย ก ไหม

 

ขอขอบพระคุณที่ตอบให้กระจ่างค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ด้อยความรู้ วันที่ตอบ 2011-03-24 17:48:29 IP : 125.26.181.4



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.