ReadyPlanet.com


ผิดสัญญาตกแต่งพื้นที่ร้านค้า


 กรณีที่ทางบริษัทฯต้องการฟ้องผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งผิดสัญญากก่อสร้างพื้นที่ตกแต่งร้านค้า เนื่องจากไม่สามารถสร้างเสร็จให้ทันภายในกำหนด

-กรณีนี้ถือว่าเป็นคดีเพื่อผู้บริโภคหรือเปล่าครับ

-ทำสัญญากันที่บริษัทฯ แต่ตกแต่งร้านที่ห้างบางกะปิครับ

-อายุความกี่ปี ครับ

หมายเหตุ ทนายบางท่านบอกว่าเป็นคดีเพื่อผู้บริโภค ต้องใช้กระดาษสั้น และต้องฟ้องตามภูมิลำเนาจำเลยครับ

             แต่ก็มีทนายบางท่านอีกเช่นกันว่ากรณีนี้เป็นสัญญาจ้างทำของเป็นคดีแพ่งสามัญ ต้องใช้กระดาษยาวครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ธนกฤต :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-09 11:53:29 IP : 101.108.25.210


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3252699)

จะเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่   เป็นปัญหาข้อกฎหมาย   พรบ.  วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551  จึงได้กำหนดทางแก้ไขไว้  หากมีการโต้แย้งกันว่า  เป็นคดีบริโภคหรือไม่  ตาม  มาตรา  8.....

าตรา ๘  ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาใดๆ ที่ได้กระทำไปก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยนั้น

การขอให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาตามวรรคหนึ่งไม่ว่าโดยคู่ความเป็นผู้ขอหรือโดยศาลเห็นสมควร ถ้าเป็นการขอในคดีผู้บริโภคต้องกระทำอย่างช้าในวันนัดพิจารณา แต่ถ้าเป็นการขอในคดีอื่นต้องกระทำอย่างช้าในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานหากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วห้ามมิให้มีการขอให้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอีก และเมื่อได้รับคำขอจากศาลชั้นต้นแล้ว ให้ประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยและแจ้งผลไปยังศาลชั้นต้นโดยเร็ว
เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว การดำเนินการใดๆ ระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ตามมาตรานี้ จะดำเนินการโดยทางโทรสารหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดก็ได้

......เพิ่มเติม.....ตามความเห็นส่วตัว  น่าจะเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ   เป็นคดีแพ่งสามัญ  ต้องฟ้องที่ภูมิลำเนาของจำเลย  หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น   อายุความฟ้อง 10 ปีตามฎีกาเทียบเคียงที่ยกมา......อย่างไรก็ตาม   ก็ควรฟ้องเป็นคดีบริโภคก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2542

โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้างทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน2537 จึงไม่ขาดอายุความ

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-08-09 20:55:06 IP : 125.26.109.135



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.