ReadyPlanet.com


ทำไมคดีนี้ถึงขาดอายุความ ??


 คือเราเพิ่งสนใจกฎหมายเลยลองอ่านข่าวเก่าๆดู อย่างกรณีของน้องโฟร์ มด ที่โดนแอบถ่ายในห้องน้ำที่ โรงแรมแห่งหนึ่ง วันที่ 14 กค 51  แต่คลิปที่แอบถ่ายเพิ่งหลุดมาประมา๊ณ ก.ย. 52 จากที่เราอ่านข่าวดูในข่าวบอกว่าเอาผิดกับคนร้ายไม่ได้ เพราะอายุความหมดแล้วคือ 1 ปี (จาก14กค51 - กย 52)

 
ข่าวจาก
 
http://www.ryt9.com/s/bmnd/670508
 
"รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับการกระทำของพยานทั้ง 3 คน ในคดีดังกล่าว จากการสอบสวนพบว่า อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 388 ข้อหา กระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล หรือกระทำการลามกอย่างอื่น โดยคดีนี้มีระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท และมาตรา 397 ข้อหากระทำการให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่อย่างไรก็ตามถือว่าข้อหานี้คดีจะมีอายุความแค่ 1 ปี นับจากวันที่เกิดเหตุ ซึ่งถือได้ว่าหมดอายุความไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา"
 
1.แต่ที่เราสงสัยคือในเมื่อโฟร์กับมด เพิ่งรู้ตัวว่าตัวเองโดนถ่ายคลิป กย 52. ทำไมเค้าไม่เริ่มนับอายุความจากวันที่รู้ตัวอะคะ ทำไมเค้าต้องนับจากวันที่เกิดเหตุ ?
 
2. แล้วสมมุตว่า (เป็นเหตุการณ์สมมุตนะคะ)นางสาวก.และนายข.เป็นแฟนกัน สมมุตว่า นางสาวก. โดน นายข. มอมยาแล้วพาเข้าโรงแรม นางสาวก.โดนข่มขืนโดยที่ไม่รู้ตัวเพราะโดนยาสลบ นายข.แอบถ่ายคลิปนางสาวก.เก็บไว้โดยที่นางก.ไม่รู้ตัว เวลาเลยผ่านมาเป็น 2ปี นางก.เพิ่งรู้ตัวว่าโดยนายข.ข่มขืน เพราะเห็นจากคลิปโทรศัพท์ แต่เวลาล่วงเลยมา 2 ปีแล้ว (ซึ่งคดีข่มขืนต้องแจ้งภายใน 3 เดือน) แบบนี้ถ้านางสาวก. ไปแจ้งความนับตั้งแต่วันที่เห็นคลิปแบบนี้ถือว่าอายุึความขาดหรือยังคะ ?


ผู้ตั้งกระทู้ งง :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-22 02:14:53 IP : 115.87.69.45


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3248818)

1. ต้องนับแต่วันที่ความผิดสำเร็จหรือวันที่ความผิดเกิดขึ้นสิครับจะไปนับวันอื่นที่ไปรู้ตัวได้อย่างไร(ยกเว้นกรณีความผิดอันยอมความได้ที่ไม่ขาดอายุความหลัก) แบบนี้มันก็ไม่มีวันจบวันสิ้นและสามารถต่อไปได้เรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จบหากว่าผู้เสียหายอ้างว่าพึ่งมารู้ ถ้าทุกคดีไปเริ่มนับเอาวันที่รู้ตัว เช่น อย่างในกรณีนี้รู้ตัวว่าถูกแอบถ่ายเมื่ออายุปาเข้าไป 70 แบบนี้คุณคิดว่าถ้าเอาผิดได้อีกจะสมเหตุสมผลหรือไม่ คำตอบคือไม่ครับ ทุกคดีมันมีกำหนดกฏเกณฑ์ของมันอยู่ครับ เพื่อที่จะไม่ให้คดีล้นศาล การสืบหาพยานหลักฐานที่อาจสูญหายตายจากหรือถูกทำลายไปด้วยกาลเวลาที่ผันผ่านหรือจองล้างจองผลาญกันเกินไปจึงต้องมีอายุความมาเป็นตัวกำหนดสิทธิของผู้เสียหายหรือสิทธิในการใช้สิทธิในการดำเนินคดีครับ ดังนั้นอายุความในคดีอาญาจะต้องไปเริ่มนับจากวันที่กระทำความผิดหรือความผิดสำเร็จนั้นชอบแล้วครับ จะไปนับวันที่รู้ตัวไม่ได้ อีกทั้งคดีนี้ก็เป็นเพียงความผิดลหุโทษในทางอาญาซึ่งมีโทษและอายุความที่ไม่มาก แต่ถ้าหากเป็นความผิดอื่นที่มีโทษหรืออายุความหลายปีแล้วก็คงไม่มีปัญหาเรื่องไม่รู้ตัวหรือขาดอายุความหรอกครับ

