ReadyPlanet.com


อาศัยอยู่บ้านบนที่ดินมรดกมีหนังสือ น.ส.3 มา59ปี สามารถใช้สิทธิครอบครองได้หรือไม่


 

เรียนปรึกษาท่านอีกสักครั้งค่ะ (มีข้อมูลละเอียดกว่าครั้งที่แล้ว)

หนูอยากสร้างบ้านใหม่ให้แม่แต่กลัวอนาคตจะโดนไล่ที่

เรื่องคือ ที่ดินของบ้านหลังนี้ยังไม่มีโฉนด หนูจึงไม่กล้ารื้อหรือสร้างบ้านใหม่ เพราะยังไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของที่แท้จริงจึงสอบถามความเป็นมาของที่ดินผืนนี้จากแม่และน้าคนอื่นๆรวมทั้งยายของหนู ได้ความว่าบ้านที่หนูอยู่ปัจจุบันนี้และที่ดินเปล่าข้างๆเป็นมรดกตกทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นยาย(ยายคือมารดาของแม่หนูยายมอบบ้านพร้อมที่ดินให้แม่หนูอยู่ ส่วนที่เปล่าข้างๆยายมอบให้น้าคือลูก4คนลำดับถัดไปอย่างเท่าเทียมกัน ตากับยายมีลูกทั้งหมด8คน ลูกๆยังมีชีวิตอยู่ทุกคน  (ยายพึ่งเสียชีวิตเมื่อเดือน .. 2562 ส่วนตาเสียชีวิต ..2547 ค่ะ)แม่เป็นลูกคนที่ซึ่งหลังจากแบ่งสรรปันส่วนที่ดินผืนนี้ก็มีน้าบางคนมาสร้างบ้านหลังเล็กๆจับจองที่ดินไว้เรียบร้อย ที่ดินผืนนี้ยายมอบให้ลูกทั้ง5คนแบบปากเปล่า ส่วนป้าคนโตทั้ง3คนไม่ได้ส่วนแบ่งจากที่ดินผืนนี้เพราะได้รับที่ดินและที่นาบริเวณหมู่บ้านอื่นกันแล้ว และป้าทั้ง3คนได้สัญญาแบบปากเปล่ากับตายายว่าไม่ขอมีส่วนแบ่งจากที่ดินผืนนี้เพราะพวกตนได้รับมรดกมากกว่าน้องทั้ง5คนแล้วและที่ดินผืนนี้ก็มีเนื้อที่2ไร่กว่าๆไม่มากมายอะไร

ส่วนที่แม่หนูได้บ้านหลังนี้พร้อมที่ดินเพราะแม่เป็นคนอยู่ดูแลตากับยายของหนูมาตลอดจนท่านเสียชีวิต 

ทีนี้หนูอยากรื้อบ้านหลังนี้แล้วสร้างหลังใหม่ให้เหลือชั้นเดียวเพราะบ้าน2ชั้นหลังที่ว่า อยู่มายาวนานค่อนข้างพุพังมากๆกลัวจะถล่มเป็นอันตรายกับพ่อแม่ หนูเลยปรึกษาป้า(ลูกคนโตของตายาย)ว่าอยากได้โฉนดที่ดินให้เป็นกิจลักษณะ เพราะหนูเป็นลูกคนเดียว อยากมีบ้านที่มั่นคงไม่อยากมีปัญหาทีหลัง ป้าซึ่งเป็นลูกคนโตของยายจึงเล่าความเป็นมาของที่ดินผืนนี้ แต่เดิมเป็นที่ดินของตาทวด(ตาทวดคือสามีใหม่ของแม่ของยายหนูซึ่งตอนตาทวดมีชีวิตอยู่ตาทวดมีลูกติดอยู่แล้ว(แต่ตอนนี้ป้าไม่รู้ว่าลูกๆของตาทวดเขาไปอยู่ไหนตาทวดได้หย่าร้างกับภรรยาแล้วมาอยู่กับยายทวดซึ่งยายทวด(ยายทวดคือแม่ของยายหนู)ก็มีลูกติดกับสามีเก่าเหมือนกันคือยายของหนู  ตาทวดมาอยู่กับยายทวด จนยายของหนูโตแล้วแต่งงานกับตามีลูกด้วยกัน8คน ตาทวดกับยายทวดเป็นคนช่วยเลี้ยงลูกคนโตทั้ง3คนของตากับยายจนเติบโต ก่อนที่ตาทวดจะเสียชีวิต จึงได้เขียนพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตาทวดรวมถึงที่นาของตาทวดที่มีอยู่ให้กับป้าทั้ง3คน แต่ป้าบอกว่าตาทวดไม่ได้เขียนระบุเจาะจงที่ดินผืนนี้ในพินัยกรรมแต่บอกเชิงมอบทรัพย์สินของตาทวดโดยรวมให้ป้าทั้ง3คน ***ซึ่งแม่ของหนูยังไม่เห็นพินัยกรรมฉบับนี้ค่ะ แต่ถ้าขอดูพินัยกรรมฉบับนี้ป้าคนโตก็จะพูดบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้ดู ก่อนหน้านี้แม่ก็ได้พยายามขอดูพินัยกรรมจากป้ามาตลอด แต่ป้าพยายามบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอดเช่นกันและถ้าแม่บอกกับป้าว่าอยากสร้างบ้านใหม่ ป้าคนโตมักจะบอกแม่ว่าให้สร้างพออยู่ไปก่อนได้ไหม ไม่ต้องขอทำโฉนดหรอกเพราะกลัวทางฝั่งลูกติดของตาทวดจะรู้ แล้วเขาจะมาฟ้องเอาที่ดินแปลงนี้ได้ เพราะในพินัยกรรมไม่ได้ระบุเจาะจงว่ามอบที่ดินแปลงนี้ให้ป้าและตาทวดมีทายาททางสายเลือดเขาสามารถมาฟ้องเอาที่ดินผืนนี้ได้ 

