ReadyPlanet.com


ที่ดินติดกัน


ยายผมแบ่งที่ดินให้ลูกๆ 4 คน โดยที่ดินเป็นที่ดินริมแม่นำและเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านกว้างติดกับแม่นำยาวขึ้นไปบนฝั่ง ด้านข้างติดกับที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนอื่น แต่เดิมทุกบ้านก้ใช้ประโยชน์จากแม่นำมาชั่วนาตาปีตั้งแต่อดีต ประมาณ 10 ปีก่อนมีถนนมาสร้างติดกับด้านกว้างอีกด้านหนึ่งของพื้นที่ดินทั้งหมดก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ ทุกครัวเรือนก็เดินออกใช้ถนนและลงใช้ประโยชน์จากแม่นำ เช่น อาบ ประปา เป็นต้น แต่ต่อมีหลานคนหนึ่งได้ซื้อที่ติดด้านแม่นำต่อจากน้าของผมซึ่งเป็นลูกของยายซึ่งเป็นลูกคนเล็กและปัญหามันก็เกิดขึ้น คือ เขาถมดินและล้อมรั้วโดยมีประตูเข้าออกทั้งด้านที่จะออกถนนและด้านติดแม่นำทำให้บ้านของผมและบ้านของลูกยายอีก 2 คนที่อยู่ถัดออกมาลงไปใช้ประโยชน์จากแม่นำไม่หมือนก่อน หากว่าจะลงใช้ประโยชน์ต้องไปขอลูกกุญแจประตูรั้วจากเขา ผมอยากถามว่าเขามีสิทธิทำได้หรือครับตามกฏหมายและครอบครัวผมและลูกยายอีก 2 ครอบครัวจะทำอย่างไรครับ ลืมบอกครับทางออกถนนของเขาไม่มีครับแต่เขาให้ป้าซึ่งเป็นลูกของยายผมไปทำภาระจำยอมในโฉนดให้เขาเดินทางออกได้สะดวก ซึ่งในโฉนดแต่เดิมหลังจากยายแบ่งที่ให้ทุกคนก็เขียนระบุภาวะจำยอมบางส่วนไว้เหมือนกันครับแต่ต้องยกเลิกไปเพราะหลานที่ซื้อที่ไปได้ทำภาระจำยอมใหม่ให้ระบุว่าทางรถยนต์ให้เขาออกถนนสะดวกครับ ส่วนโฉนดของแม่ผมและลูกยายอีกคนไม่ได้ไปแก้ไขภาวะจำยอมเดิมครับ

สรุปคำถาม 1. เขามีสิทธิทำอย่างนั้นหรือครับตามกฏหมาย 2. สามครอบครัวที่ลงแม่นำแม่ไม่ได้เหมือนเดิมจะต้องทำอย่างไรครับ 3. ภาวะจำยอมที่ทำขึ้นใหม่เฉพาะโฉนดของป้ามีผลยกเลิกภาวะจำยอมเดิมที่ระบุในโฉนดทุกฉบับไหมครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ ชาวดิน2 :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-26 11:22:10 IP : 182.93.182.133


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3234917)

1. ถ้าเขาสร้างรั้วภายในเขตที่ดินของเขาเอง ก็ย่อมเป็นสิทธิ์แห่งความเป็นเจ้าของที่เขาจะใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยมได้ แต่ถ้าหากเขาถมดินลงไปในแม่น้ำซึ่งเดิมมิใช่เขตที่ดินของเขาก็ไม่อาจทำได้ เพราะแม่น้ำที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ไม่อาจเข้าครอบครองและยึดถือเพื่อตนได้

2. อันนี้ลองเจรจาดูก่อนก็ได้ครับ เพราะอย่างไรก็ญาติพี่น้องกัน

3. ภาระจำยอมหากไม่ได้ใช้ภายในสิบปีก็ย่อมสิ้นไปตามกฏหมาย กลับกันหากใช้มาโดยตลอดภาระจำยอมนั้นก็ยังคงมีอยู่ไม่สิ้นไปไหน แม้ว่าจะไปจดอีกกี่ครั้งผลก็เท่าเดิมคือไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ ขึ้นมาใหม่ หรือลดน้อยถอยลงแต่ประการใด อีกอย่างที่ดินมันคนละเจ้าของกันไม่ใช่หรอครับ ดังนั้นจะเอาภาระจำยอมแปลงใดแปลงหนึ่งมาเหมารวมว่าติดภาระจำยอมหรือส่งผลกับทุกแปลงไม่ได้ครับ มันมีผลเฉพาะที่เท่านั้นครับ  สรุป ภาระจำยอมที่ป้าคุณไปจดก็มีผลเฉพาะที่ดินของป้าครับ ไม่เกี่ยวหรือส่งผลอันใดในที่ดินแปลงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของป้าคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2011-01-26 13:31:36 IP : 61.90.67.127


