ReadyPlanet.com


ที่ดินกรรมสิทธิ์ร่วม


สวัสดีค่ะ ขอสอบถามเรื่องการแบ่งแยกโฉนดที่ดินดังนี้นะคะ

        เรื่องมีอยู่ว่า ย่าได้โอนที่ให้พ่อและป้า โดยระบุส่วนในโฉนดทีดิน 24 ไร่ พ่อได้ 16 และป้า 8 แต่ไม่ได้ระบุว่าของใครอยู่ส่วนไหนของที่ดินแต่พ่อให้ป้าทำนา ในส่วนที่ติดถนนด้านหน้าคือที่ดินเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่ะ ส่วนพ่อทำอยู่ได้หลังโดยตกลงกันว่าถ้าขายให้ขายพร้อมกันถือครองกันมา 10 กว่าปีแล้วค่ะ ต่อมามีผู้มาติดต่อซื้อป้าก็ยังไม่ขาย จนพ่อโอนให้ดิฉันกับน้อง คนละ 5 ไร่ โดยระบุส่วนเช่นกัน ดิฉันกับน้องอยากจะขอแบ่งแยกกับป้าแต่ป้าไม่ยอมให้แบ่ง แต่ถ้าจะแบ่งต้องเอาด้านหลังซึ่งถ้าเอาด้านหลังก็จะเป็นที่ตาบอดค่ะ ป้าบอกว่าถ้าอยากได้ก็ไปฟ้องเอก ขอถามดังนี้นะค่ะ

1. ถ้าจะแบ่งข้างหน้าครึ่งหนึ่งหรือตามส่วนจะได้มั้ยค่ะ(ที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง)

2.ถ้าฟ้องร้องดิฉันมีสิทธิ์ชนะมั้ยค่ะ

3.จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมั้ยค่ะจะคุ้มมั้ยเพราะไม่น่าจะตกลงกันได้

4.หากดิฉันชนะคดีป้าต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ดินฉันมั้ยค่ะ(ค่าทนายและค่าธรรมเนียมต่างๆ)

                                                                                 ขอบคุณค่ะ (กลุ้มใจมาก)



ผู้ตั้งกระทู้ คมคิด :: วันที่ลงประกาศ 2010-06-22 16:36:33 IP : 118.173.248.232


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3192558)

1. เมื่อเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม   ไม่ได้รับุว่าใครมีส่วนตรงไหน   เพียงระบุจำนวนเนื้อที่ไว้ ก็สามารถให้แบ่งปันโดย   โดยให้ทุกแปลงมีทางออกได้......แต่ก็เป็นความผิดพลาดที่คุณพ่อของคุณ  ไปถือครองที่ดินด้านใน  ให้ป้าถือครองที่ดินด้านหน้า   ถ้ามีการฟ้องร้องกัน  เขาคงอ้างการแบ่งการถือครองโดยชอบขึ้นต่อสู้  ฝ่ายของคุณน่าจะค่อนข้างเสียเปรียบ

2.  เรื่องแพ้ชนะในการต่อสู้คดี    ก็คงไปยืนยันกันลำบาก  กระบวนการในชั้นศาลเป็นเทควิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก   เพราะต้องเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย   โดยเฉพาะพยานหลักฐานต่างๆ  เราคงไปควบคุมหรือจัดการให้ได้ดั่งใจไม่ได้.....ขอแนะนำให้ฟ้องขอแบ่งแยกโฉนดที่ดิน   โดยให้ฝ่ายของคุณมีทางออกสู่ถนนได้  และควรฟ้องขอใช้ทางจำเป็น(กรณีเป็นที่ตาบอด)ไปพร้อมกันด้วย  ถ้าศาลเห็นว่าได้แบ่งการถือครองเป็นสัดส่วนมาเกิน  10  ปีโดยชอบแล้วแล้ว   ก็ต้องขอใช้ทางจำเป็นโดยต้องเสนอค่าทดแทนแก่ป้าตามความเหมาะสม  ถ้าไม่เสนอค่าทดทนไปในคำฟ้อง    ศาลอาจยกฟ้อง   เพราะเคยมีคดีตัวอย่างมาแล้วครับ

3. ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม   คิดร้อยละ 2 ของทุนทรัพย์   ส่วนค่าทนายความก็ต้องไปตกลงกันเอง  เท่าที่เคยพบมาเขาคงเรียกร้องประมาณ  2-5  หมื่นบาทครับ

4. ตามหลักฝ่ายแพ้คดี  ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายต่างๆ.......แต่ตามความเห็น    คดีแบบนี้น่าจะจบลงด้วยการประนีประนอมกัน  ค่าฤชาธรรมเนียมคงเป็นพับ   คือต่างฝ่ายต่างเสียค่าใช้จ่ายเองครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2010-06-23 07:44:47 IP : 125.26.108.234


ความคิดเห็นที่ 2 (3192666)

ถามเพิ่มเติม

              1. ถ้าป้าอ้างการครอบครองปรปักษ์ จะได้มั้ยค่ะเพราะ เกินท 10 ปี

              2.ดินฉันควรยื่นฟ้องต่อศาลไม่ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น คมคิด วันที่ตอบ 2010-06-23 15:13:13 IP : 118.173.248.38


ความคิดเห็นที่ 3 (3192923)

1.  เป็นปัญหาข้อกฎหมาย   เพราะการครอบปรปักษ์  ต้องเป็นที่ดินของผู้อื่น กรณีเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม  จะอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่  คงต้องให้ศาลวินิจฉัย....แต่อย่างไรก็ตาม    ถ้ามีปัญหาขัดแย้งกัน   ทนายความของป้า   ก็คงแนะนำให้ป้าอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้ด้วย

2.  ถ้าป้าไม่ยอมให้แยกโฉนดที่ดิน   ก็จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2010-06-24 11:07:09 IP : 125.26.108.125


ความคิดเห็นที่ 4 (3303820)

ดิฉันมีปัญหาเช่นกันค่ะ คือว่าดิฉันได้ซื้อที่ดินจากคุณลุง

ผู้แสดงความคิดเห็น กรณัฐ วันที่ตอบ 2012-11-30 11:53:13 IP : 223.206.123.22


ความคิดเห็นที่ 5 (3855439)

 คุณแม่ได้รับที่ดินจากคุณยาย แต่เป็นโฉนดรวม 3 คน  รวม 18 ไร่  โดยใส่ช่ือไว้ 3 คน ยู่ในหลังโฉนด ทุกคน เม่ือคุณยายเสียชีวิตลง น้าซึ่งเป็นคนถือโฉนดอยู่ไม่ยอมแบ่งแยกโฉนดให้ เพราะจะถือครองคนเดียว จะทำอย่างไรได้บ้างครับ เพราะน้าจะไม่ยอมอย่างเดียวบอกอยากได้ให้ไปฟ้องศาลเอาเอง และน้าจะนำที่ดินแปลงนี้แบ่งแยกให้ลูก ๆ ของน้า จะได้หรือไม่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัฐภรณ์ วงษ์ศรี (airbusnn-at-outlook-dot-com)วันที่ตอบ 2015-08-15 11:12:40 IP : 27.145.127.82


ความคิดเห็นที่ 6 (4233024)

ผมมีโฉนดที่ดิน แต่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับน้องสาว ผมสามารถนำไป จำนอง หรือกู้ฝ่ายเดียว เฉพาะส่วนของผม  ได้หรือไม่ ( เพราะน้องสาวคงไม่เซ็นร่วมด้วยแน่ )

ผู้แสดงความคิดเห็น เบ้ม วันที่ตอบ 2017-12-26 13:23:41 IP : 223.24.3.139



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.