ReadyPlanet.com


ที่ดินภาระจำยอม


มี่ที่ดินที่ถูกกำหนดให้เป็นที่ภาระจำยอมสำหรับทางเดิน ซึ่งตอนแรกเจ้าของที่ดินที่ต้องใช้ทางผ่านบนที่ดินของเราเป็นญาติกันก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ตอนหลังญาติได้ขายที่ดินบางส่วนให้กับคนอื่น แต่ก็ยังใช้เส้นทางนั้นในการเข้าออกอยู่ ซึ่งเส้นทางที่เข้าออกนั้นเดิมกว้าง 2.5 เมตร แต่ต่อมาเจ้าของที่ที่มาซื้อที่กับญาติเรามีรถยนต์ทำให้เขาเข้าออกลำบาก จึงมาขอเราให้เพิ่มอีกเท่าตัวเพื่อให้รถสามารถเข้าออกได้ แต่เนื่องจากพูดคุยกันไม่ลงตัวและมีการข่มขู่ทางเราจึงไม่ยอม เจ้าของที่ที่มาซื้อที่กับญาติจึงไปฟ้องร้องต่อศาลและเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งเป็นจำนวนเงิน 300000 บาท อยากทราบว่าในกรณีนี้ควรปฏิบัติอย่างไรค่ะ และคดีจะเป็นไปในทิศทางใด และแบบนี้สามารถฟ้องกลับได้ไหมค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ พลอย :: วันที่ลงประกาศ 2011-10-23 11:54:37 IP : unknown


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3267268)

 

 

 

การให้ญาติใช้เป็นทางเจ้าออก    อาจไม่เป็นทางภาระจำยอม ก็ได้  เพราะ ลักษณะทางภาระจำยอม ต้องเป็นลักษณะแย่งการครอบครอง โดยเจ้าของไม่ยินยอม   แต่การใช้ทางโดยเจ้าของที่ดินยินยอมน่าจะไม่เกิดภาระจำยอม   แม้จะใช้ทางเดินมากว่า 10 ปี แล้วก็ตาม    แต่เมื่อถูกฟ้อง   ก็จำเป็นต้องให้การต่อสู้ว่าทางที่ใช้อยู่  ไม่ใช่ทางภาระจำยอม  ให้ศาลยกฟ้อง    พร้อมเรียกร้องค่าเสียหายและให้โจทก์ชดใช้ค่าธรรมเนียมศาล  ค่าทนายความ   ค่าใช้จ่ายอื่นๆเป็นต้น     ทิศทางคดีจะออกไปรูปใด  ก็คงตอบลำบาก   ก็คงต้องคอยฟังคำพิพากษาครับ  ...ตามความเห็นส่วนตัว   แม้ศาลจะมองว่าเป็นทางภาระจำยอม   โจทก์คงขอขยายทางเพิ่มเป็นเท่าตัวไม่ได้    ขอยกแนวคำพิพากษาฎีกาเทียบเคียงที่วินิจฉัยเกี่ยวกับ ทางภาระจำยอมมาให้คุณพิจารณาครับ
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2550
นายชั้น สาระสุข
     โจทก์
นายทัศนัย จินดาวนิช
     จำเลย