และวันนี้หนูพึ่งทราบจากน้าว่าที่ดินผืนนี้มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ .. 3 ฉบับผู้เป็นเจ้าของที่ดินเป็นชื่อของตาทวด และน้าได้ส่งรูปสำเนาให้ดู (น้ามีสำเนาเก็บไว้เพราะป้าเคยใช้น้าไปถ่ายเอกสารเมื่อดูรูปที่ดินใน ..3 ก็คับคล้ายว่าจะเป็นที่ดินผืนนี้ แต่ด้านทิศตะวันออกของที่ดินติดถนนใหญ่ (ปัจจุบันเป็นทาง4เลนแล้ว)แต่ใน ..3ไม่เขียนระบุไว้และขีดละ ในเอกสารระบุเนื่อที่โดยประมาณว่า 1ไร่69วา แต่ลูกทุกคนจะบอกว่าที่ดินผืนนี้น่าจะ 2 ไร่กว่าๆ 

มีแค่ข้อความระบุที่ดินตั้งอยู่นั้นที่ตรงกับบ้านเลขที่หลังนี้ที่แม่หนูอยู่ค่ะ ซึ่งในทะเบียนบ้านเลขที่นี้ ปัจจุบัน ชื่อลำดับที่คือ ยายของหนู (เสียชีวิตแล้วลำดับที่คือแม่ของหนู ลำดับคือ น้า (ลูกคนที่5ของยาย น้าหย่าร้างกับสามีจึงขอเอาชื่อมาอยู่ในทะเบียนบ้านด้วย)รวมเป็นทั้งหมด3คน หนูจึงสงสัยว่า เอกสาร .น่าจะแสดงถึงที่ดินผืนนี้จริงแต่อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดค่ะ(แค่สงสัย)

บางวันหนูปรึกษาเรื่องนี้กับป้า ป้าเหมือนจะให้ความร่วมมือ บอกว่าถ้าอยากได้โฉนดจริงๆให้แม่หนูเป็นคนดำเนินการรวมถึงออกค่าใช้จ่ายเอง ส่วนน้าคนอื่นๆให้ความร่วมมือดีเพราะอยากให้ที่นี้มีโฉนดจะได้แบ่งสรรปันส่วนกันจะได้มีที่ดินให้ลูกหลานของน้าแต่ละคนทำกินอย่างถูกต้องและมั่นคงต่อไป  พอช่วงนี้ขอปรึกษาเรื่องนี้กับป้าอีกเพื่อที่จะได้เริ่มดำเนินการ คาดว่าคงจะไปสำนักงานที่ดินจังหวัดให้ช่วยชี้แนะแนวทางว่าจะออกโฉนดที่ดินอย่างไร ป้าแต่ละคนก็พยายามบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้ดูพินัยกรรมและเอกสารน..3  วันนี้จึงปรึกษาแม่และน้า ได้ข้อตกลงกันว่าจะขอดูและถ่ายสำเนาพินัยกรรมและเอกสารน..3 จากป้าอีกครั้ง ถ้าป้ายังบ่ายเบี่ยงไม่ให้ดู คงต้องไปขอให้อัยการจังหวัดท่านช่วยจะได้ไหมคะหรือหนูควรทำอย่างไร แม่หนูรักและอยากรักษาที่ดินผืนนี้ไว้เพราะเป็นมรดกจากพ่อแม่ที่มอบให้ท่านมา ไม่อยากให้ตกอยู่ในมือคนอื่นหรือต้องขายให้คนอื่นค่ะ

