ReadyPlanet.com


ทำอย่างไร ไม่ให้ตกที่นั่งอยุติธรรมแบบที่พระพยอมประสบครับ


 เราจะซื้อที่ดินสักแปลก เราก็ต้องตรวจเอกสารต่างๆ ซึ่งถ้าเราเป็นพระพยอม เราก็คงตรวจแล้วและให้ผ่านหมด เพราะเอกสารทุกอย่างถูกต้อง ชัดเจน มีหลักฐานอะไรต่างๆเรียบร้อย

 

ผ่านไปไม่กี่ปี กลายเป็นว่า เสียเงินสิบล้านไปฟรีๆ ไม่รวมค่าใช้จ่ายบนที่ดินอีก 

 

กฎหมายไทย คุ้มครองผู้ซื้อบ้างไหมครับ 

 

ผมรู้สึกว่า กฎหมายบางอย่างในบ้านเมืองเรา ไม่ทันสมัย ไม่ทันเหลี่ยมโจร บางอย่างก็ล่าช้า ไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย 



ผู้ตั้งกระทู้ วิบากกรรม :: วันที่ลงประกาศ 2020-06-14 18:58:37 IP : 182.232.21.39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4382178)

"กฎหมายไม่ใช่ความยุติธรรม  แต่เป็นบทบัญญัติที่ตราไว้เพื่อรักษาความยุติธรรมเท่านั้น"

 

          ข้อเท็จจริงตามข่าว  พระอาจารย์ท่านซื้อที่ดิน 10 ล้านบาท จากคนคนหนึ่ง  ซึ่งได้ที่ดินมาโดยการครอบครองปปักษ์ (มีการร้องศาลจนได้กรรมสิทธิ์)  แต่ทายาทของเจ้าของที่ดิน  มาฟ้องว่าผู้ขายครอบครองฯโดยไม่มีสิทธิ์ และมีการเจรจาประนีประนอมยอมความ  ผลก็คือที่ดินกลับไปเป็นของทายาทเจ้าของที่ดิน   ทายาทจึงฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการซื้อขาย  ที่ดินจึงกลับไปเป็นของทายาท   ทายาทจึงแจ้งให้วัดย้ายออกจากที่ดิน...ทุกกระบวนการทำตามขั้นตอนของกฎหมาย  แต่จะมองว่ายุติธรรมหรือไม่  ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน   เพราะหลักการ  ก็ย่อมเป็นไปตามหัวข้อเรื่องข้างบน  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2020-06-15 07:26:37 IP : 101.51.140.98


ความคิดเห็นที่ 2 (4382285)

 สงสัยว่า กระบวนการไต่สวนเป็นอย่างไร ก่อนที่ ศาลจะให้สิทธิ์ครอบครองโดย ปรปักษ์ ไม่สิบพยานหรือว่า ที่ดินเดิมของใคร แล้วไม่แจ้งไปยังเจ้าของเดิม (หรือทายาท) หรอกหรือ ว่ามีการครอบครองโดยปรปักษ์ ขึ้นตอนมันควรจะรัดกุมตรงนี้ ไม่ใช่ปล่อยให้ออกมาง่ายๆ ทำให้สร้างความเสียหายต่อบุคคนที่สาม คือคนที่มาซื้อ  

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เจ วันที่ตอบ 2020-06-15 13:44:58 IP : 58.11.88.206


ความคิดเห็นที่ 3 (4382293)

 หลักการมันมีปัญหาแล้วละครับ อยู่ที่เราจะยอมรับมันหรือเปล่า ว่วนจะมีปัญญาแก้ไขยังไงคงเป็นเรื่องอนาคต

 

ถามว่า พระพยอมทำอะไรได้บ้าง ศาล กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบอะไรกับการกระทำบ้าง 

ผู้แสดงความคิดเห็น วิบากกรรม วันที่ตอบ 2020-06-15 13:55:08 IP : 49.230.143.61


ความคิดเห็นที่ 4 (4382480)

 กระบวนการยุติธรรม

  ก่อนจะมีคำพิพากษา  ศาลก็ต้องฟังข้อเท็จจริง (สืบพยาน)จนครบถ้วน เช่นการได้กรรมสิทธิ์ โดยการครอบครองปรปักษ์  มีหลักการที่ให้ได้กรรมสิทธิ์ ในที่ดินของผู้อื่น  ตาม ปพพ. ม.1382  คือเข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินของผู้อื่น  โดยสงบ และเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกัน 10 ปี....เมื่อผู้ครอบครอง อ้างว่าตนได้กรรมสิทธิ์ตามเงื่อนไขดังกล่าวนี้ ก็สามารถร้องต่อศาลให้ได้กรรมสิทธิ์  ซึ่งตามกระบวนการฯ ก็จะมีการส่งคำร้องการได้กรรมสิทธิ์ ไปยังเจ้าของที่ดิน และทายาท  แต่ ตามข้อเท็จจริง เจ้าของ หรือทายาทฯ อาจจะละเลยไม่ไปยื่นคำร้องคัดค้าน ด้วยเหตุผลนานัปการ  กฎหมายก็เปิดช่องให้มีการพิจารณาคดี โดยการขาดนัด  หรือพิจารณาคดีไปโดยฝ่ายเดียวได้ ผลก็คือผู้ร้อง ชนะคดี  เขาก็สามารถนำคำพิพากษา ไปขอให้ สนง.ที่ดิน เปลี่ยนชื่อ จากเจ้าของเดิม  เป็นของผู้ร้องได้   ผู้ร้องจึงมีสิทธิ์ นำที่ดินมาขายให้วัด....แต่ต่อมาทายาทเจ้าของที่ดิน มาร้องศาลว่า การได้กรรมสิทธิ์ของผู้ร้องไม่ชอบ (ซึ่งก็มีช่องทางของกฎหมายให้สามารถทำได้เช่นกัน) เมื่อผู้ร้องยินยอมทำสัญญาประนีประนอม ยอมคืนที่ดิน ให้  ทายาทเจ้าของที่ดิน  ศาลก็ต้องพิพากษาตามยอมนั้น  ผลก็คือที่ดินกลับไปเป็นของทายาทเจ้าของที่ดินคนเดิม  เขาจึงมาฟ้องที่ดินคืนจากวัดได้

      วัดก็สามารถเรียกเงินคืน  จากผู้ร้องที่นำที่ดินมาขายให้วัดได้  แต่กรณีนี้ ถือว่า ผู้ร้องผู้นำที่ดินมาขายให้วัด ทำการโดยสุจริต (เพราะศาลให้ได้กรรมสิทธิ์ โดยการครอบครองปรปักษ์) จึงคืนเงินเฉพาะส่วนที่ยังคงเหลือ ( ปพพ. ม.412) แต่ถ้าไม่เหลือ ก็ไม่ต้องคืน ซึ่ง ทุกขั้นตอน ทำตามหลักการของกฎหมาย มีกฎหมายรองรับชัดเจน แต่จะถือว่ายุติธรรมหรือไม่  ก็ต้องใช้วิจารณญาณเอาเอง...คำอธิบายนี้  เป็นเพียงหลักการย่อๆ  เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้เท่านั้น  ไม่มีเจตนามาโต้วาที ในข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริง... ด้วยเจตนาดีและประสงค์ดี ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2020-06-16 10:13:43 IP : 101.51.177.170



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.