ReadyPlanet.com


เรื่องเด็ก


ดิฉันมีเรื่องอยากปรึกษา ไม่รู้จะถามใคร คือพี่สาวดิฉันได้หย่ากับพี่เขย ในใบหย่าบอกว่าให้หลานของดิฉันอยู่ในอำนาจการปกครองของพี่สาวดิฉันแต่เพียงผู้เดียว แต่บิดาสามารถเลี้ยงดูฉันท์บิดาได้ แต่ไม่ได้ระบุถึงเรื่องค่าเลี้ยงดู เพราะตอนนั้นพี่สาวต้องการให้หลานอยู่ด้วยอย่างเดียว จึงไม่ได้พูดเรื่องนี้ในตอนหย่า แล้วตอนนี้ถ้าพี่สาวฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูหลานจากอดีตพี่เขยได้หรือเปล่า



ผู้ตั้งกระทู้ วรดา :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-09 09:12:36 IP : 123.242.177.73


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3252650)

ก็ให้พี่สาวฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร  จากอดีตสามีได้   ตามแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ยกมาครับ

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7108/2551

ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันในการให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะทำนองเป็นลูกหนี้ร่วมกัน หาใช่เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวไม่ ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 การกำหนดความรับผิดเป็นอย่างอื่นตามกฎหมายดังกล่าวอาจกำหนดโดยนิติกรรมสัญญาหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถึงแม้โจทก์และจำเลยจะแยกกันอยู่และโจทก์นำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วยกับโจทก์ก็ตาม เมื่อมิได้ตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเพื่อแบ่งส่วนตามความรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดชำระค่าค่าเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มีทรัพย์สินมากกว่าและโจทก์นำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วยเพื่อปฏิเสธที่จะไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ แม้จำเลยจะได้ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ดังที่จำเลยอ้างก็เป็นเรื่องให้การศึกษาซึ่งเป็นคนละส่วนกับค่าอุปการะเลี้ยงดู จำเลยก็จะนำมาอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูเห็นสมควรเป็นจำนวนเพียงใดนั้น ศาลมีอำนาจกำหนดโดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 ทั้งศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกในภายหลังได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/39

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-08-09 10:22:31 IP : 125.26.109.163


ความคิดเห็นที่ 2 (3252653)

ขอบคุณค่ะ สำหรับคำแนะนำดี

ผู้แสดงความคิดเห็น วรดา วันที่ตอบ 2011-08-09 11:00:04 IP : 123.242.177.73



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.