ReadyPlanet.com


ให้บ้านข้างในย้ายทางเข้าออก


พอดีว่าที่ดินผม ต้องเป็นทางใช้เข้าออก ของบ้านข้างในเค้าได้ใช้ทางนี้มาก่อนที่ที่ดินตรงนี้จะมาเป็นของผม คือประมาณหลายสิบปีแล้ว แต่ผมจะให้เค้าย้ายไปอีกทางหนึ่งซึ่งเค้าก็ต้องทำทางใหม่
อยากทราบว่าผมมีสิทธิให้เค้าย้ายหรือเปล่า



ผู้ตั้งกระทู้ นัน (silaluck_bun-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-12-16 20:15:10 IP : 118.174.85.129


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3229269)

 

ถ้าเป็นทางภาระจำยอม   คุณจะเปลี่ยนแปลงทางเดินที่ทำให้ผู้ใช้ไม่สะดวกในการใช้เส้นทางไม่ได้   แต่เป็นเรื่องทางแพ่ง   ถ้าตกลงกับผู้ใช้เส้นทางได้    ก็สามารถเปลี่ยนแปลงให้เขาใช้เส้นทางใหม่ได้เสมอ

ผู้แสดงความคิดเห็น อนัตตา วันที่ตอบ 2010-12-17 00:30:12 IP : 125.26.108.11


ความคิดเห็นที่ 2 (3229340)

 

ทางภารจำยอมคืออะไรคับ

และถ้าเกิดว่าเค้าไม่ตกลงแสดงว่าผมทำอะไรไม่ได้อย่างนั้นหรอครับ

ก็ต้องให้เค้าใช้ทางนั้นต่อไป

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ให้บ้านข้างในย้ายทางเข้าออก (silaluck_bun-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-17 17:33:43 IP : 125.25.161.182


ความคิดเห็นที่ 3 (3229371)

 ภาระจำยอมเป็นทรัพย์สินที่ตัดทอนรอนกรรมสิทธิ์ของเจ้าของภารยทรัพย์(ที่ดินของคุณ) ในอันที่จะต้องยอมรับกรรมบางอย่างที่กระทบกระเทือนถึงทรัพย์ของตน หรือเจ้าของภารยทรัพย์ต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างซึ่งตนมีอยู่ในกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์นั้น เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ (ที่ดินข้างเคียง)

เช่น การยอมให้เจ้าของสามยทรัพย์(ที่ดินข้างเคียง) วางท่อระบายน้ำ ท่อน้ำ สายไฟฟ้าผ่าน ให้ใช้น้ำในบ่อของภารยทรัพย์ หรือเจ้าของที่ดินยอมให้เจ้าของโรงเรือนใกล้เคียงปลูกโรงเรือนรุกล้ำก็เป็นภารจำยอม ลักษณะสำคัญของภาระจำยอมอยู่ที่ว่า การตัดทอนรอนสิทธิ หรือการงดการใช้สิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์นั้นต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นที่เรียกว่าสามยทรัพย์เท่านั้น ซึ่งกรณีของคุณเจ้าของสามยทรัพย์(ที่ข้างบ้าน) ได้ใช้ทางเดินผ่านบนที่ดินของคุณมาตั้งแต่เจ้าของคนเก่า โดยที่มิได้ถูกโต้แย้งหรือห้ามการใช้ทางเดินนั้นเลยเป็นเวลาหลายสิบปี ดังนั้นย่อมเกิดสิทธิในภาระจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1402 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แล้วครับ ซึ่งเมื่อคุณซื้อที่ดินจากเจ้าของคนเก่ามาภาระจำยอมนั้นก็ย่อมตกติดมาด้วยและคุณจะต้องรับกรรมนั้น แม้ว่าคุณจะพึ่งได้ที่ดินมาเป็นของตนไม่กี่ปีก็ตาม เพราะภาระจำยอมนี้สามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ ไม่ว่าผู้รับโอนนั้นจะสุจริตเพียงใด เสียค่าตอบแทนเท่าใดหรือไม่ ทั้งนั้นเพราะภาระจำยอมที่ได้มาเป็นสิทธิประเภทรอนสิทธิ แต่สิทธิที่บุคคลภายนอกได้ไปเป็นกรรมสิทธิ์ มิใช่สิทธิประเภทเดียวกันอันจะอยู่ในมาตรา 1299 วรรคสอง

