ReadyPlanet.com


--- ช่วยหน่อยครับ ---


ปัญหาคือแม่เอาที่ดินไป ประกันชำระหนี้จำนวนหนึ่ง

ซึ่งมูลค่าที่ดินสูงกว่า หนี้ที่ต้องชดใช้ และได้ทำสัญญากันเอง

โดยทางเจ้าหนี้ได้ยึดโฉนดไว้ด้วย

โดยในสัญญาระบุว่า ถ้าไม่นำเงินมาคืนภายในวันที่ xx xx xxx

แม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้เป็นของเขาทั้งหมด

ปัญหาคือ แม่เซ็นยอมรับแล้ว จึงขอถามดังนี้ครับ

1.สัญญาฉบับนี้มีทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

2.ถ้าถูก เมื่อครบกำหนดแล้วที่ดินทั้งหมด (เกินมูลค่าหนี้) ต้องโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหนี้ใช่หรือไม่ (กำหนดในสัญญา)

3.เมื่อครบกำหนด ถ้าแม่ไม่ไปโอนถือว่าผิดกฎหมายหรือเปล่า

4.เคยไปขอโฉนดคืนจากเจ้าหนี้ เพื่อนำมาจำนองกับธนาคาร และนำเงินมาใช้หนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ไม่ให้ อย่างนี้ถือว่าเจ้าหนี้มีความผิดหรือไม่

5.ผมสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อได้ให้ได้โฉนดคืนเพื่อนำไปจำนอง

*ขอบคุณทุกท่านล่วงหน้านะครับ



ผู้ตั้งกระทู้ Back_ZAA :: วันที่ลงประกาศ 2010-12-05 13:00:35 IP : 110.164.174.94


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3227545)

1.สัญญาฉบับนี้มีทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

ตอบ   ไม่ใช่สัญญาจำนอง เพราะไม่จดทะเบียนฯ      คงเป็นสัญญากู้ยืมเงิน ที่เอาโฉนดที่ดินประกันไว้    ถ้าสัญญากู้ยืเงินทำถูกต้องก็ใช้บังคับได้

2.ถ้าถูก เมื่อครบกำหนดแล้วที่ดินทั้งหมด (เกินมูลค่าหนี้) ต้องโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหนี้ใช่หรือไม่ (กำหนดในสัญญา)

ตอบ  ไม่ต้องโอนที่ดินให้เจ้าหนี้ตามสัญญา   แม้จะมีสัญญาระบุไว้    ก็ไม่ต้องปฏิบัติตาม   แต่เจ้าหนี้เขาก็มีสิทธิฟ้องตามสัญากู้ยืมเงิน  ถ้าเขาชนะคดี ก็สามารถขอบังคับคดีนำที่ดินไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ได้   ถ้ามีเงินเหลือจากการใช้หนี้     ก็ต้องคืนแก่ลูกหนี้

3.เมื่อครบกำหนด ถ้าแม่ไม่ไปโอนถือว่าผิดกฎหมายหรือเปล่า

ตอบ    ไม่ผิดกฎหมาย

4.เคยไปขอโฉนดคืนจากเจ้าหนี้ เพื่อนำมาจำนองกับธนาคาร และนำเงินมาใช้หนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ไม่ให้ อย่างนี้ถือว่าเจ้าหนี้มีความผิดหรือไม่

ตอบ    เจ้าหนี้สามารถยึดโฉนดที่ดินไว้ได้ตามสัญญา(เขาคงระบุไว้ว่านำโฉนดที่ดินมาประกันไว้)

5.ผมสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อได้ให้ได้โฉนดคืนเพื่อนำไปจำนอง

ตอบ  หาเงินไปใช้หนี้เขาให้หมดและขอโฉนดคืนได้    หรือเจรจาขอโฉนดคืนเพื่อนำไปจำนองกับนาคาร  เพื่อนำเงินมาใช้หนี้เขา   ถ้าเขาเชื่อใจก็ไม่มีปัญหา   แต่เขาคงไม่คืนค่อนข้างแน่......ก็ใช้วิธีหยิบยืมญาติไปใช้หนี้เขาก่อนก็ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น อนัตตา วันที่ตอบ 2010-12-05 14:05:07 IP : 118.174.112.102


ความคิดเห็นที่ 2 (3227559)

 

การยึดถือโฉนดดังกล่าวไม่ใช่การจำนำ (ฎีกา ๒๒๙/๒๕๒๒) ไม่ใช่การจำนองและไม่ใช่สิทธิยึดหน่วง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๔๑ (ฎีกา ๕๔๕/๒๕๐๔) แต่เจ้าหนี้มีสิทธิยึดถือโฉนดไว้ได้ในฐานะที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนตามมาตรา ๓๖๙ ตราบใดที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้สิ้นเชิง ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิเรียกโฉนดคืนได้ (ฎีกา ๑๔๑๖/๒๔๙๙,ฎีกา ๑๓๖๙/๒๕๑๐, ๙๔๒/๒๕๒๗)  ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้เป็นบุคคลสิทธิบังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา ตราบใดที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้และที่ดินยังคงเป็นของลูกหนี้อยู่ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้ตลอดไป แต่เจ้าหนี้ไม่มีทรัพยสิทธิเหนือที่ดินตามโฉนดที่เจ้าหนี้ยึดไว้ หากที่ดินโอนไปยังบุคคลภายนอก บุคคลภายนอกที่เป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2010-12-05 15:11:13 IP : 58.9.221.162



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.