ReadyPlanet.com


ช่วยตอบหนูหน่อยนะคะ!!!~


1.  นาย   ก.   ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน   กรณี   นาย   ข.   ยักยอกเงินนาย   ก.   ไป 500000   บาท  นาย   ก.   แจ้งกับพนักงาน  สอบสวนว่าวันนี้มาแจ้งความไว้ก่อนเพื่อขอเจรจา
กับนาย   ข.   สักครั้ง  หากตกลงกันไม่ได้ จะดำเนินคดีกับนาย   ข.   ต่อไป   ต่อมาเมื่อนาย   ก.   เจรจากับนาย   ข.   แล้วนาย   ข.   ขอผ่อนชำระหนี้ออกไป   6   เดือน   นาย   ก.   ยินยอม   ต่อมาเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว   นาย   ข.   ไม่ยอมชำระหนี้แก่นาย   ก.   ตามที่ตกลงไว้   นาย   ก.   ขอให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับนาย   ข.   ดังนี้พนักงานสอบสวนมีอำนาจดำเนินคดีกับนาย   ข.   หรือไม่   เพราะเหตุใด???


2.   นาย   ก.   ทำหนังสือมอบอำนาจให้   ข.   ไปร้องทุกข์   ดำเนินคดีกับ   ค.   ข้อหาลักทรัพย์โดยระบุชื่อ   ค.   ในหนังสือมอบอำนาจ   แต่จากการสืบสวนได้ความว่า   ผู้ที่ลักทรัพย์ คือ   
นายดำ   พนักงานตำรวจขอให้ศาลออกหมายจับนาย   ดำ   ได้หรือไม่   เพราะเหตุใด



3.   นาย   ก.   เป็นโจทก์ฟ้องนาย   ข.   ในข้อหา   ยักยอกทรัพย์ของนาย   ก.   ไป  เป็นเงินจำนวน   500000   บาท   ศาลพิพาทษาว่า   นาย   ข.   จำเลยมีความผิด   จำเลยอุทธรณ์ต่อมาจำเลยนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทย์   ดังนี้   โจทก์ถอนฟ้องได้หรือไม่   เพราะเหตุใด??

 



ผู้ตั้งกระทู้ วาสินี คงแคล้ว :: วันที่ลงประกาศ 2010-01-31 20:45:25 IP : 118.174.9.36


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3150472)

 วันนี้มาเเจ้งความไว้ก่อน=การเเจ้งความในวันดังกล่าวไม่ถือเป็นการร้องทุกข์ตามกฏหมายครับ

ปวิอ.มาตรา2(7) คำร้องทุกข์ หมายถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้ทำผิดเกิดขึ้น จะรู้ตัวผู้ทำหรือไม่ก็ตาม และตนประสงค์จะให้นำตัวผู้ทำผิดมาลงโท

อายุความร้องทุกข์ ต้องร้องทุกข์ภายใน3 เดือนนับจากรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้ทำความผิด(ปอ.มาตรา96)

เมื่อไม่มีการร้องทุกข์ตามกฏหมาย ในคดีความผิดต่อส่วนตัว (ยักยอกเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ที่ในปอ.เรียกว่ายอมความได้) พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจสอบสวนได้ครับ(ปวิอ.มาตรา121วรรคสอง)

เมื่อไม่มีการสอบสวน อัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้(ปวิอ.มาตรา120)

 ตอบข้อเเรกก่อนนะครับ เดี๋ยวไปทำงานก่อน ตอนเย็นจะกลับมาตอบข้อ2-3 ให้ครับ

ข้อ2 จับได้

ข้อ3 ถอนได้

เหตุผลเด๊๋ยวรอตอนเย็นนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงภพ (songphobk-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-02-01 06:21:32 IP : 124.120.236.103


ความคิดเห็นที่ 2 (3150725)

 คำตอบสำหรับข้อ2 ที่ถามมา ให้ดูความหมายของการร้องทุกข์ตามคำตอบในข้อ1 ที่ว่าจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่ก็ตาม หมายถึงว่าผู้ร้องทุกข์ไม่สามารถทราบได้เเน่ชัดว่าใครทำผิด อาจสงสัย หรือเเน่ใจหรืออย่างไรก็ตาม แต่คนที่ผู้ร้องทุกข์เอ่ยถึงนั้น กฏหมายมิได้ถือว่าเป็นผู้ต้องหาในทันทีที่มีการร้องทุกข์  ต่อไปให้ดูความหมายของการสอบสวน ตรงที่ว่ารวบรวมพยานหลักฐาน.....เพื่อเอาตัวผู้ทำผิดมาฟ้องลงโทษ  นี่เเหละครับ เมื่อหลักฐานชี้ว่าใครน่าจะเป้นผู้ทำผิด ก็จับคนนั้นครับ ไม่ไช่จับคนที่ผู้ร้องทุกข์ไปกล่าวหา

คำตอบข้อ3 อยู่ที่ปวิอ.มาตรา35วรรคสอง  คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความ ในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้.......

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงภพ (Songphobk-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-02-01 20:44:14 IP : 124.121.208.125



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.