ภารจำยอมเมื่ออาจได้มาโดยนิติกรรมและอายุความ ก็อาจสิ้นไปโดยนิติกรรมและอายุความได้เช่นกันกล่าวคือ ถ้ามิได้ใช้สิบปีย่อมสิ้นไปตามมาตรา 1399 นอกจากนี้ภาระจำยอมอาจสิ้นไปตามมาตรา 1394 , 1395 , 1397 , 1398 และ มาตรา 1400 อีกด้วย

สรุปง่าย ๆ ก็คือ เมื่อที่ดินของคุณติดภาระจำยอม(จากเจ้าของเก่าจริง) คุณก็จะต้องรับกรรมในภาระจำยอมนั้นไปด้วย ซึ่งการที่จะไปให้ที่ดินข้างเคียงย้ายไปเดินผ่านทางอื่น แล้วทางนั้นไม่เป็นการสะดวกกับเขาคุณก็ไม่สามารถทำได้ตามกฏหมายนั่นเอง แต่ถ้าตกลงกันเองได้ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ครับ และถ้าถามต่อว่าถ้าคุณไม่ยอมเขามีสิทธิอะไรได้บ้าง สิทธิที่เขามีก็คือใช้สิทธิที่ได้ในภาระจำยอมนี้ไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งคุณได้ครับ แต่ก็จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายพอสมควรซึ่งไม่น่าจะใช่เรื่องที่ดีนัก ฉนั้นลองเจรจาตกลงกันก่อนน่าจะเป็นการดีที่สุดครับ

ปล... การตอบด้านบนเป็นเพียงตอบไปตามข้อเท็จจริงตามที่ให้มาและข้อกฏหมายอย่างคร่าว ๆ โดยรวมเท่านั้น เพราะไม่แน่บางทีคุณอาจจะมีข้อต่อสู้ในเรื่องนี้ก็ย่อมเป็นได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันจะต้องรู้ข้อเท็จจริงทั้งหมดอย่างละเอียดทั้งของฝ่ายคุณเองและฝ่ายที่ดินข้างเคียง ซึ่งถ้ามีจริงก็เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบซึ่งยุ่งยากพอควรครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2010-12-17 23:19:39 IP : 58.11.20.110


ความคิดเห็นที่ 4 (3229526)

ทางภาระจำยอม   เกิดขึ้นโดยอายุความ   เพราะเจ้าของที่ดินปล่อยปละละเลย   ให้คนใช้เดินทางผ่านที่ดิน   โดยไม่โต้แย้งขัดขวาง  ติดต่อกันสิบปี  ผู้ใช้ สามารถเรียกร้องสิทธิภาระจำยอมได้  ถ้าจะปิดทางเดินที่เป็นทางภาระจำยอม   ผู้ใช้ทางเดินก็สามารถฟ้องในฐานละเมิด  และให้จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมได้   เมื่อเป็นทางภาระจำยอม  การจะเปลี่ยนแปลงทางเดินใหม่ ที่ทำให้ผู้ใช้เดือดร้อนย่อมทำไม่ได้ ถ้าเขาไม่ยินยอม  ผมตอบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้  ไม่ได้คิดขึ้นมาเอง.....ทางออกคือใช้การเจรจาตกลงกันถ้าอยากเปลี่ยนทางเดินให้เขาใหม่

ผู้แสดงความคิดเห็น อนัตตา วันที่ตอบ 2010-12-19 09:06:19 IP : 113.53.102.138



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.