ReadyPlanet.com


สุดจะทน


ดิฉันกับสามีหย่ากันได้ 7 ปีแล้วมีลูกสองคนเป็นหญิงอายุ 16 และชายอายุ 10 ปี ลูกทั้งสอง ฝ่ายพ่อเป็นผู้ปกครอง ทุกวันนี้ทั้งดิฉันและสามีเก่าต่างแต่งงานใหม่ ฝ่ายพ่อได้นำลูกทั้งสองไปให้ทางบ้านคุณปู่ดูแลโดยที่ตัวเองไม่ได้อยู่กับลูกด้วยได้แต่ไปมาหาสู่ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้ส่งเสียอะไรเลยปล่อยให้เป็นภาระของพี่ป้าน้าอาทั้งหมด ลูกคนเล็กไม่มีปัญหาอะไรทุกคนรักจนเห็นถึงความแตกต่าง แต่คนโตจะเทาะเลาะกับคนที่บ้านเป็นประจำ พอทะเลาะกันที่ก็จะประมาณทวงบุญคุณ เงินทุกบาททุกสตางค์ที่แกใช้เงินชั้นนะ อย่างแกจะไปอยู่ไหนได้ ถ้าพ่อแม่แกดีจริงทำไมไม่เอาไปอย่ด้วย เดี๋ยวฉันจะตบแกให้ดู หรือกระทั่งอีกหน่อยแกก็ท้องไม่มีพ่อ บางครั้งทะเลาะกันพอเช้ามาทำข้าวเช้าให้จานเดียวสำหรับลูกคนเล็ก หรือกระทั่งปล่อยให้ลูกคนโตซักรีดชุดนักเรียนเองทั้งที่ทางบ้านก็มีคนรับใช้บรรดาผู้ใหญ่ในบ้านก็พากันเฉย พอมีปัญหาลูกกจะโทรมาหาเหมือนจะให้ช่วย ทางฝ่ายพ่อก็ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่อยากรับผิดชอบลูก ทางบ้านเค้าไม่ชอบดิฉัน ดิฉันไปรับลูกเดือนละหนึ่งครั้งๆละไม่เกินหกชั่วโมงพาไปกินข้าวและซื้อของที่อยากได้ให้เงินเท่าที่จำเป็นเพราะไม่อยากให้มีปัญหา เคยสอนให้ลูกอดทนและรู้จักบุญคุณคนแต่มาถึงวันนี้ไม่แน่ใจว่าเค้ารักลูกดิฉันแบบไหนกันแน่แกถึงได้มีแต่ความเจ็บช้ำน้ำใจ สงสารลูกมากแกไม่สดใสสมวัย แกเคยขอไปอยู่กับพ่อ พ่อบอกไม่ได้ ดิฉันขอเอาลูกมาอยู่ด้วยพ่อก็ไม่ยอม อยากรบกวนถามว่าควรทำอย่างไร ให้ลูกร้องขอมาอยู่กับดิฉัน หรือดิฉันร้องต่อศาลเอาลูกมาอยู่ด้วย ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ตอนนี้เป็นแม่บ้านไม่ได้ทำงานใจจริงอยากรอให้พร้อมกว่านี้แต่เป็นห่วงลูกคนโตเหลือเกิน ถ้าจะเอาคนโตมาอยู่คนเดียวได้หรือไม่ รบกวนด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ พัช :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-20 07:36:26 IP : 1.46.179.115


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3251173)

เด็กที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่น ย่อมมีความคิดแตกต่างจากญาติๆที่มีอายุห่างกันมาก   ที่เรียกกันว่าช่องว่างระหว่างวัย    เมื่อมีความเห็นแตกต่างกัน ก็ย่อมเกิดความขัดแย้ง   และนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งในที่สุด   ก็ต้องสอนลูกให้รู้จักคำว่า อดทน   อย่าไปฟังความข้างเดียวจนเกินไป  ต้องสอนลูกแบบกลางๆคือให้ยอมอ่อน้อมถ่อมตนต่อญาติผู้ใหญ่บ้าง   การที่เขาให้เด็กรีดผ้าของตัวเอง  ถือว่าญาติๆเขาคิดถูกต้องแล้ว   เพราะเป็นการฝึกหัดให้เด็กรู้จักการทำงาน  รู้จักการช่วยเหลือตนเอง  คุณทำไมไปคิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่โต.....เมื่อมีการโต้เถียงกัน  ก็ย่อมมีการทวงบุญกันเป็นเรื่องธรรมดา  แต่ลึกๆแล้ว  เขาก็คงยังรักและเมตตาหลานอยู่  เพราะการเลี้ยงดูเด็กแต่ละคน   ต้องสูญเสียอะไรๆมากมาย  เกินกว่าที่คิด  ทั้งค่าใช้จ่าย  สูญเสียเวลาที่เป็นของส่วนตัว  ที่ต้องมากังวลดูแลห่วงใยเด็กที่ เขาไม่ได้ทำให้เกิดมา  แต่ต้องมารับผิดชอบ  คุณก็คิดมากไปเองว่า "สุดทน"   ญาติๆเขาก็คงสุดทนเช่นกัน ที่ต้องแบกภาระเลี้ยงดูเด็กตั้งสองคนครับ......ถ้าอยากนำลูกมาอยู่ด้วยก็ทำได้  คือตกลงกับพ่อของเด็กก่อน   เรื่องไปฟ้องศาลอย่าไปทำเลย  เพราะมันไม่คุ้มหรอก    แต่ก่อนจะนำลูกมาอยู่ด้วย  ต้องคิดให้รอบคอบว่าคุณ  สามารถดูแลให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียนได้ดีพอหรือไม่  เพราะการเลี้ยงดูเด็กจนกว่าจะเติบใหญ่จนสามารถประกอบอาชีพได้เอง ต้องใช้เงินหลายแสนบาท   พ่อของเด็กย่อมตระหนักในข้อนี้จึงไม่ยอมให้คุณนำลูกมาอยู่ด้วยครับ......ไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย    เป็นปัญหาชีวิตครอบครัว  ตอบตามประสบการณ์ชีวิตที่พบเห็นมายาวนาน  ถ้าไม่เป็นที่สบอารมณ์ก็ต้องขออภัย  แต่ตอบด้วยเจตนาดีอย่างแท้จริงครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-07-20 08:14:06 IP : 125.26.109.169


