ReadyPlanet.com


การแต่งตั้งผู้อนุบาลคนไร้ความสามารถ และการแต่งตั้งผู้พิทักษ์คนเสมือนไร้ความสามารถ


 ทั้ง ผู้อนุบาล และ ผู้พิทักษ์ สามารถขอศาลแต่งตั้ง โดยไม่ให้คู่สมรสรับรู้ ได้หรือไม่

 

ผู้อนุบาล และ ผู้พิทักษ์ สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีใดๆ แทนบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ ป้าสมองเสื่อม :: วันที่ลงประกาศ 2018-12-21 03:45:07 IP : 171.6.197.35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4285862)

บุคคลไร้ความสามารถ

  การร้องศาล ควรให้คู่สมรส ทราบด้วย   ถ้าไม่บอกก่อน  ถ้ามีการยื่นเรื่องคัดค้าน คงมีปัญหา...ถ้าศาลให้ มีผู้อนุบาล หรือมี ผู้พิทักษ์  คงไม่สามารถ ทำการแทน  บุคคลผู้ไร้ความสามารถในทุกกรณี...มีข้อยกเว้น หลายกรณี...

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2018-12-22 07:34:11 IP : 101.51.216.11


ความคิดเห็นที่ 2 (4285863)

 อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ควรอ่านจากตรงไหนดี หรือเป็นมาตรา หรือบทความ ให้ศึกษาพอจะมีไหม

ผู้แสดงความคิดเห็น ป้าสมองเสื่อม วันที่ตอบ 2018-12-22 10:04:54 IP : 171.6.197.35


ความคิดเห็นที่ 3 (4285882)

ข้อมูล...

  อ่านเพิ่มเติม ใน ปพพ. ม.28 - ม.35  และคำพิพากษาศษลฎีกา  ที่เกี่ยวข้อง เช่น...

..ฏีกาที่ 101/2477

 

  ข้อกฎหมายข้อเท็จจริงดุลยพินิจ ปัญหาเถียงว่าฝ่ายใดจะสมควรเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์นั้นเป็นดุลพินิจสืบเนื่องมาแต่ข้อเท็จจริง หาใช่ปัญหาข้อกฎหมายไม่ ป.พ.พ.ม.29-30-34 ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ตามทางกฎหมายและประเพณีภรรยาย่อมดีกว่าผู้อื่นในการอนุบาลหรือพิทักษ์สามีผู้ป่วยเป็นโรคจิตต์ นอกจากจะปรากฎว่าภรรยาเป็นผู้ไม่สมควร

 

...ฎีกาที่ 6350/2541

    แม้ส. ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลงในขณะที่ส.เป็นปกติอยู่ก็ตามแต่ในช่วงระยะเวลาที่ส.จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายนั้นเป็นเวลาภายหลังที่ส. ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574(1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง สัญญาจะซื้อขายเป็นนิติกรรมที่ส. ผู้จะขายเป็นบุคคลวิกลจริตและได้กระทำในขณะที่จริตวิกลอยู่ทั้งจ.ผู้จะซื้อได้รู้แล้วด้วยว่า ส. เป็นคนวิกลจริตนิติกรรมสัญญาจะซื้อขายจึงตกเป็นโมฆียะ แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้นมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทน ส.โดยการไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน และยื่นคำร้องขอ ต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขายแทนส. ซึ่งผู้รับมอบอำนาจของจ. ผู้จะซื้อได้มาแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะซื้อที่ดินทุกแปลง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่ สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ จ. ผู้จะซื้อซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177มีผลผูกพันให้ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญา
 
..ฎีกาที่ 516/2551
 
 
 อำนาจฟ้องในคดีนี้เป็นของโจทก์ซึ่งเกิดจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้างหรือตัวแทนของจำเลย แต่เนื่องจากโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสกายพิการและสมองได้รับการกระทบกระเทือนจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จนถึงวันฟ้อง ว. ภริยาโจทก์จึงฟ้องคดีนี้แทนในนามของโจทก์ซึ่งก็ปรากฏตามคำฟ้องว่า ก่อนฟ้องคดีนี้ ว. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และตั้ง ว. เป็นผู้พิทักษ์ แต่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางยังไม่ได้มีคำสั่ง และต่อมาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีคำสั่งว่า อาการของโจทก์ไม่ใช่เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่เข้าลักษณะบุคคลวิกลจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 28 จึงมีคำสั่งว่า โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของ ว. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นคนวิกลจริตมาตั้งแต่ ว. ยื่นคำร้องขอดังกล่าว ดังนั้น ขณะฟ้องคดีนี้โจทก์จึงเป็นบุคคลวิกลจริตซึ่งถือว่าเป็นผู้ไร้ความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 โจทก์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยต้องมีผู้อนุบาลเป็นผู้ทำการแทน แต่ตอนยื่นฟ้องยังไม่มีคำสั่งศาลตั้ง ว. เป็นผู้อนุบาลโจทก์ ว. จึงไม่มีสิทธิทำการแทนเท่ากับโจทก์เสนอข้อหาเอง อันเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถเท่านั้น มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำสั่งตั้ง ว. เป็นผู้อนุบาลโจทก์ ว. จึงมีอำนาจที่จะทำการแทนโจทก์ในการเสนอข้อหาของโจทก์ได้ การบกพร่องในเรื่องความสามารถนี้แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามมาตรา 56 เมื่อได้แก้ไขโดยร้องขอต่อศาลและศาลมีคำสั่งตั้งให้ ว. เป็นผู้อนุบาลมีอำนาจทำการแทนโจทก์แล้ว เหตุบกพร่องในเรื่องความสามารถก็หมดไป ทำให้การฟ้องคดีแทนโจทก์ที่บกพร่องมาแต่ต้นเป็นอันสมบูรณ์ด้วยการแก้ไขนี้แล้ว
จำเลยทำละเมิดแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสกายพิการ สมองได้รับความกระทบกระเทือนจนศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เสียความสามารถประกอบการงานอย่างสิ้นเชิงทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต้องลาออกจากราชการ แม้โจทก์นำสืบความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ส่วนที่จำเลยอ้างว่าหากไม่เกิดเหตุละเมิดก็ไม่แน่ว่าโจทก์จะรับราชการจนเกษียณหรือไม่ และอาจได้รับเงินบำเหน็จบำนาญนั้น ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับโดยชอบอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย
ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเป็นค่าเครื่องรับโทรทัศน์และตู้เย็นในห้องพักผู้ป่วยเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกอันจำเป็นแก่ผู้ป่วยและคนเฝ้าไข้ ทั้งโรงพยาบาลได้จัดเตรียมไว้ให้ใช้ในห้องอยู่แล้ว ถือเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่โจทก์ต้องเสียไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
 
....และหาอ่านเพิ่มเติม ในเน็ต  พิมพ์ว่า "คนไร้ความสามารถ" จะมีข้อมูล ให้ศึกษามากมาย...
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2018-12-23 04:26:52 IP : 1.2.172.230



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.