หนูจึงขอปรึกษานะคะว่า

  • แม่ของหนูอยู่ที่ดินผืนนี้และบ้านหลังนี้มาตั้งแต่ท่านเกิดจนถึงปัจจุบัน (แม่อายุ59ปี ส่วนหนูอายุ26ปี)ไม่เคยมีปัญหากับญาติพี่น้องหรือย้ายไปอยู่ที่อื่น เพื่อนบ้านและคนในหมู่บ้านเข้าใจว่าบ้านหลังนี้เป็นของแม่หนูมาโดยตลอด แม่หนูจะมีสิทธิ์ครอบครองบ้านหลังนี้ไหมคะ
  • เคยถามทนายท่านหนึ่ง ท่านบอกว่าถ้าพินัยกรรมระบุไว้ว่ายกให้ใคร คนนั้นย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดิน แต่ป้าไม่ยอมให้ดูพินัยกรรมเลย จึงไม่ทราบว่าตาทวดเขียนระบุอะไรไว้บ้าง พอจะมีแนวทางที่จะช่วยให้แม่และน้าๆของหนูมีสิทธิครอบครองที่ดินโดยไม่ต้องโอนให้ป้าก่อนไหมคะ เพราะทางแม่และน้าๆก็กลัวและกังวลเป็นอย่างมากว่าป้าจะไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะไม่ขอมีส่วนแบ่งที่ดินผืนนี้ค่ะ เนื่องจากป้าทั้ง3คน ต่างคนต่างขายที่ดินมรดกที่พวกตนได้รับไปเกือบหมดแล้ว
  • หรือต่อให้ตาทวดเขียนพินัยกรรมระบุยกที่ดินแปลงนี้ให้ป้าทั้ง3คน แม่ของหนูสามารถใช้สิทธิครอบครองบ้านหลังนี้มาต่อเนื่องจนตอนนี้แม่อายุ59ปีได้ไหมคะ แล้วถ้าป้าบริสุทธิ์ใจที่จะไม่ขอมีส่วนแบ่งก็ไม่ต้องไปฟ้องเรียกคืนแบบนี้ได้ไหมคะ
  • ถ้าขอออกโฉนดที่ดิน ลูกติดของตาทวดจะมีสิทธิฟ้องร้องเราได้ด้วยหรือคะ
  • ถ้าแม่หนูและน้าพอจะมีแนวทางออกโฉนดที่ดินได้ หนูต้องเริ่มดำเนินการจากขั้นตอนใดก่อนคะ ต้องไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือติดต่อที่สำนักงานอัยการก่อนคะ และใช้หลักฐานอะไรบ้าง
  • หนูพยายามศึกษาเรื่องกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับที่ดินมรดกมาตลอด แต่หนูยังไม่ค่อยเข้าใจหลายเรื่องเลยค่ะ

 

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ จิตลดา :: วันที่ลงประกาศ 2020-05-24 14:55:50 IP : 27.55.69.203


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4378261)

 สิทธิครอบครอง


      จากข้อเท็จจริง   ถ้าใช้ช่องทางการรับมรดก น่าจะยุ่งยาก  เพราะมีทายาทมากมายหลายชั้น....ถ้าคุณแม่ของคุณเป็นบุตรของคุณยาย  ที่เป็นลูกติดของสามีเก่า  เมื่อตาทวดตาย  แม่จึงไม่มีสิทธิ์รับมรดกของตาทวด  เพราะไม่ใช่ทายาท โดยธรรม ในเมื่อคุณแม่ใช้สิทธิครอบครองที่ดินแปลงนี้ ในฐานะเจ้าของเกินหนึ่งปี  แม่จึงอ้างสิทธิครอบครองที่ดีกว่า  ใช้ยันทายาทของตาทวดได้....