2. ถ้าเป็นอายุความร้องทุกข์กฏหมายใช้คำว่า "นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดครับ" ฉนั้นนับแต่วันที่รู้เรื่องได้ครับแต่จะต้องไม่ขาดอายุความหลักคืออายุความในการดำเนินคดีด้วยนะครับ

ปล ... ประโยชน์ของอายุความนั้นมันมีนะครับไม่ใช่คิดหรือตั้งขึ้นมาเล่น ๆ ไม่ว่าประเทศไหนเขาก็ทำกันและผมคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ไม่มีอายุความในการดำเนินคดี เช่นเป็นต้นว่า

ประโยชน์ด้านฝ่ายผู้เสียหาย = ในคดีที่ยอมความได้ช่วยให้การตัดสินใจในการแจ้งความได้เร็วขึ้นและสามารถหาพยานหลักฐานต่างๆได้ดี(เพราะเวลานานพยานหลักฐานอาจหายได้อย่างที่กล่าวไป) หรือ เร่งรัดฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้รีบเร่งทำคดี คดีที่เสร็จเร็วช่วยให้รู้สึกว่ายังมีความยุติธรรม ช่วยเยียวยาทางจิตใจ ป้องกันการกระทำผิดในลักษณะตอบโต้

ประโยชน์ฝ่ายผู้ต้องหา = ไม่ต้องหลบหนีตลอดไปเพราะนักกฏหมายมองว่า การที่ผู้ต้องหาหลบหนีหรือ หลบ ๆ ซ่อน ๆ อยู่นั้นเป็นการลงโทษทางสังคมเพียงพอแล้ว อีกทั้งยังมีโอกาสกลับตัวกลับใจในสังคมเมื่อหมดอายุความ ถือเป็นการให้โอกาสกลับตนเป็นคนดีแก่ผู้กระทำผิดไปในตัวด้วยครับ

คุณต้องมองสองด้านครับ คุณอาจจะคิดว่ามันดูไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียหายที่เอาผิดหรือแก้แค้นผู้กระทำไม่ได้ แต่ในบางกรณีที่ผู้กระทำความผิดกระทำไปโดยประมาทหรือมิได้มีเจตนาที่จะกระทำความผิดนั้น ๆ (โดยปกติผู้ที่จะมีความผิดทางอาญาได้ก็ต่อเมื่อกระทำโดยเจตนาเท่านั้น หลักเรื่องเจตนาเป็นเรื่องสำคัญ) แต่ถ้ากฏหมายบัญญัติว่าให้ต้องรับผิดแม้กระทำโดยประมาทหรือไม่มีเจตนา ก็ต้องว่าไปตามนั้นซึ่งอันนี้ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจในระดับนึง(ในบางความผิดนะครับไม่ใช่ทุกความผิด)เพราะเขาไม่มีเจตนาที่จะก่อเหตุหรือกระทำไปด้วยความประมาท แต่จะเห็นใจฝ่ายผู้กระทำผิดฝ่ายเดียวก็ไม่ถูกกฏหมายจึงต้องเขียนข้อยกเว้นหลักเรื่องเจตนาเอาไว้ให้ต้องรับผิดแม้ว่าจะกระทำไปโดยไม่มีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเพื่อที่จะมุ่งคุ้มครองและเยียวผู้เสียหายจากการถูกกระทำนั้น ๆ ซึ่งอายุความก็ถือเป็นส่วนสำคัญส่วนนึงที่จะเป็นคุณแก่เขาและให้โอกาสเขากลับตัวกลับใจหรือระมัดระวังในการกระทำนั้น ๆ ในครั้งต่อไปให้มากหรือดียิ่งขึ้น ผมจึงมองว่าเรื่องอายุความที่คุณสงสัยนั้นเป็นคุณได้ทั้งฝ่ายผู้เสียหายและผู้ต้องหา หรือเป็นได้ทั้งคุณและโทษอยู่ที่ว่าคุณจะมองมันมุมไหนมากกว่ากันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2011-06-22 04:15:57 IP : 58.9.67.169


ความคิดเห็นที่ 2 (3248825)

