ReadyPlanet.com


ปัญหากองมรดก


                เรื่องนี้มีอยู่ว่าเมื่อปี 2550 มารดาได้เสียชีวิตลงส่วนบิดายังมีชีวิตอยู่โดยบิดามีอายุ 80 ปี และมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ยังไม่ได้รวมบิดา

ทรัพย์สินทั้งหมดส่วนมากจะเป็นชื่อของมารดา และมารดาไม่ได้ทำพินัยกรรม ทรัพย์สินที่มีจะเป็นที่ดินและบ้านหลายแปลง
หลังจากทำพิธีงานศพเสร็จสิ้นลง พี่น้องทั้งหมดตกลงเรื่องทรัพย์สินว่าจะแบ่งอะไรกันบ้าง แต่ยังไม่ได้ทำการโอนเพราะว่าบิดายังไม่ยอมให้แบ่งโดยเก็บโฉนดที่ดินต่างๆ ไว้กับตนเอง จึงจำเป็นต้องมีการหาผู้จัดการมรดก โดยเลือกลูกคนที่7 เป็นผู้จัดการมรดก และได้ทำการยื่นเรื่องต่อศาลจนเป็นที่เรียบร้อย
หลังจากนั้นก็ได้เริ่มมีการโอนที่ดินบางแปลงให้กับพี่น้องบางคน โดยบิดาเป็นคนสั่งให้ผู้จัดการมรดกเป็นคนดำเนินการทุกอย่าง และที่สำคัญมีพี่น้องบางคนไม่ทราบถึงการโอนที่ดินเหล่านั้น
จากนั้นบิดากลัวลูกตัวเองไม่เลี้ยงดูตนจึงได้สั่งให้ผู้จัดการมรดกทำการโอนที่ดิน 2 แปลงให้ใส่ชื่อของบิดาเองและยังมีที่ดินเหลืออยู่ตอนนี้ 5 แปลงที่ยังไม่ได้โอนให้ใคร ลูกที่ได้รับการโอนเสร็จรีบร้อยแล้วมีอยู่ 3 คน ส่วนที่เหลืออีก 5 คนยังไม่ได้รับการโอน
จึงขอสอบถามผู้รู้เรื่องแบบนี้ ช่วยตอบคำถามด่วน
1.ทรัพย์สินที่ได้มีการโอนแล้วบางส่วนสามารถเรียกกลับคืนมาเข้ากองกลางมรดกได้หรือไม่ ถ้าได้จะมีอายุความกี่ปี
2.มีลูกคนหนึ่ง เริ่มมีอาการอยากเข้าไปใช้ทรัพย์สินแปลงที่บิดาได้โอนเป็นของตนคือบ้านเช่า 2 แปลงและลูกคนนี้อยากให้บ้านเช่านี้จัดทำเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด (ลูกคนนี้เป็นผู้ดูแลบิดา โดยบิดาเลือกที่จะอยู่บ้านหลังนี้ เพราะบ้านหลังนี้เป็นบ้านของมารดาที่เคยอยู่มาก่อน โดยลูกคนนี้เข้ามาอยู่และได้ทำกิจการค้าขายในบ้านหลังนี้ จึงเป็นผลให้ลูกคนนี้ได้รับการโอนบ้านหลังนี้ไป) จากข้อตกลงก่อนหน้านี้ มีอยู่ว่าจะมีลูก 2 คนที่จะได้รับการโอนบ้านเช่า 2 แปลงนี้ เป็นผลให้พี่น้องที่คาดว่าจะได้รับบ้านเช่าแปลงนี้ไม่พอใจ โดยที่ดินแปลงนี้ได้โอนให้แก่บิดาไปแล้ว จึงถามว่าจะแก้ไขเรื่องการโอนที่ดินแปลงนี้ที่บิดาโอนเป็นของตนเองได้หรือไม่ ถ้าได้จะต้องทำอย่างไร
3.ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามารถยกเลิกได้หรือไม่ ถ้าที่ดินแปลงนี้ยังเป็นชื่อของบิดาอยู่ (ถ้าบิดายินยอมหรือบิดาไม่ยินยอมให้จัดทำ) ผลจะเป็นอย่างไรบ้าง
4.ที่ดินที่เป็น ภบท.5 ที่เคยเป็นชื่อมารดามาก่อนและได้ทำการเปลี่ยนเป็นชื่อลูกคนหนึ่งไปแล้ว จะเรียกคืนกับเข้ากองมรดกได้หรือไม่
5.ตามหลักแล้วบิดาจะมีส่วนแบ่งมรดกตามที่ดินหลายแปลงอย่างไร เช่น ที่ดิน 50 ไร่ บิดาได้ 25 ไร่ ส่วนที่เหลือแบ่งให้ลูกทั้งหมด, ถ้าเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ห้องและมีโฉนด 2 แปลง พ่อมีสิทธิ์ 1 ห้อง ที่เหลือลูกทั้งหมดจะได้รับ 1 ห้อง ใช่หรือไม่
6.ถ้าข้อตกลงสำหรับลูกทุกคน สรุปส่วนแบ่งไม่ได้จะต้องทำการขายที่ทั้งหมดแล้วนำเงินที่ได้มาหาร ใช่หรือไม่
 
ขอแสดงความนับถือ


ผู้ตั้งกระทู้ vinny (vinny2548-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-11 09:16:39 IP : 58.181.131.18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3211366)

การแบ่งปันทรัพย์มรดก  ในกรณีภรรยาเสียชีวิตลง    ถ้าทรัพย์สินเป็นสินสมรส  สามีจะได้รับไปครึ่งหนึ่งก่อน  ส่วนอีกครึงหนึ่ง จะแบ่งเป็น 9ส่วนเท่าๆกัน(บุตรแปดคนและบิดา)  ถ้าทรัพย์สินไม่ใช่สินสมรสก็แบ่งเป็น  9 ส่วนเท่าๆกัน  นี่เป็นหลัการโดยทั่วๆไป

1. ผู้จัดการมรดกต้องทำบัญชีทรัพย์สิน  และบัญชีเครือญาติที่มีสิทธิรับมรดก  และแบ่งปันแก่ทายาทตามสิทธิดังกล่าวข้างต้น  ถ้าแบ่งปันโดยไม่ชอบ  ก็อาจถูกฟ้องถอดถอนจากผู้จัดการมรดกได้  ภายในอายุความ ห้าปี  นับแต่การแบ่งปันสิ้นสุดลง

2.  ถ้าตกลงกันไม่ได้  ต้องใช้สิทธิทางศาล  เพื่อให้แบ่งปันให้ถูกต้องตามกฎหมาย

3. หจก. จะยกเลิกหรือไม่  น่าจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดก

4.  ถ้าแบ่งปันไม่ถูกต้อง  ก็ต้องโต้แย้ง  หรือใช้สิทธิทางศาล

5.ถ้าเป็นสินสมรส  บิดาได้ไปก่อน  ครึ่งหนึ่ง   อีกครึ่งหนึ่งแบ่งเป็น 9 ส่วนเท่าๆกัน(บิดา+บุตร8 คน)

6.การแบ่งปันมรดก ทายาทจะตกลงกันอย่างไรก็สามารถทำได้เสมอ  ปัญหาคือไม่สามารถตกลงกันได้ต่างหาก

ผู้แสดงความคิดเห็น sa วันที่ตอบ 2010-09-11 15:29:25 IP : 125.26.113.163



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.