ReadyPlanet.com


หยิบ ของ ในตะกร้ารถเข็นในห้างเป็นการลักทรัพย์หรือไม่


พอดีกำลังศึกษากฎหมายอยู่ค่ะ เจอ มาตรา 344 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิด ฐานลักทรัพย์

 

นาย ก ไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า เข็นรถเข็นหยิบสินค้าลงในรถเข็นระหว่าง เลือกสินค้าอื่น  แล้ว มีผู้อื่น นาย ข  มาหยิบสินค้าในรถเข็น นาย ก ไป (ทั้งนาย ก และ นาย ข ยังไม่ได้ไปจ่ายเงินที่แคชเชียร์) นาย ข มาหยิบของไปมีความผิดฐานลักทรัพย์หรือเปล่าคะ

 

เพราะเห็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรานึงที่ว่า กรรมสิทธิ์ของทรัพย์ได้ถูกโอนไปนับตั้งแต่ได้นับ ชั่ง ตวงวัด ในฐานะที่เราเลือกของลงรถเข็น เจตนาที่เราจะไปจ่ายเงิน เราได้กรรมสิทธิ์ ของสินค้าในรถเข็นแล้ว ถูกต้องหรือเปล่าคะ

ดังนั้นจึงสงสัยว่า ถ้านาย ข มาหยิบของไปจะมีความผิดหรือเปล่า

 

และอีกกรณีนึง คือ ถ้า ผู้อื่นหยิบสินค้า แกะ ราคา แล้วสลับ กับอีกสินค้า เพื่อให้ได้ สินค้าที่ราคาถูกกว่า เป็นความผิดฐานฉ้แโกงหรือไม่ค่ะ

 

ขอบคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ zuphlas :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-28 22:30:41 IP : 180.210.216.131


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3220181)

การที่เลือกสินค้าออกมาจากชั้นหรืออกมาจากกองที่เป็นทรัพย์ทั่วไปแล้วนั้น ถือว่าทรัพย์นั้นกลายเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้วครับ ตามมาตรา 195 วรรคสอง และเมื่อกลายเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งที่รู้ราคาแน่ชัดแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นก็ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่ทำการหมายหรือ นับ ชั่ง ตวง วัด หรือทำโดยวิธีอื่นใดเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินออกเป็นที่แน่นอนตามมาตรา 460  ฉนั้นเมื่อกรรมสิทธิ์เป็นของคุณแล้ว คุณก็มีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินนั้นจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิ์จะยึดถือไว้ ตามมาตรา 1336 ได้ แต่อย่าลืมว่าแม้ลูกหนี้จะได้กรรมสิทธิ์ไปแล้วตามกฏหมายก็ยังมีหน้าที่ ๆ จะต้องไปชำระราคาค่าทรัพย์สินให้แก่ผู้ขายด้วยนะครับ ตามมาตรา 453 ฉนั้นเมื่อคุณได้กรรมสิทธิ์ก็เท่ากับว่าคุณเป็นเจ้าของและถ้ามีผู้ใดเอาทรัพย์ของคุณไปโดยทุจริต ก็จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ครับ แต่จากกรณีปัญหานี้ ก็ยังไม่แน่ชัดว่าเขาจะผิดฐานลักทรัพย์ได้ เพราะการที่จะเข้าองค์ประกอบลักทรัพย์ได้นั้นจะต้องมีเจตนาที่กระทำไปโดยทุจริต หากว่าเขาหยิบไปโดยสำคัญผิด เช่น คิดว่าของที่อยู่ในรถเข็นคันนี้ไม่มีเจ้าของหรือเจ้าของไม่เอาแล้ว เป็นต้น หรือ หยิบไปโดยมิได้แสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฏหมายสำหรับตนหรือผู้อื่นเพราะเป็นการหยิบของที่อยู่ในสถานที่เปิด(หมายถึงหยิบได้อย่างอิสละเสรี)และของแบบเดียวกันนั้นก็ยังมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญยังไม่ได้ชำระราคาสินค้าเลยทั้งคู่ ก็อาจะไม่เข้าลักทรัพย์ก็เป็นได้ ซึ่งอันนี้ต้องดูที่เจตนาเป็นหลักประกอบกับรายละเอียดในข้อเท็จจริงด้วยครับ

