ReadyPlanet.com


ค้ำประกันรถยนต์


 

น้องชายของแฟนได้ไปกู้ซื้อรถยนต์โดยน้าชายของแฟนเป็นผู้ค้ำประกัน  แล้วน้องชายของแฟนนำรถยนต์ไปขายทอดตลาด ตอนนี้รถยนต์ไม่รู้ไปอยู่ไหนแล้ว  และน้องชายตามหาตัวไม่พบ  ทางคนขายรถยนต์ก็ไปสั่งฟ้องศาลกับคนค้ำประกันให้ใช้หนี้   คนค้ำประกันไม่มีเงินไปให้หนี้  ทางศาลก็เลยจะยึดบ้านและที่ดิน  ไม่ทราบว่าเราสามารถสู้คดีได้หรือไม่  มีวิธีแก้ไขอย่างไร  มีโอกาสไหมที่คนค้ำประกันไม่ต้องไปใช้หนี้  เพราะน้าของแฟน  ก็ได้มาให้แฟนของดิฉันใช้หนี้แทนน้องชายเขา  แฟนของดิฉันก็ไม่มีให้  รบกวนช่วยตอบปัญหาให้หน่อยนะคะ  ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ น้องพร :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-03 13:38:05 IP : 180.180.103.199


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3151406)

ปัจจุบันจะพบได้เยอะมากถึงปัญหาการเป็นหนี้เป็นสินโดยที่ตัวเองสมัครใจเข้าทำนิติกรรมนั้น โดย เฉพาะผู้ค้ำประกัน ซึ่งหลายคนก็มักใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจกันเป็นการส่วนตัวเป็นเกณฑ์ในการเอาตัวเข้าเป็นหลักประกันให้กับอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้ก่อหนี้โดยตรง ฉนั้นแล้วจึงบอกได้เลยครับว่าผู้ค้ำต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน เพราะถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำก็จะต้องรับผิดแทนครับ

ประมวลกฏหมายเเพ่งและพาณิชย์ มาตรา680 อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาที่บุคคลภายนอกคนหนึ่ง(ในที่นี้ คือคุณ) เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง (ในที่นี้คือไฟแนนท์) เพื่อชำระหนี้ ในเมื่อลูกหนี้(น้องชายแฟน) ไม่ชำระหนี้นั้น

ในกรณีคือยังผ่อนชำระไม่หมดใช่ไหมครับเมื่อยังผ่อนไม่หมดรถยนต์คันนั้นก็ยังไม่ใช่ของน้องชายคุณนะครับ กรรมสิทธิ์ยังเป็นของบริษัทอยู่น้องชายคุณเป็นเพียงผู้เช่าซื้อมีสิทธิ์แค่ครอบครองเท่านั้นไม่มีสิทธิ์นำไปขายแต่อย่างใด ผมก็ไม่รู้ว่าเขาขายแบบไหน ยังไง ผู้ซื้อรู้หรือไม่ว่ารถยนต์ยังไม่ใช่ของน้องชายคุณหรือยังผ่อนไม่หมด ซึ่งตามข้อเท็จจริงเมื่อเขาไม่สามารถเรียกบังคับเอาจากตัวลูกหนี้ได้เขาก็ต้องมาหาหลักประกันที่เคยให้สัญญากับเขาไว้ว่าจะร่วมรับผิดชอบเมื่อเกิดปัญหาแทน นั่นก็คือ ตัวน้าชายของแฟนนั่นเองแต่อย่างไรก็ตามผู้ค้ำก็ยังมีสิทธิบางประการที่จะให้บังคับเอาจากลูกหนี้ก่อนได้ ดังนี้

เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย หรือไม่ปรากฏว่าไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขต ตาม ปพพ.ม.688

ถึงแม้จะได้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวมาในมาตราก่อนแล้วก็ตาม ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้นั้นมีทางที่จะชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยากไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน ตาม ปพพ.ม.689

หรือ

ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ เพื่อเงินต้นกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น ตามปพพม.693 และสามารถเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดาที่มีอยู่เหนือลูกหนี้ด้วยตาม วรรค2

นี่เป็นเพียงข้อมูลและเป็นแนวทางในเบื้องต้นเผื่อว่าจะช่วยอะไร จขกท. ได้ไม่มากก็น้อยถ้ายังไงก็ก็อยากฝากถึงทุก ๆ ท่านว่า ครั้งต่อไปก่อนจะไปเซ็นสัญญาค้ำประกันให้ใคร ลองชั่งใจดูสักยี่สิบแปดตลบก่อนก็จะเป็นการดีไม่น้อยเลยนะครับ ... ขอบคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น อาร์ท วันที่ตอบ 2010-02-03 18:54:17 IP : 58.9.234.78


ความคิดเห็นที่ 2 (3151586)

ขอบพระคุณมาก ๆ นะคะคุณอาร์ท

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องพร วันที่ตอบ 2010-02-04 10:51:42 IP : 180.180.100.105


ความคิดเห็นที่ 3 (3188868)

ค้ำประกันรถยนต์

 

คือดิฉันได้ค้ำประกันรถยนต์ให้อดีตแม่สามีเพื่อซื้อรถยนต์ให้ลูกสาวของอดีตแม่สามี และแล้วเขาไม้ได้ค่างวดรถมาแล้วประมาณ ปีครึ่ง แต่รถยนต์ลูกสาวเขาเอาไปขายแล้ว(ผิดนอกประเทศ) ตอนนี้หมายศาลมาถึง ดิฉันจะทำอย่างไงดี เพราะพี่สาวดิฉันพูดกลอกหูทุกวันว่าตัวเองมาติดคุกแน่นๆๆ  ในตัวเองไม่ได้ทำ  ขอรบกวนช่วยตอบปัญหาให้ด้วยคะ    ขอขอบคุณล่วงคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เจ้าของเรื่อง (noi_fasai-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-06-10 13:24:43 IP : 122.154.229.102



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.