ReadyPlanet.com


ปรึกษาค่ะ


กรณีค้ำประกันเงินกู้สหกรณ์แล้วผู้กู้เสียชีวิต เราในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหรือไม่ ในกรณีผู้ตายมีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และทายาทได้รับเงินส่วนนี้ไปแล้ว

1. เราในฐานะผู้ค้ำประกันต้องใช้หนี้แทนให้สหกรณ์หรือไม่
2. ในสัญญากู้เงินระบุให้สหกรณ์สามารถฟ้องเราได้ ซึ่งเราต้องไปฟ้องทายาทผู้ตายอีกทอดหนึ่งหรือสหกรณ์สามารถฟ้องทายาทผู้ยายเป็นจำเลยร่วม
3. สหกรณ์สามารถดำเนินการฟ้องทายาทโดยตรงได้หรือไม่
4. ความรับผิดชอบของทรัพย์มรดกนั้นจะต้องจ่ายให้กับลูกหนี้รายใดก่อน กรณีมีลูกหนี้หลายราย เช่น
หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเราค้ำประกันอยู่ หนี้ของหน่วยงาน หนี้ส่วนบุคคล
5. ในกรณีทายาทยินยอมรับภาระหนี้สิ้นนั้น ผู้ใดต้องรับหน้าที่ไปทำความตกลงกับทายาท สหกรณ์หรือผู้ค้ำประกัน



ผู้ตั้งกระทู้ เค้ก :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-31 16:03:14 IP : 203.146.104.35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3045362)

1.อาจต้องร่วมรับผิดในหนี้  ถ้าเจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกร้องจากลูกหนี้หรือทายาทของลูกหนี้ได้

2-3 ก็คงฟ้องทั้งผู้ค้ำฯและทายาทพร้อมกองมรดกของลูกหนี้

4.กรณีมีเจ้าหนี้หลายราย    ถ้ามีการฟ้องร้องให้ชำระหนี้    เจ้าหนี้ผู้ฟ้องย่อมได้รับค่าธรรมเนียมต่างๆในการฟ้องร้องบังคับคดีก่อนเจ้าหนี้รายอื่น   ที่เรียกว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน(ปพพ.ม.253)  และถ้าเป็นเจ้าหนี้จำนองย่อมได้รับชำระหนี้ก่อนรายอื่นๆ.....ถ้าเป็นเจ้าหนี้สามัญเช่นเดียวกัน  จะได้รับการชำระหนี้ตามส่วน  เช่นเป็นหนี้เจ้ารายที่ 1  6,000 บาท  เป็นหนี้เจ้าหนี้รายที่สอง   4,000  บาท   เป็นหนี้เจ้าหนี้รายที่สาม  2,000  บาท.รวมเป็นหนี้ทั้งสิ้น  12,000  บาท ..ถ้ายึดทรัพย์และขายทอดตลาด  และหักค่าใช้จ่ายในฟ้องและการบังคัคดดีแล้วเหลือเงินสุทธิ  6,000  บาท  คือครึ่งหนึ่งของหนี้...เจ้าหนี้รายที่1 ย่อมได้รับชำระหนี้   3,000 บาท  รายที่สองได้   2,000 บาท และรายที่สามได้รับ  1,000 บาทเป็นต้น....

5. คุณผู้ค้ำฯควรเป็นบุคคลสำคัญในการติดตามเรื่องหนี้กับทายาท  และกองมรดก  ถ้านิ่งเฉยคงไม่พ้นต้องรับผิดในหนี้ที่ค้ำประกันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2009-08-31 19:23:49 IP : 125.26.110.35


ความคิดเห็นที่ 2 (3045375)

-ขอเพิ่มเติมลำดับการใช้หนี้ตาม ม. 253  คือ 

1.  ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อัรนร่วมกัน  ดังที่กล่าวข้างต้น

2.  ค่าปลงศพ   ไม่ได้บอกไว้   เพราะกรณีนี้ลูกหนี้เสียชีวิต   ก็สามารถหักใช้หนี้ค่าปลงได้ตามควรแก่ฐานะ

3.ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ...ในฐานะที่ลูกหนี้เป็นนายจ้าง

4.  ค่าอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจะวัน  นับถอยหลังไป  6 เดือน  เช่น  ค่าอาหาร เครื่องดื่ม   โคมไฟ  ฟืน  ถ่าน(ม258)

-เมื่อใช้หนี้ตามลำดับ1-4   แล้วจึงนำมาแบ่งเฉลี่ยเจ้าหนี้ดังกล่าวข้างต้นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2009-08-31 19:59:25 IP : 125.26.110.35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.