 

  • แม่ของหนูอยู่ที่ดินผืนนี้และบ้านหลังนี้มาตั้งแต่ท่านเกิดจนถึงปัจจุบัน (แม่อายุ59ปี ส่วนหนูอายุ26ปี)ไม่เคยมีปัญหากับญาติพี่น้องหรือย้ายไปอยู่ที่อื่น เพื่อนบ้านและคนในหมู่บ้านเข้าใจว่าบ้านหลังนี้เป็นของแม่หนูมาโดยตลอด แม่หนูจะมีสิทธิ์ครอบครองบ้านหลังนี้ไหมคะ

  ตอบ..แม่สามารถอ้างสิทธิครอบครองได้ ตามความเห็นข้างต้น

  • เคยถามทนายท่านหนึ่ง ท่านบอกว่าถ้าพินัยกรรมระบุไว้ว่ายกให้ใคร คนนั้นย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดิน แต่ป้าไม่ยอมให้ดูพินัยกรรมเลย จึงไม่ทราบว่าตาทวดเขียนระบุอะไรไว้บ้าง พอจะมีแนวทางที่จะช่วยให้แม่และน้าๆของหนูมีสิทธิครอบครองที่ดินโดยไม่ต้องโอนให้ป้าก่อนไหมคะ เพราะทางแม่และน้าๆก็กลัวและกังวลเป็นอย่างมากว่าป้าจะไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะไม่ขอมีส่วนแบ่งที่ดินผืนนี้ค่ะ เนื่องจากป้าทั้ง3คน ต่างคนต่างขายที่ดินมรดกที่พวกตนได้รับไปเกือบหมดแล้ว

  ตอบ..ถ้าพินัยกรรมมีอยู่จริง  ก็เป็นไปตามที่ทนายเขาบอก  แม้พินัยกรรมจะมีอยู่จริง  แต่ป้าผู้รับมรดกตามพินัยกรรม  ไม่จัดการมรดกตามพินัยกรรม และไม่เคยครอบครองที่ดิน ปล่อยไว้เนิ่นนานเกินควร  ถ้าแม่ครอบครองที่ดินในฐานะเจ้าของ  ก็อ้างสิทธิครอบครองใช้ยันป้า ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมได้

  • หรือต่อให้ตาทวดเขียนพินัยกรรมระบุยกที่ดินแปลงนี้ให้ป้าทั้ง3คน แม่ของหนูสามารถใช้สิทธิครอบครองบ้านหลังนี้มาต่อเนื่องจนตอนนี้แม่อายุ59ปีได้ไหมคะ แล้วถ้าป้าบริสุทธิ์ใจที่จะไม่ขอมีส่วนแบ่งก็ไม่ต้องไปฟ้องเรียกคืนแบบนี้ได้ไหมคะ
  • ตอบ...เรื่องฟ้อง  คงไปห้ามใครไม่ได้  แต่ตามข้อเท็จจริง  แม่น่าจะมีสิทธิดีกว่า  
  • ถ้าขอออกโฉนดที่ดิน ลูกติดของตาทวดจะมีสิทธิฟ้องร้องเราได้ด้วยหรือคะ
  • ตอบ...ถ้าแม่มีสิทธิครอบครองย่อมใช้ยันทายาทของตาทวดได้ทุกๆคน
  • ถ้าแม่หนูและน้าพอจะมีแนวทางออกโฉนดที่ดินได้ หนูต้องเริ่มดำเนินการจากขั้นตอนใดก่อนคะ ต้องไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือติดต่อที่สำนักงานอัยการก่อนคะ และใช้หลักฐานอะไรบ้าง
  • ตอบ...ขอแนะนำให้ไปขอความช่วยเหลือ จาก อัยการคุ้มครองสิทธิ์ ณ  สนง.อัยการในเขตภูมิลำเนา  เมื่อเล่าข้อเท็จจริงให้ท่านรับทราบอย่างชัดเจน  ต้องมีทางออกเสมอ
  • หนูพยายามศึกษาเรื่องกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับที่ดินมรดกมาตลอด แต่หนูยังไม่ค่อยเข้าใจหลายเรื่องเลยค่ะ
  • ผู้ตอบก็เรียนกฎหมายมาแต่หนุ่มจนแก่ ตอบปัญหากฎหมายผู้คนเป็นหมื่นเรื่อง   แต่หลายเรื่องก็ยังมีข้อสงสัยอยู่เช่นกัน  โดยเฉพาะข้อเท็จจริง ต้องชัดเจนและชัดแจ้ง  จึงจะสามารถอธิบายข้อกฎหมายได้ถูกต้องครบถ้วน...

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2020-05-25 08:16:38 IP : 101.51.208.174



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.