ReadyPlanet.com


มรดก กับทะเบียนซ้อน


พ่อกับแม่ ของดิฉันอยู่กินกันมา 40 ปีแล้วจนถึงวันนี้ และมีบุตรด้วยกัน 2 คน ก่อนหน้าที่พ่อจะมาอยู่กับแม่ของดิฉัน พ่อดิฉันได้เคยจดทะเบียนสมรสมาแล้วกับภรรยาเก่า โดยที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ซึ่งเท่ากับว่าพ่อดิฉันจดทะเบียนซ้อนกับแม่ของดิฉัน จึงขอถามปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ดังนี้คะ

1. บ้านและที่ดิน ที่เป็นชื่อของพ่อและแม่ของดิฉันร่วมกัน ซึ่งตอนที่โอนบ้านกันนั้น แม่ดิฉันยังไม่ได้จดทะเบียนซ้อนกับพ่อคะ ซึ่งเท่ากับแม่ใช้นามสกุลคนละนามสกุลกันกับพ่อในโฉนดที่ดิน แต่ในขณะนี้พ่อและแม่ของดิฉันได้จดทะเบียนซ้อนไว้แล้ว และได้ทำพินัยกรรมไว้(ทั้งคู่ยังมีชีวิตอยู่) ว่าจะยกบ้านและที่ดินให้กับลูกทั้งสองคน แบบนี้ภรรยาเก่าและลูกเค้ามีสิทธิ์ไหมคะ?

2.ที่ดิน และทรัพย์สินในส่วนอื่นๆ ที่เป็นชื่อแม่แต่เพียงผู้เดียวนั้น แต่เป็นนามสกุลของพ่อที่ใช้ในการทำทุรกรรม ภรรยาเก่าและลูกเค้ามีสิทธิ์ไหมคะ? เอกสารทุกอย่างจะถือเป็นโมฆะหรือไม่?

3. ตามความเข้าใจของดิฉัน ภรรยาเก่ามีสิทธิ์ในบ้านและที่ดินตามข้อ 1 ซึ่งได้ในเฉพาะในครึ่งส่วนที่เป็นของพ่อดิฉันเท่านั้น ส่วนอีกครึ่งแม่ของดิฉันมีสิทธิ์เต็มอยู่แล้ว หากพ่อดิฉันเสียชีวิตลง พินัยกรรมที่ระบุไว้จะถือว่าเป็นโมฆะหรือไม่? หรือว่าครึ่งของพ่อที่เหลือจะต้องถูกแบ่งครึ่งอีกให้กับภรรยาเก่าครึ่งนึง และส่วนที่เหลือก็แบ่งเป็น 3 ส่วนให้กับลูกทั้ง 3 คน?

4. ภรรยาเก่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย และบุตรในสมรสมีสิทธิ์ฟ้องอะไรได้บ้างคะ? เพราะห่างหายกันมานานนับ   40 ปี และไม่ได้มีการส่งเสียค่าเลี้ยงดูให้เลย

5. แม่ของดิฉันจะเพิกถอนทะเบียนซ้อนได้ยังไงหรือว่าต้องรอให้ทางภรรยาเก่าฟ้องก่อนคะ? ถ้าหากพ่อของดิฉันไปจดทะเบียนหย่ากับภรรยาเก่าตอนนี้จะมีผลยังไงบ้างคะ?

ขอบพระคุณล่วงหน้าคะ



ผู้ตั้งกระทู้ ขวัญข้าว :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-09 12:22:12 IP : 118.174.100.184


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3216876)

คำถามข้อนี้เป็นคำถามที่ค่อนข้างยากสำหรับผมมากเพราะเนื่องจากผมยังมิได้เรียนวิชาครอบครัวหรือมรดกเลย แต่ก็จะพยายามแสดงความคิดเห็นเท่าที่ราบจากการเปิดดูในประมวลคร่าว ๆ นะครับ

คือถ้าดูจากข้อเท็จจริงนี้ การจดทะเบียนของพ่อและแม่คุณนั้นเป็นการจดทะเบียนที่ซ้อนกับของคนอื่น นั่นก็หมายความว่าการจดทะเบียนของแม่และพ่อคุณนั้นอาจถือเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1495 เพราะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนตามมาตรา 1452 (หญิงหรือชายจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้) เมื่อเป็นดังนี้แล้ว ภรรยาคนแรก บิดามารดา หรือผู้สืบสันดารของเขาอาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาการสมรสระหว่างพ่อและแม่คุณให้เป็นโมฆะได้ แต่ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าวผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอต่ออัยการให้เป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้ ทั้งนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะใช้อายุความตามมาตรา 193/30 คือ 10 ปีได้หรือปล่าว เพราะในบทเฉพาะมิได้ระบุถึงอายุความไว้ ถ้าใช้ได้นั่นก็เท่ากับว่า ภรรยาคนแรกจะมาเรียกร้องให้ศาลสั่งเป็นโมฆะไม่ได้อีกแล้วเพราะขาดอายุความไปแล้ว แต่ถ้าอายุความในมาตรานั้นใช้ไม่ได้และภรรยาเก่าใช้สิทธิเรียกร้องทำให้การสมรสของพ่อและแม่คุณเป็นโมฆะนั้น ขอตอบดังนี้

