ReadyPlanet.com


มรดกที่น่าปวดหัว


ขอสอบถามหน่อยค่ะ เรื่องมีอยู่ว่า พ่อแต่งงานกับแม่ ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้อง  แต่ไม่มีลูกด้วยกัน พ่อเคยแต่งงานมาก่อน มีลูกชาย 1 คน แม่ก็เคยแต่งงานมีลูกสาว 1 คน มาอยู่ที่บ้านพ่อ ที่บ้านก็มีพี่สาวพ่ออยู่ด้วย 1 คน แล้วที่นี่ก่อนเสียชีวิตพ่อได้ทำพินัยกรรมยกที่นาไว้ให้ลูกสาวบุญธรรมคนนี้ เพรามีแต่แม่กับลูกสาวคอยดูแล พอพ่อเสียชีวิตแม่ไปยื่นที่ดินโอนที่ พอที่ดินติดประกาศป้าไม่ยอมจะไปฟ้องเอา มีโอกาสได้ที่นาตรงนี้ไหมค่ะ 

แล้วอีกเรื่องค่ะ ที่บ้านเป็นชื่อของย่า ซึ่งเสียชีวิตแล้วตอนนี้ ที่ตรงนี้จะตกไปเป็นของพี่สาวเลยใช่ไหมค่ะ แล้วแฟนพ่อที่มีทะเบียนสมรส มีชื่อในทะเบียนบ้านนี้มีโอกาสได้ครึ่งหนึ่งไหมค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้สงสัย (namfonzz564-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2022-08-21 12:28:09 IP : 101.51.90.120


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4464232)

 เรียน ผู้สงสัยครับ ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมครับ ว่าที่ดินแปลงนี้มี เอกสารสิทธิ ประเพท อะไร โฉนดที่ดิน หาือ นส 3  นส3 ก และระบุชื่อใครเป๋นเจ้าของกรรมสืทธิ์ พ่อ หรือ ย่า หรือ ป้า เพราะจะไดให้คำตอบที่ถูกค้องไดครับ สถ้าสะดวกโทรมาคุยก็ได้นะครับ 0852217555

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมึข 0852217555 (pamooklaw-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2022-08-21 18:15:03 IP : 49.230.206.193


ความคิดเห็นที่ 2 (4464248)

 ขออนุญาตนะครับ...ท่านปมุข

 

ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน  ตามที่ท่านปมุข บอก แต่ตามวิสัยของคนที่ตอบปัญหามาเป็น 10 ปี   แม้ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน  ก็ขออนุญาตตอบปัญหาเท่า ที่ข้อเท็จจริงพอมี อาจจะพอช่วยเหลือผู้ถามได้บ้าง ถ้าคำตอบยังไม่ชัดเจน  ผู้ถามก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้เสมอ ครับ

  กรณีแรก  การทำพินับกรรมของพ่อ  ถ้าทำถูกต้องตามแบบ ที่นาก็ย่อมตกลงเป็นของ ลูกสาวบุญธรรม แม้ป้าจะโต้แย้ง ก็คงไม่มีผล  ขอแนะนำให้ไปที่ศาล  ในภูมิลำเนา  ให้ทนายอาสาช่วยตรวจสอบพินัยกรรม  ว่า ทำถูกต้องหรือไม่  ถ้าถูกต้อง แต่ป้ามาคัดค้าน  บุตรสาวก็สามารถร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก  เพื่อโอนที่ดินเป็นของตนตามพินัยกรรมได้..