ความคิดเห็นที่ 2 (3251177)

ขอขอบพระคุณ คุณคงคา ที่ให้ความรู้ค่ะ ดิฉันเป็นผู้ถามมีผู้มาตอบถือเป็นพระคุณค่ะ  อ่านแล้วคงไม่อาจที่จะไม่สบอารณ์ได้จากใจจริงนะคะ ตามที่ดิฉันได้ตัดสินใจจะนำเอาลูกมาอยู่ด้วยนั้นเพราะดิฉันได้คิดรอบคอบแล้วว่าดิฉันสามารถเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กตามที่ควรจะเป็นได้ ไม่เช่นนั้นคงไม่รอมาจนนานป่านนี้ มันก็คงเป็นธรรมดาของหัวอกคนเป็นแม่นะคะที่ได้รับฟังเรื่องราวแบบนี้จากลูกมาโดยตลอด 7 ปี และเพราะไม่ใช่จากการฟังความข้างเดียวนะคะแต่จากการที่ดิฉันได้สัมผัสกับครอบครัวนี้มาเป็นระยะเวลา 11 ปีด้วยค่ะ ที่ดิฉันตัดสินใจนำลูกมาอยู่ด้วยเพราะ 1. ลูกร้องขอ 2. พ่อเค้าก็ไม่อาจนำลูกไปอยู่ด้วยได้ทั้งที่ลูกร้องขอ 3. เพราะดิฉันทราบดีถึงภาระนี้เกรงว่านานไปจะมีการทะเลาะกันถึงขั้นลงไม้ลงมือ 4.ตอนนี้ดิฉันซื้อบ้านแล้วไม่ต้องเช่าเค้าอยู่ และกำลังจะเปิดร้านอาหารแต่ติดที่สัญญาอยู่ค่ะ 5. ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาดิฉันไม่เคยได้ไปรับลูกแบบสบายใจเลยมีปัญหาตลอดและไม่สามารถเอาลูกมาค้างด้วยได้(ไม่ทราบว่าอันนี้น่าจะเกี่ยวกับข้อกฎหมายรึเปล่า)  ท้ายสุดนี้สิ่งที่ดิฉันอยากทราบคือดิฉันต้องรอให้มีงานทำก่อนรึเปล่าคะถึงจะดำเนินการได้ค่ะ หากเวลามีคดีเช่นนี้ศาลท่านจะพิจารณาจากอะไรเป็นสำคัญคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น พัช วันที่ตอบ 2011-07-20 09:18:23 IP : 115.67.213.88


ความคิดเห็นที่ 3 (3251178)

แม้พ่อจะมีอำนาจปกครองบุตร  คุณผู้เป็นแม่   ก็สามารถนำบุตรมาดูแลได้ตามสมควร   ...การปกครองบุตร...ถ้าคุยกับพ่อเด็กไม่เป็นผล    คือเขาไม่ยอมให้เด็กมาอยู่ในปกครองของคุณ    ก็ต้องให้ศาลวินิจฉัย    คุณก็ต้องนำเสนอรายละเอียดในการทำมาหากิน   รายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือน  ค่าใช้จ่าย   และมีเงินเหลือพอจะเลี้ยงดูบุตรให้มีความสุขได้มากน้อยเพียงใด.....เรื่องอำนาจการปกครองบุตร   กฎหมายก็เพียงเขียนไว้กว้างๆคือ " ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ"(ปพพ.ม1520)   ตามความเห็น   การที่บิดาไม่ได้ดูแลบุตรเอง  แต่ให้อยู่ในความปกครองของญาติ   ศาลน่าจะให้โอกาสคุณซึ่งเป็นแม่  ได้ปกครองบุตรได้ครับ.....แต่ต้องใช้สิทธิทางศาล   ย่อมมีค่าใช้จ่ายตามมา ลองติดต่อมูลนิธิปวีณาเพื่อขอความช่วยเหลือ  อาจสะดวกขึ้นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-07-20 09:52:01 IP : 125.26.109.169



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.