แม้ผู้ถ่ายคลิปฯอาจไม่ต้องรับโทษ  เพราะขาดอายุความ    แต่ผู้นำคลิปฯมาเผยแพร่ในภายหลัง  ก็ย่อมมีความผิดฐานหมิ่นประมาท   ถ้าผู้เสียหายแจ้งความภายในสามเดือน   ก็สามารถดำเนินคดีต่อไปได้ครับ

1. ผู้นำคลิปฯมาเผยแพร่   ยังมีความผิดอยู่ครับ

2.  ก็ถือว่าขาดอายุความ    ถ้าเป็นกรณีความผิดที่ยอมความกันได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-06-22 09:40:59 IP : 125.26.106.29


ความคิดเห็นที่ 3 (3248861)

ขอบคุณมากๆคะ ข้อ1 พอจะเข้าใจละ

ส่วนข้อ 2 ที่เราสมมุติ ที่คุณ PUP มาตอบว่า "ฉนั้นนับแต่วันที่รู้เรื่องได้ครับแต่จะต้องไม่ขาดอายุความหลักคืออายุความในการดำเนินคดีด้วยนะครับ"

สมมุตว่าเหตการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ 1 มค 51 แต่นางสาวก.เพิ่งรู้ตัวว่าโดนข่มขืนเพราะเห็นคลิป วันที่ 1 มค 53 (เป็นคดีอาญาที่ยอมความกันได้ อายุความในการฟ้องร้อง 3 เดือน ต้องจับตัวคนร้ายให้ได้ภาย ใน 20ปี)

ขอถามคุณ pup ต่อว่า

1.คดีนี้ถือว่าขาดอายุความแล้วใช่มั้ยคะ ?

2. "ฉนั้นนับแต่วันที่รู้เรื่องได้ครับแต่จะต้องไม่ขาดอายุความหลักคืออายุความในการดำเนินคดีด้วยนะครับ"

จากข้อความนี้หมายความว่า เหตการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มค 51  ต้องรู้ตัวภายในวันที่ 1 มีนา 51 หรอคะ อายุความถึงไม่ขาด ? (แต่นางสาวก.เพิ่งรู้ตัวตอน 1.มค.53 ซึ่งเลย 3 เดือนแล้ว เราเข้าใจถูกหรือเปล่าอะคะหรือว่าอายุความยังไม่ขาด) 

3.คำว่าอายุความหลักในการดำเนินคดี นี่คือ 3เดือน หรือว่า 20 ปี อะคะ ?

ผู้แสดงความคิดเห็น สงสับ วันที่ตอบ 2011-06-22 13:22:17 IP : 124.120.127.254


ความคิดเห็นที่ 4 (3248885)

----ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาล  นับแต่กระทำความผิด  เป็นอันขาดอายุความ

-----ส่วนคดีที่ยอมความกันได้  มีอายุความ  สองชั้น  หรือ  สองซ้อนคือ  คือ ชั้นแรก อายุความทั่วไปตามม.95( มีอายุความ 5 ระดับคืออายุความ 20 ปี  15 ปี  10  ปี 5ปี และ 1 ปี  ตามแต่อัตราโทษแต่ละฐานความผิด) ชั้นที่สอง อายุความร้องทุกข์(แจ้งความ) มีกำหนดสามเดือน  นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด      หมายความว่า  ต้องรู้ทั้งสองอย่างประกอบกัน  ถ้ารู้เพียงอย่างเดียว  อายุความ  สามเดือนยังไม่เริ่มนับ    แต่อายุความทั่วไปตามม.95  คงเดินต่อไป...

1. ในเมื่อ  ยังไม่ขาดอายุความทั่วไปตาม  ม.95   แต่มารู้ตัวผู้กระทำความผิดภายหลัง  ถ้าแจ้งความภายในสามเดือน นับแต่วันที่รู้ตัวผู้กระทำความผิด  ก็ไม่ขาดอายุความฟ้องร้องครับ 

2. เหตุเกิด  1   ม.ค.51  อายุความทั่วไปก็เดินหน้าไปเรื่อยๆ   เมื่อมารู้ตัวผู้กระทำความผิด เมื่อ 1 ม.ค 53 ยังไม่ขาดอายุความทั่วไป    ถ้าแจ้งความภายในสามเดือนนับแต่วันรู้ตัวผู้กระทำความผิด ก็ถือว่าคดียังไม่ขาดอายุความฟ้องร้องครับ

3. ดูตาม  1-2  น่าจะเข้าใจครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-06-22 15:50:20 IP : 180.180.30.12


ความคิดเห็นที่ 5 (3248893)

ขอบคุณคุณคงคาคะ

 

เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วจ้า

ผู้แสดงความคิดเห็น สงสัย วันที่ตอบ 2011-06-22 16:32:36 IP : 124.120.127.254



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.