  กรณีบ้านเป็นของย่า  เมื่อย่าตายลง บ้านย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท  คือ ลูกๆของคณย่า  ได้แก่ คุณพ่อ และพี่สาวของพ่อ(ป้า) (ถ้ามีลูกเพียงสองคน)เมื่อพ่อตายลงส่วนของพ่อย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่บุตรของพ่อ(ลูกรับมรดกแทนที่พ่อได้)  คือบ้านต้องแบ่งเป็นสองส้่วนเท่าๆกัน เป็นของป้ากึ่งหนึ่ง เป็นของคุณพ่อกึ่งหนึ่ง(ซึ่งลูกรับมรดกแทนที่)  ถ้าบ้านไม่อยู่ในวิสัยที่จะแบ่งปันได้  ก็ใช้วิธีตีราคาเป็นเงินตามราคาท้องตลาด เช่นตีราคา 4 แสนบาท  ก็แบ่งมรดกคนละ  2 แสนบาท  ใครต้องการบ้านก็จ่ายสองแสนให้กับอีกฝ่ายหนึ่งไป  เพื่อเป็นเจ้าของบ้านทั้งหลัง  การตกลงใดๆควรทำบันทึกไว้ให้ชัดเจน

   อย่างไรก็ตาม  ปัญหาเรื่องมรดก  เป็นปัญหาโลกแตกแก้ปัญหากันได้ลำบาก   ถ้าป้าไม่ยินยอมท่าเดียว คงมีปัญหาไม่รู้จบ  ขอแนะนำ...ให้ไปที่ศาล  อันเป็นภูมิลำเนา  แจ้งเจ้าหน้าที่ของศาล  ขอให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ในคดีนี้   น่าจะมีทางออกที่เหมาะสมแก่ทั้งสองฝ่าย   การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  ไม่มีค่าใช้จ่าย มีกฎหมายรองรับให้ทำได้(ป.วิ ม.20 ตรี) และอยู่ภายใต้การกไกับดูแลของศาล  คงให้ความมั่นใจได้แน่นอน   ถ้าตกลงกันไม่ได้จะไปฟ้องภายหลังก็ไม่สาย    ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2022-08-22 11:09:18 IP : 223.205.250.78


ความคิดเห็นที่ 3 (4464364)

 ต้องขอขอบตุณท่าน มโนธรรม  มากๆ ครับที่กรุณาแบ่งปันความรู้ มาเป็นเวลา 10 กว่าปี ขอบคุณจริงๆ ครับ  

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข วันที่ตอบ 2022-08-22 21:37:32 IP : 49.228.97.75


ความคิดเห็นที่ 4 (4464373)

 การรับมรดกแทนที่ของบุตรบุญธรรม

 ฎีกาที่ 587/2523

บุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ร้อง เป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตามมาตรา1629. ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการจัดการมรดก ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2022-08-23 11:35:28 IP : 223.205.250.78


ความคิดเห็นที่ 5 (4464611)

 ขอบพระคุณทุกท่านมากนะคะสำหรับคำแนะนำดีๆค่ะ คือประเด็นเรื่องบ้านที่ว่าเป็นชื่อคนคนตาย คือ ย่า มีลูกทั้งหมด 4 คน ค่ะ ตาย 3 คน เหลือแค่ป้าคนเดียวค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้สงสัย วันที่ตอบ 2022-08-26 13:58:04 IP : 101.108.198.187


ความคิดเห็นที่ 6 (4464739)

 การแบ่งปันมรดก

  เมื่อย่า(เจ้ามรดก)ตายลง   บ้าน ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ ลูกทั้ง 4 คน  แม้ ตาย 3 คน  ถ้าผู้ตายมีบุตร   บุตรของเขาก็รับมรดกแทนที่ส่วนของเขาได้ ถ้าเขาไม่มีบุตร ถ้ามีหลาน  หลานก็รับมรดกแทนที่ได้...การแบ่งปันมรดก  เป็นเรื่องทางแพ่ง  ทายาทจะตกลงแบ่งปันกันอย่างไรก็ได้  ถ้าทายาททุกคนยินยอม กฎหมายบอกวิธีแบ่งปันกันไว้ ในกรณีที่ปัญหากันเท่านั้น  ไม่ต้องยึดถือตามนั้นก็ได้...การตกลงแบ่งปันมรดก ควรทำบันทึกไว้ให้ชัดเจนว่า แบ่งปันกันอย่างไร   ให้ทายาททุกคนลงลายมือชื่อไว้ เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง...

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2022-08-27 08:29:54 IP : 223.205.251.213



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.