 
ป.พ.พ. มาตรา 1382, 1401
 
          การอยู่ร่วมกันของคนในชนบทตามปกติจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้โดยถือวิสาสะ อันเป็นการเอื้อเฟื้ออาทรต่อกัน การใช้ทางพิพาทของโจทก์ในลักษณะเช่นว่านี้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้จะใช้นานกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่โจทก์โดยอายุความตามมาตรา 1401
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 11305 ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 5414 ที่ดินโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะโจทก์ใช้ทางคันดินกว้างประมาณ 2 ศอก สูงประมาณ 1 ศอก ยาวประมาณ 4.5 เส้น ซึ่งเป็นคันกั้นเขตที่ดินของจำเลยกับนายทองคำ ธรรมปัญญา โดยอยู่ในที่ดินของจำเลย 1 ศอก อยู่ในที่ดินของนายทองคำ 1 ศอก เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลา 18 ปีแล้ว ทางดังกล่าวจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2538 จำเลยและบริวารทำลายคันดินในส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายใช้เส้นทางไม่สะดวก ขอให้พิพากษาว่า ทางพิพาทตามรูปแผนที่ท้ายฟ้องตกเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยซ่อมแซมคันดินพิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการแล้วให้จำเลยออกค่าใช้จ่าย
          จำเลยให้การว่า คันดินพิพาทมีความกว้างเพียง 1 ศอก ยาวตลอดแนวเพียง 3.18 เส้น บางส่วนอยู่ในที่ดินของนายทองคำทั้งหมด โจทก์และบริวารอาศัยคันดินพิพาทเดินเข้าออกในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย มิใช่โดยปรปักษ์ ทางพิพาทจึงไม่ใช่ภาระจำยอมขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางพิพาทตามเส้นสีฟ้าในแผนที่วิวาทหมาย จ.1 ซึ่งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5414 ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ของจำเลย ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11305 ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ของโจทก์ ให้จำเลยซ่อมแซมทางพิพาทที่จำเลยขุดออกให้ทางมีความกว้าง 80 เซนติเมตร ตามสภาพเดิมตลอดทางตั้งแต่ทางสาธารณะไปจนถึงที่ดินของโจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการก็ให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 11305 ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยซื้อมาตั้งแต่ปี 2513 ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 5414 ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยซื้อมาตั้งแต่ปี 2534 ที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยอยู่ติดต่อกัน โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นคันนาแบ่งเขตที่ดินของจำเลยกับที่ดินของนายทองคำ ธรรมปัญญา เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะตลอดมา ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความหรือไม่ โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ตามปกติประเพณีของท้องถิ่นสามารถใช้คันนาเป็นทางเดินได้ทั่วถึงกันโดยไม่มีการหวงห้าม เห็นว่า การได้ภาระจำยอมโดยอายุความนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิดังกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม กล่าวคือจะต้องเป็นกรณีที่เจ้าของสามายทรัพย์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินภารยทรัพย์นั้นโดยความสงบและโดยเปิดเผย และด้วยเจตนาจะได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แต่จากข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การอยู่ร่วมกันของคนในชนบทตามปกติแล้วจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้โดยถือวิสาสะ อันเป็นการเอื้อเฟื้ออาทรต่อกันของคนในสังคม การใช้ทางพิพาทของโจทก์ก็เข้าอยู่ในลักษณะเช่นว่านี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยนานกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่โจทก์โดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องจึงชอบแล้ว”
          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
 
 
 
( เรวัตร อิศราภรณ์ - ประทีป เฉลิมภัทรกุล - วีระชาติ เอี่ยมประไพ )

 

 

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2011-10-23 14:42:49 IP : 125.26.106.254


ความคิดเห็นที่ 2 (3267271)

ขอบคุณค่ะ

ลืมบอกไปค่ะว่าที่ที่กล่าวถึงนี้ในโฉนดที่ดินได้ระบุตั้งแต่แรกแล้วว่าพื้นที่นี้กหนดให้เป็นพื้นที่จำยอมแต่ในโฉนดไม่ได้บอกว่าต้องกว้างเท่าไร บอกเพียงแต่ว่าเป็นเส้นทางภาวะจำยอมใช้สำหรับทางเดิน ซึ่งที่เราแบ่งไว้ให้นั้นก็ระยะ 2.5 เมตร ตั้งแต่ต้น แต่มีการเลื่อนเขตทางหนึ่งครั้ง เนื่องจากครั้งแรกด้านข้างของบริเวณทางเดินเป็นคูน้ำ เมื่อฝนตกน้ำมามากทำให้กัดเซาะทางเดินเล็กลงครอบครัวเราจึงถมที่ตรงบริเวณคูน้ำให้เป็นพื้นเรียบและใช้เป็นทางเดินได้ ซึ่งทำให้ทางเดินมันกว้างขึ้น แต่เราก็ได้มีการย้ายเสาร์ไฟฟ้าเข้ามาเพื่อให้มีทางเดินกว้าง 2.5 เมตรเท่าเดิม ตรงนี้ถือเป็นความผิดไหมค่ะ มีคำแนะนำเพิ่มเติมไหมค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น พลอย วันที่ตอบ 2011-10-23 15:17:10 IP : unknown


ความคิดเห็นที่ 3 (3267349)

ถ้าทำการดังที่คุณบอก  ไม่ถือว่าทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก   ตาม ปพพ ม. 1390  เขาเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้....แต่เมื่อเขาฟ้องก็ต้องให้การต่อสู้ตามกำหนดนัด  เพื่อแถลงข้อเท็จจริงว่า ทางภาระจำยอมไม่ได้เสื่อมความสะดวกแก่เขาแต่อย่างใด   ถ้าไม่ยื่นคำให้การต่อสู้ตามนัด  ย่อมเสียเปรัยบ  เสมือนถูกมัดมือชก  ย่อมเสียสิทธิในการต่อสู้คดีหลายประการ  แต่คดีแบบนี้มักจบลงด้วยการไกล่เกลี่ยประนีประนอม เขาคงสำคัญผิด หรือฟังคำยุยงว่าสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้มากมาย  ก็ปล่อยเขาไปเถอะ การเรียกร้องค่าเสียหายไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา   ใช่ว่าจะเรียกร้องได้ตามอำเภอใจ   โชคดีครับ