ความคิดเห็นที่ 2 (3235001)

เพิ่มเติมครับจากที่ตอบมาข้อ 1.หากเขามีสิทธิล้อมรั้วตามที่บอกมานะครับแล้ว 3 ครอบครัวที่เหลือจะใช้ประโยชน์จากแม่นำได้อย่างไรครับ 2.ตามที่ตอบมาข้อ 3 ในเมื่อมีภาวะจำยอมบางส่วนที่ทำบันทึกข้อตกลงกันไว้และใช้ประจำอยู่ไม่สิ้นไปไหน คือ ระบุว่าใช้ทางลงแม่นำและออกถนนได้ร่วมกันแล้วคำตอบดังข้อ 1 ที่ว่าล้อมรั้วได้ตามสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่เขาจะใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยมได้ แล้วตกลงจะใช้กฏหมายข้อไหนเพราะล้อมรั้วตามสิทธิที่ดินก็ปิดทางลงแม่นำภาวะจำยอมก็หมดไปโดยปริยายและผมเห็นที่ข้างเคียงมีปัญหาคล้ายที่ของผมเจ้าของที่ดินยังต้องเว้นที่ให้เขาออกถนนได้ตามที่เคยใช้มาแต่เดิมเลยครับไม่มีภาวะจำยอมระบุในโฉนดด้วย ขอความกรุณาตอบให้หายสงสัยด้วยครับท่านผู้รู้ทั้งหลาย ขอบคุณครับ

ขอถามข้อกฏหมายเพิ่มเติมครับหากว่ามี 10 กว่าครัวเรือนใช้ประโยชน์ในการดื่ม กิน อาบ และประโยชน์อื่นๆ จากบึงสาธารณะอยู่แต่มีทางลงได้ทางเดียวคือที่ดินของนายดำ หลังจากนั้นนายดำก็ขายที่ให้นายทุน ต่อมานายทุนก็ล้อมรั้วตามสิทธิที่มีในทรัพย์สิน ทำให้ครวบครัวที่เหลือใช้ประโยชน์ในบึงสาธารณะไม่ได้ สงสัยว่านายทุนทำได้หรือครับที่ถามเพราะยังสับสนอยู่ครับเพราะตามสามัญสำนึกงูๆปลาๆแล้วไม่น่าจะทำได้ถึงแม้กฏหมายจะให้สิทธิก็ตาม

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาวดิน วันที่ตอบ 2011-01-27 09:46:15 IP : 182.93.182.133


ความคิดเห็นที่ 3 (3235081)

คือประเด็นในเรื่องภาระจำยอมที่คุณเรียบเรียงมาในหัวข้อมันอ่านแล้วไม่เคลียเท่าไหร่ เพราะจับใจความได้แค่ว่า "ทางออกถนนของเขาไม่มีครับแต่เขาให้ป้าซึ่งเป็นลูกของยายผมไปทำภาระจำยอมในโฉนดให้เขาเดินทางออกได้สะดวก"ผมจึงเข้าใจไปว่าคุณเข้าใจว่าถ้าเปลี่ยนแปลงภาระจำยอมในที่ดินแปลงหนึ่งก็จะส่งผลในที่ดินแปลงอื่นไปด้วยซึ่งอันนี้เป็นความผิดพลาดที่ผมเข้าใจผิดในประเด็นก็ต้องขออภัย ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ แต่ถ้าข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคุณได้สิทธิภาระจำยอมจากที่ดินของเขา เขาก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปิดทางอันเป็นภาระจำยอมนั้นได้ตามมาตรา 1390 ครับเมื่อเขาไม่ยอมเปิดทางหากเจรจากันไม่เป็นผลก็คงต้องไปร้องศาลเพื่อให้สั่งเปิดทางตามสิทธินั้นได้ครับ

