ReadyPlanet.com


การจัดการมรดกบ้านและที่ดิน


การจัดการมรดกบ้านและที่ดิน


ปี 2539 - แม่เสียชีวิต  โดยมีทรัพย์มรดกคือ บ้านพร้อมที่ดิน 1 หลัง 

พ่อ - แม่ จดทะเบียนสมรส และมีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย 6 คน
คนที่  1   - ตาย ปี2540 (ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามี  มีบุตร2 คนใช้นามสกุลสามี)

คนที่  2   - ตาย ปี2552 (จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนที่1 มีบุตร 1 คน)

คนที่  3   - ตาย ปี2544 (ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยา  มีบุตร1 คน)

คนที่  4   - ยังมีชีวิตอยู่

คนที่  5   - ยังมีชีวิตอยู่

คนที่  6   - ยังมีชีวิตอยู่

ปัจจุบันมีผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ 4 คน คือ  พ่อ และบุตรคนที่ 4, 5, 6

 

- พ่อกับบุตรคนที่ 5 อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มาตลอด ส่วนพี่น้องคนอื่นๆแยกไปมีครอบครัวกันนานแล้วตั้งแต่พ่อยังมีชีวิตอยู่

- ประเด็นคือ พ่อแม่ และพี่น้องทุกคนเมื่อครั้งยังมีชีวิตได้ตกลงกันแล้วว่า จะโอนบ้านหลังนี้ให้บุตรคนที่ 5  แต่ยังไม่ได้ไปโอนกันเลยจนถึงปัจจุบันนี้  ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ภรรยาและลูกของพี่คนที่ 2 ไม่ยินยอม โดยจะขอมีส่วนแบ่งด้วย

จึงขอเรียนคำถามดังนี้ครับ

1. ตามกฎหมายที่บอกไว้ว่า
ถ้าลูกคนใดตายไปก่อนเจ้ามรดก และลูกคนนั้นมีลูก หรือมีหลาน  ก็จะรับมรดกแทนที่พ่อของตนได้   แต่ในกรณีนี้ พี่ทั้ง 3 คน เสียชีวิตไปหลังแม่(เจ้ามรดก) อยากทราบว่า ลูกของพี่ทั้ง 3 คนนั้น จะมารับมรดกแทนได้หรือไม่  และภรรยา(ที่จดทะเบียนสมรส)จะมีสิทธิด้วยหรือไม่

2. จากข้อ 1. ถ้าลูกมีสิทธิมารับมรดกแทนได้จริงนั้น  อยากขอเรียนถามแยกเป็น 2 กรณีดังนี้ครับ
 
  2.1  กรณีที่ทายาททุกๆคนตกลงกันได้ด้วยดี คือจะโอนมรดกบ้านให้ บุตรคนที่ 5
         1
) ถ้าไปโอนบ้านโดยตรงที่ สำนักงานที่ดิน
           - ทายาททุกคนต้องไปด้วยตนเอง และต้องไปพร้อมกันหรือไม่  จะไปคนละวัน เวลาได้หรือไม่
           - ทายาทบางคนที่ไม่สะดวก  จะทำหนังสือสละมรดก หรือหนังสือมอบอำนาจให้ทายาทอีกคนมาแทนได้
             หรือไม่  
         2
) ถ้าใช้วิธีแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
           - หลังจากศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผจก.มรดกแล้ว จะให้ผจก.มรดกโอนบ้านให้บุตรคนที่ 5 เลยได้
             หรือไม่  หรือยังจะต้องให้ทายาททุกคนลงชื่อยินยอมก่อนจึงจะโอนได้
          3
) จาก2วิธีข้างต้น วิธีไหนสะดวก และประหยัดค่าใช้จ่ายกว่ากันครับ

