ReadyPlanet.com


ถามเรื่องกฎหมายแรงงาน เกี่ยวกับการเปลี่ยนวันหยุดและค่าล่วงเวลา


มีเรื่องถามเกี่ยวกับสัญญาจ้างงานครับ

"Working hours --- the total weekly working hours for the Company shall be as
Monday to Friday,
9.00am to 5.00pm.
As and when it becomes necessary, the Company reserves the rights to change
the working hours,
including the introduction of shift work, in line with the provisions of the
Employment Act.
"

1.ถ้าสัญญาเป็นแบบนี้ การเปลี่ยนวันหยุด เป็นไปตามต้องการของนายจ้างโดยอิสระ

หรือจะต้องแจ้งก่อนเป็นครั้งไปครับ หากมีการเปลี่ยนวันหยุด เช่น ไม่ยอมให้หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ แต่จะเปลี่ยนให้ไปหยุดวันอื่นแทน เช่น ใน 1 เดือน จะมี 1-2 อาทิตย์ที่ไม่ยอมให้หยุดเสาร์-อาทิตย์ แต่อาจให้หยุดเป็นวันศุกร์ก่อนหน้าและพุธหลังจากนั้น

การกระทำเช่นนี้ นายจ้างสามารถบังคับตามต้องการได้หรือไม่

2. ถ้าตำแหน่งเป็น Sales Engineer ซึ่งปกติ Sales จะไม่สามารถรับค่าล่วงเวลาได้ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด นายจ้างจะสามารถบังคับให้ทำตามข้อ 1 คือเปลี่ยนวันหยุด โดยไม่อนุญาตให้รับOTแทนการเปลี่ยนวันหยุด ได้หรือไม่ หากงานที่ถูกบังคับให้ทำคือ "เข้าไปที่โรงงานลูกค้า เพื่อให้บริการบำรุงรักษาเครื่องจักรในวันเสาร์-อาทิตย์ โดยไม่จ่ายค่าล่วงเวลา" ซึ่งถือเป็นงานที่เป็นservice Engineer ไม่เกี่ยวข้องกับการเร่ขายแต่อย่างใด กรณีนี้ก็ไม่สามารถรับค่าล่วงเวลาได้ด้วยเช่นกันใช่หรือไม่ (ค่าคอมมิสชันที่ได้ น้อยมาก เช่น ขายได้ หนึ่งล้านบาทแรกไม่นับ นับเฉพาะที่เกินกว่าหนึ่งล้านบาทแรก ให้ 0.2% เฉลี่ยได้ประมาณ1000 บาทต่อเดือน ซึ่งเทียบไม่ได้แม้แต่การทำล่วงเวลาวันหยุดวันเดียว) และ สามารถปฏิเสธการเข้าไปทำงานลักษณะนี้ได้หรือไม่

3.สืบ เนื่องจากข้อ 2 หากนายจ้างจงใจให้ทำงานservice engineerเป็นหลัก ทั้งที่เป็นตำแหน่ง sales engineer เช่น กำหนดให้ต้องเข้าไปซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงงานของลูกค้าตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ตามเวลาทำงาน จะถือว่าผิดหรือไม่

ในกรณีที่ต้องติดต่อลูกค้าอื่น ก็ให้โทรจากในโรงงานลูกค้าที่ไปประจำอยู่ ไม่ให้ออกมา

และการกำหนดเช่นนี้ เกิดขึ้นหลังจากคนที่มีศักดิ์เป็นเจ้านายลาออก ทำให้ลักษณะงานเปลี่ยนไปดังนี้ด้วยคำสั่งของเจ้านายคนที่เข้ามาดูแลใหม่

อ้าง อิงจากข้อความในสัญญาด้านบน เจ้านายเก่าจะให้ทำล่วงเวลาต่อเมื่อมีเหตุจำเป็นต้องเข้าไปให้บริการที่โรง งานของลูกค้ากระทันหันเท่านั้น (โดยไม่จ่ายค่าตอบแทน)

ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเจ้านายใหม่กำหนดตามอำเภอใจ ถือว่าถูกต้องหรือไม่

และไม่มีสิทธิ์ได้รับOTแม้ว่าจะโดนบังคับให้ทำงานกี่ชั่วโมงต่อวันใช่หรือไม่

กำหนดตำแหน่งงานไม่ตรงกับหน้าที่  แล้วกดให้ค่าคอมมิสชันน้อยๆบังคับไม่ให้OTนี่ผิดไหมครับ งงมาก

อีกอย่าง ที่พนักงานขายไม่ได้OTนี่จุดประสงค์ของกฎหมายคือ พนักงานขายไม่มีคนมากำหนดเวลาทำงานไม่ใช่หรอครับ

งง และ กำลังเดือดร้อนมาก จะทำอะไรได้บ้าง สัญญายกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ไหม