แต่ถ้าแกะป้ายราคามาสลับกันก็ถือว่าเป็นการหลอกลวงผู้อื่น (พนักงานแคชเชียร์) ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม(เงินส่วนต่างที่ไม่ต้องจ่ายทั้ง ๆ ที่ควรจะจ่าย) ถ้าทำแล้วพนักงานแคชเชียร์เชื่อก็ถือว่าเป็นการฉ้อโกง ตามมาตรา 341 ได้ครับ แถมให้อีกกระทงคือ การแกะป้ายราคามาสลับกันนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 264 ครับ และเป็นผู้ใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 264 ในมาตรา 268 อีกแต่ถ้าเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้นเองวรรคสองให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียวครับ  

คือสรุปแล้วผมค่อนข้างจะเห็นด้วยกับสิ่งที่คุณถามและตั้งประเด็นมา แต่จะต่างตรงที่จะเข้าลักทรัพย์ได้หรือไม่นั้นผมว่าข้อเท็จจริงมันยังไม่ชัวร์ที่จะฟันธงได้ ซึ่งในโลกความเป็นจริงพฤติการณ์ประกอบและเจตนาน่าจะช่วยให้ฟันธงได้ง่ายขึ้นกระมัง แต่กรณีแบบนี้คงไม่มีใครมาฟ้องร้องกันหรอกมั้งครับเพราะยังไม่ได้จ่ายเงินทั้งคู่ถือว่ายังไม่ได้เสียหายจริง แต่ประเด็นที่คุณตั้งมาผมคิดว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจเลยทีเดียวครับ ออกเป็นข้อสอบได้เลยนะนี่ข้อนี้น่ะ อิอิ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2010-10-28 23:28:51 IP : 61.90.114.60


ความคิดเห็นที่ 2 (3220266)

อย่าให้มีออกข้อสอบแบบนี้เลยค่ะ สงสารเด็กตาดำๆ

 

คือประเด็นที่สงสัยเนื่องจากไปเดินห้างแล้วเจอกรณีที่สินค้าขาดตลาด อย่างเช่น น้ำตาล ที่แบบ จำกัดใ้ห้ครอบครัว ละสองถุง แล้วมีประชาชนแข้าแย่งชิงกันใส่รถเข็น แล้ว ถ้ามีคนมาหยิบไป เจตนาเพื่อหยิบไปเนี่ยน่าจะเข้าข่ายลักทรัพย์หรือเปล่านะ

 

ก็เลยประเด็นสำหรับคำถามค่ะ ถ้าถามว่าเค้าเจตนาหยิบไปโดยทุจริตหรือเปล่า คิดว่าน่าจะเข้าข่ายนะคะ ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า

 

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น zuphlas วันที่ตอบ 2010-10-29 16:05:21 IP : 10.0.253.82


ความคิดเห็นที่ 3 (3220295)

ขอตอบแบบกลาง ๆ ว่าใช้สิทธิติดตามและเอาคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามมาตรา 1336 จะดีกว่านะครับ แต่ถ้าเอาตามตัวบทและตามเจตนารมณ์ของกฏหมายผมถือว่ากรณีจำกัดน้ำตาลนี้เข้านะ เพราะมีเจตนาแย่งการยึดถือหรือครอบครองเพือให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แก่ตนจึงถือได้ว่าแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฏหมายสำหรับตนหรือผู้อื่นแล้ว ซึ่งเจตนารมณ์ของกฏหมายต้องการคุ้มครองทรัพย์สินของบุคคลนั้นไม่ให้คนอื่นมายุ่งเกี่ยวได้

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2010-10-29 19:39:22 IP : 58.9.126.254



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.