    2.2 กรณีที่ทายาททุกคนตกลงโอนมรดกบ้านให้บุตรคนที่ 5  แต่ลูกของพี่คนที่ 2 ไม่ยินยอม
         1
) ถ้าไปโอนบ้านโดยตรง ที่สำนักงานที่ดิน
           - ถ้าทายาททุกคนได้แจ้งวันเวลาให้ลูกของพี่คนที่ 2 มาโอน แต่เค้าไม่ยอมมา และทายาททุกคนนั้นก็ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ฯ ทราบว่า
มีทายาทไม่มา 1 คน และทายาทคนนี้เป็นลูกของพี่คนที่ 2 ที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งตอนที่พี่ชายคนนี้ยังมีชีวิตอยู่ได้เคยบอกทายาททุกคนไว้ว่า จะยกบ้านให้น้องคนที่ 5 นั้น
อยากทราบว่า จำนวนทายาทซึ่งเป็นเสียงข้างมาก และเจตนาของพี่ชายที่ต้องการยกบ้านให้น้องคนเล็กนี้ จะมีน้ำหนักพอที่จะให้เจ้าหน้าที่ฯ พิจารณา และจะจดทะเบียนโอนบ้านให้หรือไม่
          - หรือถ้าทายาททุกคนแจ้งเจ้าหน้าที่สนง.ที่ดินว่า พี่คนที่ 2 ที่เสียชีวิตไปแล้วนั้น ไม่มีบุตร เจ้าหน้าที่จะยอมจดทะเบียนโอนให้หรือไม่ 

      
          2
) ถ้าใช้วิธีแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
           - ถ้าจะให้ผจก.มรดกโอนบ้านให้น้องคนที่ 5 โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกของพี่คนที่ 2 ทราบก่อน จะได้หรือไม่ 

3. จากข้อ 2.2 (1) กรณีที่ทายาททุกคนไปโอนที่สนง.ที่ดินโดยตรง โดยไม่บอกให้ลูกของพี่คนที่ 2 ทราบนั้น
ถ้าในภายหลังลูกของพี่ชายไปฟ้องศาล ขอให้การโอนครั้งนี้เป็นโมฆะ ให้แบ่งมรดกใหม่ หรือให้กำจัดทายาททุกคนนั้น จะทำได้หรือไม่
   เนื่องจาก

  1) ลูกพี่ชายฟ้องเกินอายุความ 10 ปี  (ตอนนี้ 13 ปีมาแล้ว )
  2) ทายาท (ลูกพี่ชาย) ผู้ที่ไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้น เมื่อ
       ล่วงพ้นกำหนดอายุความ
1 ปีไม่ได้  
  3)
น้องคน 5 ควรจะได้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินแปลงนี้อยู่แล้ว เพราะได้ครอบครองปรปักษ์มาเกินกว่า 10 ปี  
       แล้ว
 
(บ้านหลังนี้ มีพ่อกับน้องคนเล็กเท่านั้นที่อยู่มาตั้งแต่แม่ยังมีชีวิตจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนลูกของพี่คนที่2นี้
       อยู่คนละจังหวัด ไม่เคยมาอยู่ และไม่เคยมีชื่อในทะเบียนบ้านนี้ด้วย)

4. จากข้อ 3.2 (2) กรณีที่ทายาททุกคนแต่งตั้งผจก.มรดกแล้วให้ผจก.มรดกโอนบ้านให้น้องคนเล็ก โดยไม่บอกให้ลูกของพี่ชายคนที่ 2 ทราบนั้ 
ถ้าในภายหลังลูกของพี่ชายไปฟ้องศาล ขอให้ถอดถอนผู้จัดการมรดก ให้แบ่งมรดกใหม่ หรือให้กำจัดทายาททุกคนนั้น จะทำได้หรือไม่ 
และถ้า
เค้าจะฟ้องโดยใช้เรื่องคดีการจัดการมรดกมีอายุความ 5 ปี มาเป็นเหตุผลในการฟ้องจะทำได้หรือไม่ครับ    
 

ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ธนากร :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-11 13:09:26 IP : 118.174.1.170


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3136975)

-ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกนี้คือ   พ่อ   บุตรคนที่ 4,5,6 และ บุตรของพี่คนที่สอง (รับมรดกแทนที่) ส่วนภรรยาของเขาไม่มีสิทธิ

-การแบ่งมรดกที่สะดวกที่สุดคือ   ให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก  ร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก  และแบ่งทายาทที่สิทธิทุกคน.....  ปัญหาคือบุตรของพี่คนที่สองเขาไม่ยินยอม    ถ้าโอนให้บุตรคนที่ 5  โดยเขาไม่ยินยอม   อาจมีการฟ้องร้อง ถอดถอนผู้จัดการมรดก  ซึ่งคงมีผปัญหายุ่งยากตามมาแน่นอน....