4. หากต้องการลาออก ทั้งที่ทำงานมา 2 ปีแล้ว แต่สัญญา 3 ปี ด้วยเหตุที่ถูกบังคับให้เปลี่ยนเวลาทำงานเช่นนี้ จะถือเป็นความผิดของทางลูกจ้างและต้องจ่ายค่าชดเชยแก่บริษัทหรือไม่ (กำหนดไว้ว่า หากออกจากงานก่อนกำหนด ต้องจ่ายให้บริษัท 2 เดือน)

5. คำถามเพิ่มเติม หากในกรณีที่สัญญาจ้างงาน เป็นสัญญาของบริษัทต่างชาติที่ยังไม่ได้ทำการจดทะเบียนในไทย แต่ให้เราทำงานในไทย จะถือว่าสัญญานั้นถูกต้องตามกฎหมาย หรือ บังคับใช้โดยสมบูรณ์ได้หรือไม่ และหากต้องการยกเลิก หลังจากที่รู้ว่า บริษัทสัญญาจะตั้งออฟฟิศในไทย แต่หลอกล่อยืดเยื้อเป็นเวลานาน จนเป็นเหตุให้มีปัญหาเรื่องการจ่ายภาษีเงินได้ จะสามารถทำได้หรือไม่ ทั้งนี้ ในนามบัตรได้มีการระบุถึงที่อยู่ของออฟฟิศในไทย ทั้งที่ยังไม่มีการจดทะเบียน และกรณีนี้หากยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด และบริษัทต้องการให้จ่ายค่าชดเชย ถ้าไม่จ่ายถือว่ามีความผิดหรือไม่ และหากมีการดำเนินคดีกัน นายจ้างต้องรับโทษไหม แค่ไหน อย่างไร ในกรณีนี้ รวมถึง ลูกจ้างถือว่ามีความผิดด้วยหรือไม่ อย่างไร
 



ผู้ตั้งกระทู้ เคน :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-23 19:57:55 IP : 172.16.3.120


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3214196)

ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ   นายจ้างซึ่งมีลูกจ้าง  10  คนขึ้นไปต้องประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไว้ที่สถานประกอบการ เป็นภาษาไทย  รายละเอียดได้แก่ (พรบ.คุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541  มาตรา  108)

                                  1.  วันทำงาน     เวลาทำงานปกติ  และเวลาพัก

                                   2.   วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด

                                  3.   หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด

                                  4.  วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง  ค่าล่วงเวลา  ค่าทำงานในวันหยุด   และค่าล่วงเวลาในวันหยุด

                                   5.   วันลาและหลักเกณฑ์การลา

                                    6.  วินัยและโทษทางวินัย

                                    7.   การร้องทุกข์

                                    8.   การเลิกจ้าง   ค่าชดเชย   และค่าชดเชยพิเศษ

                                   ถ้านายนายไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย    มีโทษปรับ  20,000  บาท  และถ้านายจ้างได้มีประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน   คุณแทบจะไม่ต้องสอบถามปัญหา  เพราะจะมีคำตอบอยู่ในข้อบังคับอยู่แล้ว

ตอบคำถาม

1-2.  นายจ้างต้องให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์    สัปดาห์ละไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน  วันหยุดต้องห่างกันไม่เกินหกวัน    นายจ้างลูกจ้างอาจตกลงล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดห์ในวันใดก็ได้  กรณีที่ถาม  นายจ้างจึงจะเปลี่ยนแปลงวันหยุดโดยอิสระโดยลูกจ้างไม่ยินยอมไม่ได้  ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

3  ถือว่าเอาเปรียบลูกจ้าง     แต่ต้องฟ้องศาลให้ปรับเปลี่ยนสัญญที่เป็นธรรมได้

4-5  ต้องร้องผู้ตรวจแรงานให้ช่วยเหลือ  เรื่องของคุณมีรายละเอียดค่อนข้างมาก   เป็นปัญหาในทางปฏิบัติ   บางทีกระบวนการทางกฎหมายเอื้อมมือไปช่วยไม่ถึง  หรือไม่ทันการ    ขอแนะนำให้คุณศึกษา  พรบ.คุ้มครองแรงาน  พ.ศ.  2541  คงทำให้คุณเข้าใจเรื่องแรงงานมากขึ้น   ค้นดูได้ในเว็บของกฤษฎีกา.....

ผู้แสดงความคิดเห็น 1 วันที่ตอบ 2010-09-24 11:15:57 IP : 113.53.102.46


ความคิดเห็นที่ 2 (3215322)

อยากถามเรื่องหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานคะเราเป็นเจ้าของกิจการต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะถูกต้องตามกฎหมายแรงงานคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นงลักษณ์ (mieow_lala-at-windowslive-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-29 15:56:08 IP : 125.25.172.138



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.