มาตรา 1390 ท่านมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะ เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2011-10-24 06:14:41 IP : 125.26.106.28


ความคิดเห็นที่ 4 (3314427)

   ดิฉันได้ซื้อที่ดินจากกรมบังคับคดีมามีบ้านหนึ่งหลังเนื้อที่59ตารางวาซื้อมาได้ประมาณ 5เดือนอย่าปรับปรุงซ่อมแซมบ้านทำรั้วกั้นเขตให้เรียบร้อย แต่ทางเจ้าของที่ที่อยู่ด้านหลังได้มาคัดค้านมิให้สร้างรั้วกั้นเขตเพราะเค้าอ้างว่าได้สัญจรเข้าออกทางนี้มาตลอดซึ้งที่ดินพื้นนี้ได้แบ่งออกให้แก่พี่น้องทั้งหมดจำนวน7แปลงแต่ตอนที่แบ่งที่ดินนั้นไม่ได้แบ่งในโฉนดว่าเป็นถนนกี่ตารางวาแล้วจะมาแจ้งคัดค้านการสร้างรั้วกั้นเพราะที่ดินที่ข้าพเจ้าซื้อที่ดินมานี้ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าต้องตกอยู่ในภาระจำยอยเนื่องด้วยกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในที่ดินแปลงนี้ข้พเจ้ายอมสร้างกำแพงได้หรือไมแต่ที่ด้านในเค้าสามารถสัญจรที่ดินแปลงอื่นก็ได้เพราะมีทางออกอีกทางอยู่ค่ะและหากอยากได้ที่ดินนี้เป็นทางเดินต้องซื้อจากข้าพเจ้าใช่หรือไม่ค่ะช่วยแนะนำด้วยค่ะเดือดร้อนจริงๆๆ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น รุ่งอุดร วันที่ตอบ 2013-11-04 11:12:40 IP : 49.48.107.19


ความคิดเห็นที่ 5 (3629249)

    กระผมได้รับที่นามาจากบิดาประมาปี2538 แต่ได้ให้พี่สาวทำกินมาโดยตลอด แต่ก่อนที่นาผืนนี้บิดาได้ซื้อต่อมาจากป้าที่เป็นญาติกัน ซื้อในเชิงขอร้องให้ซื้อเพราะที่นาแปลงนี้อยู่ปลายนาของน้องชายของป้าคนนี้ถ้าพูดไปก็คือไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะแต่ป้าคนนี้ได้ตกลงกันน้องชายของเขาและบิดาของผมให้ทำทางถนนสำหรับเข้าออกได้โดยผ่านที่นาของน้องชายของป้าคนนี้ แต่ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาผ่านทางกันอย่างเป็นทางการใช้ความเชื่อใจกันทางเส้นที่เข้าออกนี้ได้มีข้อตกลงกันว่าถ้าเสียหายก็ให้ปรับปรุงร่วมกันทั้งสองฝ่ายทางเส้นนี้เกิดขึ้น 20 กว่าปีแล้วครับซึ่งบิดาและพี่สาวของกระผมก็ใช้ทางเส้นนี้เข้าออกอย่างเปิดเผยตลอด กระทั้งปี2556 น้องชายของป้าที่กล่าวถึงได้ยกที่นาให้ลูกชายแล้วลูกชายได้ยกที่นาต่อให้หลาวสาวของเขาอีกต่อหนึงเรื่องจึงเกิดขึ้นว่า หลานสาว(เจ้าของนาปัจุบัน)ไม่ยอมให้ผ่านเข้าออกทางเส้นนี้ถ้าจะผ่านจะต้องจ่ายเงินค่าผ่านทางก่อนถึงจะผ่านได้เรียกร้องเงินค่าผ่านทางเป็นเงิน100,000บาท กระผมขอสอบถามด้วยความกรุณาถนนเส้นนี้เกิดขึ้นมา 20กว่าปีแล้วนั้น ทางถนนเส้นนี้ถือเป็นที่ภาวะจำยอมได้หรือไม่ครับถ้าไม่มีถนนเส้นนี้เข้าไปทำนาลำบากอย่างยิ่งครับ

 

 

                                                                                                                          

ผู้แสดงความคิดเห็น นายธวัช วันที่ตอบ 2014-04-25 17:43:34 IP : 125.25.145.252


ความคิดเห็นที่ 6 (3935286)