-บุตรคนที่ 5  คงอ้างการครอบปรปักษ์ขึ้นต่อสู้ไม่ได้  เพราะถือว่าถือสิทธิแทนทายาท

ทางออก...แบ่งตามกฎหมาย  ตัวอย่าง..บ้านและที่ดินราคา  1 ล้านบ้าน   พ่อรับไปก่อน  5  แสนบาท  อีก  5 แสนบาท ทายาท 5 คน(พ่อ-บุตรคนที่ 4,5,6 และบุตรพี่คนที่สอง) แบ่งคนละเท่าๆกัน  ได้คนละ  1 แสนบาท  ในเมื่อทายาทส่วนใหญ่เจตนา จะโอนให้บุตรคนที่ 5  ก็สามารถทำได้  คือส่วนของ พ่อ   บุตร คนที่ 4,5,6  รวมกัน  9  แสนบาท  ก็โอนส่วนนี้ให้บุตร  คนที่ 5 ผู้เดืยว  บุตรของพี่คนที่สอง เขารับไปเพียง  1  แสนบาท...ก็สามารถเจรจาขอซื้อจากเขา  หรือแบ่งแบ่งปันให้เขาในส่วนที่เล็กน้อย  น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ.....

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2009-12-12 08:54:56 IP : 125.26.108.195


ความคิดเห็นที่ 2 (3137076)

เรื่องนี้ผ่านมา 12-13 ปี ซึ่งเลยอายุความคดีมรดก 10 ปี มาแล้ว
ลูกของพี่คนที่ 2 ยังมีสิทธิจะมาฟ้องอีกหรือครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนากร วันที่ตอบ 2009-12-12 17:53:02 IP : 118.174.45.225


ความคิดเห็นที่ 3 (3137225)

-ถ้าว่ากันตาม  ปพพ.ม.1754   ก็น่าจะขาดอายุความฟ้องร้องเพราะเกิน  10  ปี  แต่...บางทีก็เป็นปัญหาข้อกฎหมาย    อาจจะไม่ขาดอายุความก็เป็นได้    ซึ่งก็คงยุ่งยากถ้ามีการฟ้องร้องเกิดชึ้น    จึงแนะนำให้ใช้การประนีประนอมแบ่งปันกัน  เพื่อหลีกเลี่ยงการฟ้องศาล.....ขอยกฎีกาเกี่ยวกับอายุความมาให้คุณพิจารณาครับ...

คำพิพากษาที่ 4116/2550

คำพิพากษาที่ 4116/2550

แจ้งแก้ไขข้อมูล

โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ตามคำสั่งศาล อ้างว่าจำเลยจัดการมรดกโดยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งมรดกไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง เมื่อยังมีทรัพย์มรดกที่จำเลยจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง จึงยังไม่เริ่มนับอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าว และโดยเหตุที่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 ในลักษณะตัวการตัวแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812, 819 และมาตรา 823 การที่จำเลยครอบครองที่ดินซึ่งมีส่วนเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทหาได้ไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2009-12-13 12:22:38 IP : 125.26.107.4


ความคิดเห็นที่ 4 (3984652)

 คือในกรณีที่มรดกบ้านเป็นชื้อแม่  แม่ พ่อได้เสียชีวิตปีได้5ปีแล้ว  แม่มีลูก5คน  ลูกแต่ลูกอีก4คนได้มีบ้านเป็นของตัวเองแล้วและมีครอบครัวไปแล้ว  เมื่อแม่เสียลูกคนที่5ก็ได้ขึ้นเป็นเจ้าบ้าน และมีพี่คนที่2ได้ย้ายกลับมาเป็นผู้อาศัย คือลูกคนที่5จะทำบ้านใหม่แต่กลัวว่าจะมีปัณหากับพี่ๆ  เค้าได้บอกว่าบ้านหลังนี้เป็นบ้านแม่ทุกคนจะต้องได้ส่วนแบ่งทุกคน  แต่ลูกคนที่5ได้ทำบ้านใหม่ไปแล้ว อย่างนี้ลูก4คนจะมีส่วนแบ่งไหมและเค้าจะฟ้องได้หรือเปล่าค่ะ  บ้านตอนนี้เป็นของไครได้บางค่ะ ช้วยตอบที่ค่ะ  ขอบคุณมากๆค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Kook (Kulvalee1986-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-04-18 16:11:22 IP : 49.48.247.189



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.