ReadyPlanet.com


รบกวนให้ความกระจ่าง


เรื่องมีอยู่ว่ามีที่ดินมีโฉนดอยู่แปลงหนึ่งตอนที่ยังไม่ได้ทำอะไรก็ให้ญาติมาอยู่โดยไม่ได้มีการทำสัญญาอะไรทั้งสิ้น และพอเค้ามาอยู่เค้าก็มาทำบ้านเป็นเพิงและก็ได้ไปขอบ้านเลขที่ ณ ที่ดินเปล่าแปลงดังกล่าวเพื่อจะไปขอมิเตอร์ไฟ แต่ไม่ได้มาขอเอกสารยินยอมอะไรจากเราเลย แต่พอเวลาผ่านไปสามปีมีความจำเป็นต้องขายที่ดินแปลงนี้ และได้ทำการบอกกล่าวแต่ยังไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร(ควรต้องแจ้งจดหมายให้ย้ายออกหรือไม่) ญาติให้ย้ายออกแล้ว แต่เค้าไม่ยอมย้ายออก และทำการต่อลองว่าจะให้เท่าไหร่ถึงจะให้ออกตอนแรกก็จะให้ค่าย้ายเป็นเงินจำนวนหนึ่งเห็นแก่ความเป็นญาติ แต่เค้าโลภเรียกเยอะ เลยไม่เข้าใจว่าเรามีใจให้มาอยู่โดยไม่คิดอะไรแล้วมาทำแบบนี้ พอมีช่องทางอะไรพอจะแนะนำได้รึเปล่าครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ธนภัทร :: วันที่ลงประกาศ 2011-03-24 14:32:45 IP : 124.122.97.232


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3240966)

 

ถ้าที่ดินมีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดิน   ก็ยังพอมีโอกาสได้ที่ดินคืน    ก่อนอื่นก็บอกกล่าวด้วยวาจาให้เขาย้ายออกก่อน  ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแบบจดหมายลงทะเบียนแบบตอบรับก็ได้  เพราะ  เขาอยู่ในที่ดิน  โดยไม่มีสัญญาเช่า  หรือสิทธิอาศัยใดๆ  เพียงให้อยู่เปล่า.... ถ้าเขาขัดขืนจะมาเรียกร้องค่ารื้อถอนหรือค่าขนย้าย  ตามประสาคนหัวหมอ  ก็จำเป็นต้องฟ้องขับไล่  และเรียกร้องค่าเสียหายได้   เรื่องค่ารื้อถอนหรือค่าขนย้าย  ไม่จำเป็นต้องจ่าย  เพราะไม่มีกฎหมายว่าจะต้องจ่ายค่ารื้อถอนในกรณีนี้  ที่มีการจ่ายค่ารื้อถอน  เป็นเพียงการประนีประนอมกัน  เพื่อให้เรื่องยุติลงด้วยดี   จึงอาจทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่า  เมื่อไปอาศัยอยู่ในที่ดินของผู้อื่น   ถ้าเจ้าของจะให้ย้ายออก  เจ้าของที่ดินต้องจ่ายค่ารื้อถอนหรือค่าขนย้าย......เมื่อฟ้องขับไล่   เมื่อศาลให้ขับไล่ออกจากที่ดิน  ก็สามารถใช้คำสั่งศาล ออกหมายบังคับคดี ไปรื้อถอนอาคารหรือเพิงพัก  โดยให้เขาเสียค่าใช้จ่ายได้......แต่ถ้าที่ดินมีเอกสารสิทธิ์เป็น  นส.3  หรือ  นส.ก.  การที่จะเรียกร้องที่ดินคืนคงมีปัญหาแน่นอน  เพราะเขาคงอ้างว่าแย่งครอบครองจากเจ้าของเกินหนึ่งปี  เจ้าของไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่   ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง  คุณก็ต้องหาทางพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า  เขาอาศัยอยู่โดยอาศัยสิทธิของคุณ  ไม่ใช่อาศัยอยู่ในฐานะเจ้าของ  ซึ่งคงยุ่งยากแน่นอน  อีสปเล่านิทานเรื่อง   ชาวนากับงูเห่า   เพื่อเตือนใจคน  นิทานเรื่องนี้ยังใช้ได้เสมอแม้เวลาจะผ่านมาเป็นพันปีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนธรรมดา วันที่ตอบ 2011-03-24 16:55:37 IP : 182.52.29.180


ความคิดเห็นที่ 2 (3240984)

แล้วเรื่องการฟ้องขับไล่ต้องใช้ระยะเวลานานรึเปล่า

ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนภัทร วันที่ตอบ 2011-03-24 20:19:51 IP : 124.122.97.232


ความคิดเห็นที่ 3 (3241008)

 

การฟ้องคดี มีบุคคลหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง   อาทิ  โจทก์ จำเลย  ทนายโจทก์  ทนายจำเลย  พยานของทั้งสองฝ่าย  และศาล เป็นต้น  ถ้าแต่ละฝ่ายสามารถนัดการพิจารณาได้ลงตัวกันทุกนัด  การพิจาณาคงไม่นานนัก  แต่ในการปฏิบัติจริง  มักประสบปัญหาอยู่เสมอ เช่น  ฝ่ายหนึ่งพร้อมอีกฝ่ายยังไม่พร้อม ก็มีการขอเลื่อนนัดการพิจารณาออกไป  ประกอบกับคดีความที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลมีจำนวนมาก  การเลื่อนนัดแต่ละครั้งเท่าที่เห็นมา  มักเลื่อนออกไปเป็นเดือน  จึงสรุปแน่นอนไม่ได้ว่า  การฟ้องคดี  จะสิ้นสุดลงเมื่อไร  ถ้ามีการต่อสู้กันถึงสามศาล   ก็คงใช้เวลาประมาณ  3-5  ปี    ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีการเจรจาประนีประนอมกัน   โดยยอมชดใช้ให้อีกฝ่ายเพื่อยุติปัญหา.......คดีประเภทนี้เมื่อมีการฟ้องร้อง    เบื้องต้นศาลก็มักให้ไกล่เกลี่ยเจรจากันก่อน  ถ้าเงื่อนไขที่เขาเสนอมาพอรับได้ไม่หนักหนาจนเกินไป  ก็ควรรับไว้  เพื่อให้คดียุติลงโดยเร็ว........แต่สุดยอดของการยุติปัญหาคือ  การเจรจากันก่อนมีการฟ้องร้อง  โดยมีคนกลางที่เป็นธรรม  และเป็นที่เคารพนับถือของทั้งสองฝ่าย  ช่วยไกล่เกลี่ยเจรจาให้  ถ้าสามารถใช้ทางออกทางนี้ได้  จะลดความสูญเสียลงได้อย่างมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนธรรมดา วันที่ตอบ 2011-03-25 08:38:02 IP : 125.26.113.31



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.