ส่วนประเด็นที่คุณถามเพิ่มเติมนั้น ถ้าหากที่ดินของนายทุนมิได้มีภาระจำยอมอยู่ นายทุนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของแห่งทรัพย์นั้นก็ย่อมที่จะกระทำการอะไรกับที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ของตนก็ได้ตามมาตรา 1336 แม้ว่าการปิดทางจะทำให้ผู้ที่เคยใช้แม่น้ำนั้นเสื่อมประโยชน์จากการที่จะใช้น้ำนั้นได้อีกก็ตาม แต่มันก็ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นแต่ประการใดเพราะแม่น้ำมันเป็นของรัฐมิใช่ของเอกชนคนใดคนหนึ่ง และการที่เจ้าของทรัพย์จะใช้ทรัพย์สินของตนเองมันก็เป็นสิทธิที่เขาจะกระทำได้เสมอครับ ด้วยเหตุผลที่อ้างว่าใช้กิน อาบ หรืออื่น ๆ ก็อาจจะดูไม่เป็นเหตุผลนักที่จะบังคับให้เจ้าของทรัพย์ยอมบั่นทอนการใช้สิทธิลงไปเพราะในปัจจุบันน้ำปะปาก็หาได้ไม่ยากนักเพราะทุกครัวเรือนก็คงมีที่สำคัญราคาก็ไม่แพงถึงขนาดจนต้องไปอาศัยน้ำในแม่น้ำแทน กล่าวคือทุกครัวเรือนมีกำลังจ่ายค่าน้ำปะปาได้อย่างแน่นอน แม้มันอาจะจะคาบเกี่ยวไปในเรื่องของความมีน้ำใจอยู่บ้าง(ซึ่งคุณเรียกว่าสามัญสำนึก) แต่ผมขอไม่ใช่คำนั้นแล้วกันนะครับเพราะถ้าคุณลองมองในมุมกลับกันว่า ถ้าการทีเรามีและเป็นเจ้าของทรัพย์สินอะไรสักอย่างแต่กลับใช้สอยหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์ซึ่งเป็นของตนเองแท้ ๆ แต่กลับใช้ได้ไม่เต็มที่โดยจะต้องมาคำนึงถึงผู้อื่นแบบนี้ไปตลอดชีวิตหรือตลอดชั่วลูกชั่วหลาน แบบนี้ก็อาจจะดูไม่แฟร์นักสำหรับในมุมมองของผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์และมีกรรมสิทธิ์ตามกฏหมายนะครับ ฉนั้นมันจึงอยู่ที่ความมีเมตตา หรือน้ำใจมากกว่าครับที่จะให้คนอื่นยอมผ่านทางนั้นลงไปใช้น้ำได้ต่อหรือไม่ คงไม่ถึงขั้นที่เรียกว่าสามัญสำนึกหรอกครับ เพราะการที่เจ้าของทรัพย์จะใช้ทรัพย์ของตัวเองมันไม่ใช่เรื่องที่ผิดทั้งในด้านกฏหมายและด้านศีลธรรมแต่อย่างใด ถ้าคิดในแง่ดีการล้อมรั้วของเจ้าของบ้านก็ป้องกันภัยจากโจรผู้ร้ายหรือสัตว์ได้ในระดับนึง กับกันหากชาวบ้านไปรอนสิทธิของเขาหากเกิดปัญหาหรือมีภัยมาถึงบ้านถามว่าคนที่เดินผ่านทางของเขาจะรับผิดชอบหรือไม่ คืออันนี้ผมไม่ได้โต้แย้งอะไรนะครับ เพียงแต่แสดงความเห็นให้เห็นอีกแง่มุมหนึ่ง มันเป็นเรื่องที่มีมุมมองมองได้สองฝ่ายทั้งฝ่ายผู้ใช้และฝ่ายผู้ให้ใช้ที่จะต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราเพราะคนใช้ทางก็จะคิดอีกมุมหนึ่งที่อยากจะไปใช้น้ำนั้นทำไมต้องมาปิดด้วย ส่วนคนให้ใช้ก็จะคิดอีกมุมหนึ่งว่าทำไมเราจะล้อมรั้วบ้านตัวเองไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ที่ดินมันก็เป็นของเราแท้ ๆ ซึ่งมันจะสวนทางกัน ฉนั้นจึงผมจึงมองว่าเป็นสิทธิของนายทุนตามกฏหมายครับที่จะให้ใช้ทางนั้นต่อหรือไม่ (กรณีไม่มีภาระจำยอมนะครับ) เพราะแวดล้อมและสังคมมันเปลี่ยนแปลงไปทุกวันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2011-01-27 13:14:03 IP : 58.9.73.202


