ReadyPlanet.com


มรดก


เรื่องของเรื่องค่ะ คือมีผู้หญิงคนหนึ่งเข้ามายุ่งกับพ่อค่ะตอนนี้พ่อทำงานราชการแห่งหนึ่งที่ กทม. อายุ 57 ปีค่ะ(เป็นพ่อของแฟน)แฟนต้องพาไปเซ็นต์ชื่อเข้างานที่ทำงานทุกวัน ข้าราชการที่ใกล้เกษียณแล้วเขาให้ไปเซ็นต์ชื่อเท่านั้นค่ะ ตอนนี้เป็นไตวายระยะสุดท้ายช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาเข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำตอนนี้มีผู้หญิงคนหนึ่งเขาแต่งงานมีลูกแล้วเข้ามายุ่งด้วยค่ะ เป็นผู้ช่วยพยาบาลที่โรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาคือประมาณว่ามาบอกว่าจะขอดูแลแบบว่าคุยกับพ่อแล้วถูกคอกันคือเจอกันช่วง 2 เดือนก่อน ผู้หญิงคนนั้นบอกแฟนว่าถ้าจะกลับบ้าน(ลำพูน) ก็กลับเถอะถ้ากลับบ้านสัก 4-5 วันเขาจะดูแลให้และจะเอาลูกมาดูแลด้วยหนูแต่งงานกับแฟนมาอยู่ที่ลำพูนค่ะ ตอนนี้หนูกับแฟนก็เลยกลัวว่าถ้าหากแฟนไม่อยู่แล้วถ้าหากเขามีเอกสารอะไรเอามาให้พ่อเซ็นต์ยกมรดกให้ก็แย่เลยเป็นไปไม่ได้ที่ว่าเขาจะถูกใจพ่อแฟนหนู คือพ่อแฟนตอนนี้เดินไม่ค่อยได้ใกล้จะตายก็ว่าได้ยังมีคนมาสนใจอีกเหรอค่ะ ตอนนี้พ่อมองไม่ค่อยเห็นและประมาณว่าสมองไม่ค่อยสั่งงานเท่าไหร่มึนๆ เบลอๆตอนนี้เขียนอะไรเป็นประโยคไม่ได้คือเซ็นต์แต่ชื่อได้อย่างเดียวค่ะหนูขอคำปรึกษาด้วยค่ะว่า

1.เป็นไปได้ไหมค่ะว่าถ้าหากผู้หญิงคนนั้นมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรว่ามรดกทั้งหมดที่เป็นของพ่อจะยกให้เขาจัดการทั้งหมด

2.หนูต้องทำอย่างไรบ้าง ถ้าหากพ่อเซ็นต์ว่ายกให้เขาจัดการหรือมกดกเป็นของเขา



ผู้ตั้งกระทู้ ชฎาพร :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-07 11:39:03 IP : 113.53.252.69


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3244391)

1. ก็มีทางเป็นไปได้   เพราะใจคนหยั่งยาก   คนใจดีก็พอมีในโลก  แต่ก็คงเหลือน้อยเต็มทน  ถ้าไม่เคยมีความรู้จักมักคุ้นกันมาก่อนแต่ในอดีต   ก็คงวางใจได้ลำบากว่าเขาจะหวังดีจริง  ส่วนมากก็มักหวังดีประสงค์ร้าย

2.  ก็ลองคุยกับพ่อให้เข้าใจว่าสมควรทำพินัยกรรมไว้   เพื่อป้องกันปัญหาในเรื่องทรัพย์สินในอนาคต   ถ้าท่านยินยอมก็ให้ท่านระบุให้ชัดเจนว่าขอมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่บุตรชื่อ....  และควรระบุในตอนท้ายไว้ว่า  พินัยกรรมที่ทำขึ้นในภายหลังที่ขัดแย้งกับพินัยกรรมฉบับนี้ใช้บังคับไม่ได้   ถ้าท่านยินยอมทำ  ก็คงพอแก้ปัญหาได้บ้าง   แต่เรื่องอาจไม่ง่ายดั่งคิด  เพราะคนแก่เมื่อมีคนมาเอาใจ  คงเคลิบเคลิ้ม  เห็นดีเห็นงามกับที่เขาพูดไปทุกเรื่อง  เผลอๆถ้าไปพูดเรื่องทำพินัยกรรม  อาจโกรธหาว่าจะมาแช่งให้ตายก็ได้   ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ปล่อยไปตามบุญตามกรรม  ถ้าพ่อทำพินัยกรรมให้ผู้อื่นจริง  ก็ค่อยโต้แย้งว่า  พินัยกรรมทำขึ้นในขณะที่สติของท่านไม่สมบูรณ์  ใช้บังคบไม่ได้......เรื่องเงินบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ   ไม่ใช่มรดก   แม้ท่านจะทำพินัยกรรมมอบให้ผู้ใด  ย่อมไม่มีผลบังคับ  เพราะเงินบำเหน็จบำนาญมีระเบียบในการเบิกจ่ายไว้ชัดเจนแล้ว  คือจะตกทอดแก่ภรรยาและบุตรตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญฯครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-05-07 19:26:35 IP : 125.26.107.70



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.