 รบกวนสอบถามเรื่องภาระจำยอมครับ ผมซื้อบ้านอยู่อาศัยในโครงการหนึ่งอยู่มา10กว่าปีเสียค่าส่วนกลางมาตลอดโดยใช้ทางเข้าออกทางเดียวกับสมาชิกทุกคนในหมู่บ้าน ต่อมาที่หมู่บ้านจะมีการจัดตั้งนิติบุคคลจึงรู้ว่าตัวเองโดนหลอกให้ซื้อบ้านนอกจัดสรรทั้งที่บ้านอยู่ในรั้วโครงการทางเข้าออกใช้ถนนเส้นเดียวกันกับคนในหมู่บ้าน ประเด็นหากตั้งนิติบุคคลแล้วเราจะฟ้องเรื่องภาระจำยอมได้ไหมเราใช้เส้นทางนี้เกินกว้า10ปีแล้วโอกาสทางคดีมากน้อยเพียงใดครับ เข้าภาระจำยอมหรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น นก วันที่ตอบ 2016-01-31 12:01:48 IP : 125.24.7.75


ความคิดเห็นที่ 7 (3965433)

รบกวนสอบถามเพิ่มเติมครับ ในประเด็นภาระจำยอมโดยอายุความคือเราใขเส้นทางเข้าออกของโครงการมากว่า10ดีแล้ว ต่อมาเราขายบ้านคืนโครงการเนื่องจากเป็นบ้านนอกผังจัดสรร  หลังจากขายแล้วเราอยากอยู่ต่อโดยเราขอซื้อคืนจากโครงการ อายุความภาระจำยอมนี้ต้องเริ่มนับใหม่หรือนับต่อได้ (ขายคืนเจ้าของเดิมแล้วเราซื้อคืนจากเจ้าของเดิมอีก) มีคำพิพากษาเป็นแนวทางหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น นก (sank2044-at-outlook-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2016-03-18 15:58:07 IP : 110.169.65.79


ความคิดเห็นที่ 8 (3981514)

 อยากเรียนถามเกี่ยวกับทางภาระจำยอมค่ะตอนนี้แม่โดนฟ้องทางภาระจำยอมและทางสาธารณะค่ะเจ้าของที่นา3เจ้าสมัยก่อนเค้าไม่มีทางเข้านาเค้าก็เลยมาขอผ่านทางที่นาของแม่ซึ่งตอนที่เค้าขอผ่านยายยังไม่เสียยายสงสารก็เลยให้เค้าเดินผ่านที่นาค่ะพอยายเสียแม่ก็ยังให้เค้าผ่านปกติค่ะแต่เค้าไม่พอใจอยากขขายทางให้กว้างค่ะลืมบอกไปแม่ทางเพื่อเอาไว้ขนข้าวตั้งแต่ยายยังไม่เสียก็ร่วม30ปีแล้วค่ะเขาพยามหาเรื่องแม่ตลอดพยามจะเอารถไปขยายทางแต่แม่ก็คัดค้านเรื่องถึงผู้ใหญ่บ้านก็หลายหนก็ยังมิวายเค้าให้รถไปทำโดยที่แม่ไม่เอาท่อไปลงข้ามร่องนำ้ไปที่นาเค้าค่ะพอแม่ทักท้วงเค้าก็ขอโทษค่ะเค้าบอกว่าต้องโดดข้ามร่องนำ้มาหลายปีแม่ทำอะไรเค้าไม่ได้ก็เลยปล่อยเลยตามเลยค่ะแล้วล่าสุดปี58น้องชายเอารถไถนาเดินตามไปเซาะหญ้าข้างทางเค้าก็ไปแจ้งผ้ใหญ่ว่าแม่บุกรุกทางเค้าก็เลยมีการเรียกไปตกลงกันแม่ไม่อยากมีเรื่องก็เลยยอมให้เค้าถมดินตรงที่น้องเซาะกลับคืนก็นึกว่าเรื่องจะจบเค้ากลับไปฟ้องศาลค่ะว่าแม่ทำลายทางของเค้าให้แม่ขยายทาง4.50เมตรค่ะทางที่แม่ทำไว้ก็2เมตรกว่ารถเกี่ยวข้าวเล็กก็เข้าได้รถไถนาก็เข้าได้แต่เค้าจะให้แม่ขยายทางเพิ่มเกือบเท่าตัวเพราะเค้าเอาหกล้อญาติมาขนข้าวแล้วมันเข้าลำบากค่ะเค้าฟ้องทางภาระจำยอมและทางสาธารณะค่ะที่นาของแม่เดิมเป็นสค1ค่ะยายแบ่งให้แล้วยายก็ไปออกเป็นใบอะไรก็รู้ของกรมป่าไม้ค่ะแม่มีสิทธิฟ้องร้องเอาค่าผ่านทางหรือเปล่าค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มณีวรณ เกษลคร วันที่ตอบ 2016-04-11 17:03:58 IP : 10.85.64.100


ความคิดเห็นที่ 9 (4211758)

 ความคิดเห็นที่5

ผู้แสดงความคิดเห็น นายทองดี วงษ์โกฎ วันที่ตอบ 2017-09-11 13:05:54 IP : 182.232.106.45



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.