ความคิดเห็นที่ 4 (3235173)

ขอบคุณมากครับที่ตอบให้หายสงสัยขอเพิ่มเติมหน่อยครับ การตกลงภาวะจำยอมบางส่วนในที่ดินเวลาตกลงกันเขาตกลงด้วยวาจาที่สำนักงานที่ดินและต้องลงลายมือชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหรือเปล่าครับ อีกทั้งในโฉนดที่มีภาวะจำยอมจะมีบันทึกอยู่ด้วยเสมอไปหรือไม่ครับ เพราะว่าของแม่ผมมี ของป้าก็มี แต่ผมดูของน้าของผมที่ขายให้หลานซึ่งเป็นโฉนดดั้งเดิมที่ออกตั้งแต่สมัย ร.5 ก่อนแบ่งแยกไม่มีครับแต่ถามน้าและป้าๆ ทุกคนเขาบอกว่าได้ตกลงและลงลายมือชื่อที่สำนักงานที่ดินไว้แล้ว ขอบคุณอีกครั้งครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาวดิน วันที่ตอบ 2011-01-28 10:04:09 IP : 182.93.182.133


ความคิดเห็นที่ 5 (3235196)

ภาระจำยอม อาจเกิดโดยนิติกรรม และ โอยอายุความ ภาระจำยอมโดยนิติกรรมจะทำได้โดยการตกลงกัน ระหว่างเจ้าของที่ดินแปลงที่จะจดเป็นภาระจำยอม และ แปลงที่จะได้รับประโยชน์จากภาระจำยอม โดยจะต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ครับ โดยหลักแล้วหากจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมแล้วก็จะติดอยู่ในโฉนดของภารยทรัพย์นั้นครับ(โฉนดของคนที่ยอมให้ผ่านทาง)

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2011-01-28 13:29:01 IP : 115.87.190.127


ความคิดเห็นที่ 6 (3250343)

สวัสดีค่ะ ขอสอบถามผู้รู้ด้วยคนค่ะ

1.มีที่ดินอยู่ 2 แปลง โดย  แปลงที่   1  ติดถนนสาธารณะ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า(ด้านกว้างติดถนน)

                                    และแปลงที่ 2   อยู่ถัดไปด้านในของแปลงที่ 1 แต่มีคลองสาธารณะกั้นอยู่

 2.แปลงที่ 2  ได้แบ่งขาย โดยฝั่ง 1  มี 3 แปลง  อีกฝั่งมี 2 แปลง รวม 5 แปลง  และตรงกลางเป็นถนนทั้งนี้เมื่อคนมาซื้อและกู้ธนาคาร ทางธนาคารแจ้งมาให้ดิฉันทำการจดภาระจำยอมดังนี้

    -แปลง  1  จดภาระจำบางส่วน(ช่วงตรงกลางของที่ดินเพื่อให้ใช้ทางเข้าออกไปยังแปลงที่ 

    -แปลง  2 ส่วนที่แบ่งเป็นถนนก็ต้องจดภาระจำยอม

 

*ปัญหาคือ 

  1.แปลงที่  1  ในอนาคตดิฉันต้องการแบ่งขาย ซึ่งถ้าดิฉันจดภาระจำยอมให้กับ  5  แปลงข้างใน  ดิฉันจะสามารถแบ่งขายได้ไหมค่ะ(เพิ่งแบ่งโฉนดแปลงนี้ไปเมื่อ ม.ค.54 และจะแบ่งขายเพิ่มอีก 3 แปลง) ดิฉันควรทำอย่างไร จดภาระจำยอมก่อน หรือแบ่งแยกก่อน

  *ด้วยมีคนบอกมาว่าถ้าเพิ่งแบ่งโฉนดไป  จะแบ่งได้อีกทีก็ต้องรอครบ  3  ปี จริงหรือค่ะ

2.คลองสาธารณะไม่มีสภาพเป็นคลองแล้ว (ดิฉันซื้อที่มาจากธนาคารค่ะ) ต้องทำอย่างไรเพื่อให้คนที่มาซื้อกู้ได้ จะเป็นที่ตาบอดไหมค่ะ  

ช่วยตอบด้วยค่ะ เพื่อจะได้มีความรู้และดำเนินการให้ถูกต้องจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น วิลัย วันที่ตอบ 2011-07-08 14:54:18 IP : 125.24.210.224



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.