ReadyPlanet.com


การถูกยึดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้


ดิฉันได้ซื้อคอนโดไว้ แล้วขาดการผ่อนชำระเป็นเวลาหลายปีแล้ว ตอนนี้ได้รับหมายศาลแจ้งเรื่องหนี้สิน หากดิฉันไม่สามารถเคลียร์หนี้สินได้ ในหมายศาลแจ้งว่า ต้องยึดทรัพย์ที่มีอยู่ ขายทอดตลาด เพื่อนำมาชำระให้ครบตามจำนวน  ปัญหาคือ

 1. ดิฉันเป็นแม่บ้าน ไม่มีรายได้ จะสามารถขอผ่อนชำระได้หรือไม่ค่ะ

2.ดิฉันมีที่ดินอยู่ 1 ผืน ตอนนี้ติดจำนอง เพราะลูก ๆ กู้ธนาคารมาสร้างบ้านบนที่ดินนั้น มีสัญญาผ่อนชำระ 30 ปี  โดยมีดิฉันเป็นเจ้าของที่ดิน   หากดิฉันไม่ชำระหนี้ดังกล่าว  บ้านและที่ดินของดิฉัน จะถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดไปชำระหนี้ไหมคะ

3.ถ้าดิฉันทำการหย่ากับสามีหลังจากได้รับหมายศาลฟ้องคดีเรื่องคอนโด  สินทรัพย์ก่อนสมรสของสามี จะถูกยึดนำมาชำระหนี้ด้วยหรือไม่คะ ( ดิฉันไม่อยากให้สามีต้องเดือดร้อนเพราะเรื่องนี้ค่ะ)

4.หากเลยระยะเวลายื่นอุธรณ์แล้ว  ไม่สามาระจะไกล่เกลี่ยชำระหนี้สินได้เลยใช่ไหมคะ

 

รบกวนตอบด้วยนะคะ 

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ เชอร์รี่ :: วันที่ลงประกาศ 2010-11-22 12:43:14 IP : 10.4.4.98


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3225439)

1. อันนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้นะครับ ถ้าเขายอมก็สามารถทำได้

2. ที่ดินติดจำนองกับธนาคารอยู่ ดังนั้นที่ดินผืนนั้นธนาครจะเป็นผู้มีสิทธิดีที่สุด เพราะมีสิทธิบังคับจำนองจากที่ดินนั้นได้ก่อนเจ้าหนี้สามัญหากว่าคุณไม่ชำระหนี้ประธาน (เงินที่กู้มาสร้างบ้าน) ฉนั้นที่ดินแปลงนั้นเจ้าหนี้อื่นจึงมายึดไม่ได้ครับ เพราะธนาคารมีสิทธิดีกว่าใคร

3. หากว่ามิได้เป็นลูกหนี้ร่วมกัน อีกฝ่ายก็ไม่ต้องรับผิดชอบในมูลหนี้นั้นครับ เพราะถือเป็นสินส่วนตัว

4. หลังจากคดีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว   คู่ความฝ่ายใดยื่นอุทธรณ์ / ฎีกา  ก็สามารถนำคดีเข้าสู่ระบบการ  ไกล่เกลี่ยได้  โดยสามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยที่ศาลอุทธรณ์ / ศาลฎีกา  หรือจะดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นศาลสูงโดยศาลชั้นต้น  ด้วยการแสดงความประสงค์ของคู่ความผู้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาสามารถว่าจะนำคดีเข้าสู่การไกล่เกลี่ยกับเจ้าหน้าที่รับฟ้องหรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยในขณะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกา  ว่าตนเองมีความประสงค์จะนำคดีเข้าสู่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยศาลชั้นต้น  หรือหากคู่สำนวนคดีได้ส่งไปยังศาลอุทธรณ์/ศาลฎีกาแล้วคู่ความที่มีความประสงค์จะไกล่เกลี่ยคดีสามารถแสดงความประสงค์ที่ศาลอุทธรณ์/ศาลฎีกาก็ได้เพื่อให้ศาลดังกล่าวทำการไกล่เกลี่ยคดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2010-11-22 22:39:55 IP : 115.87.168.227



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.