1.บ้านและที่ดินเป็นของใครก็คงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนทรัพย์สินที่ทำมาหามาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น

2.ตามข้อ 1.

3.ต้องดูว่าบ้านและที่ดินนั้นน่ะเป็นของใครมาแต่แรกครับ เพราะทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น เพราะการสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามมาตรา1498 ถ้าเป็นของคุณแม่คุณมาแต่เดิมแต่ใช้ชื่อพ่อจนร่วมเข้าไป อันนี้ภรรยาเก่าก็หาได้มีสิทธิเลยครับ

4.มีสิทธิเรียกร้องให้การสมรสของพ่อและแม่คุณเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1496 วรรคสอง แต่ผมยังมิแน่ใจในเรื่องอายุความ แต่เบื้องต้นผมคิดว่าสามารถใช้อายุความตามมาตรา 193/30 ได้นะเพราะมิได้มีบทเฉพาะ ถ้าใช้ได้คือมีเวลา 10 ปี

5.คนที่ซ้อนคือของคุณแม่คุณครับ มิใช่ภรรยาคนแรก ถ้าพ่อไปจดทะเบียนหย่ากับภรรยาคนแรกผมคิดว่าก็น่าจะทำได้นะ แต่ว่าเขาจะยอมหรอ หรือ ทำไมปล่อยให้เวลาให้ผ่านล่วงเลยมาถึง 40 ปี ทำไมไม่ไปหย่าหรือสะสางตนให้เคลียสะก่อนที่จะมาแต่งกับคุณแม่คุณล่ะครับ อันนี้สงสัยอย่างมาก เพราะถ้าเป็นผมคงมิกล้าแต่งใหม่ทั้งรู้อยู่ว่าอาจจะมีปัญหาตามมาได้ในอนาคตแน่นอน

ปล...ข้อความด้านบนเป็นเพียงแค่การแสดงความคิดเห็นของผมเท่านั้นนะครับ เพราะเนื่องจากผมยังไม่เคลียในเรื่องอายุความ ดังนั้นให้รอฟังความคิดเห็นหรือคำตอบจากท่านอื่นที่มีประสบการณ์ต่อไปจะดีกว่าครับ เพราะบางทีไม่แน่ในทางปฏิบัติของเรื่องนี้อาจจะมีทางออกที่ดีกว่าก็เป็นได้ ส่วนถ้าคำตอบนี้มีข้อบกพร่องหรือต้องแก้ไขประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ... ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2010-10-10 13:54:40 IP : 58.9.131.169


ความคิดเห็นที่ 2 (3217268)

 โมฆะกรรมไม่มีอายุความในการบอกล้างครับ  ความเสียเปล่าหรือความไม่มีผลของนิติกรรมอันเป็นโมฆะนั้นมีมาตั้งเเต่ต้น  กาลเวลาไม่สามารถทำให้นิติกรรมซึ่งเสียเปล่ามาตั้งเเต่ต้น กลายเป็นนิติกรรมที่มีผลไปได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงภพ (Songphobk-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-10-11 18:32:09 IP : 110.168.100.210


ความคิดเห็นที่ 3 (3217320)

เออใช่ ทำไมถึงลืมประเด็นนี้ไปได้นะ ขอบคุณ ๆ ทรงภพมากครับ ที่ช่วยชี้เแนะและให้ความกระจ่าง ผมก็ยัง งง ๆ อยู่ว่าจะใช้อายุความได้จริงหรือ หลงประเด็นไปไกลเลยผมแต่ตอนนี้กระจ่างละครับ อิอิ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2010-10-11 23:33:36 IP : 115.87.190.113


ความคิดเห็นที่ 4 (3217526)

 ยินดีครับ กฎหมายมีหลายร้อยฉบับ ประเด็นในกฎหมายมีมากมาย บางครั้งเราเร่งรีบเกินไป ย่อมลืมไปได้ เป็นเรื่องปกติ ผมเป็นอยู่บ่อยๆไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงภพ (Songphobk-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-10-12 18:37:07 IP : 124.122.116.108



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.