ReadyPlanet.com


ยอมความได้ไหม


 คดีฉ้อโกง ศาลชั้นต้นตัดสิน จำเลยไม่ผิด  ศาลอุธรณ์ตัดสินจำคุก และให้ชดใช้เงิน  ตอนนี้จำเลยกำลังฏีกาอยู่  ถ้าหากตกลงกันได้ระหว่างโจทย์และจำเลยเรื่องชดใช้ค่าเสียหาย  ไม่ทราบว่าจะยุติการฏีกาได้หรือไม่  และที่ชั้นอุธรณ์ได้ตัดสินให้จำคุกจำเลยยังจะต้องจำคุกอีกหรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ ปรัชญญา :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-12 10:21:02 IP : 120.140.132.212


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3247945)

คดีอาญาความผิดฐานฉ้อโกงนั้นเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ยกเว้นการฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 และคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวนั้นจะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 35 วรรคสอง เมื่อโจทก์ใช้สิทธิถอนฟ้องแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องก็ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) อันเป็นผลให้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองระงับไปด้วยในตัว โดยการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นอุทธรณ์ฎีกานั้น สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ครับ

  1.1 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโดยศาลชั้นต้น

       1.1.1 คู่ความยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้น
      
       1.1.2 เจ้าหน้าที่สอบถามคู่ความในชั้นอุทธรณ์ฎีกาแล้วประสงค์จะไกล่เกลี่ข้อพิพาทคดีที่ศาลชั้นต้น
      
       1.1.3 กรณีศาลอุทธรณ์ฎีกาส่งคดีให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
 
       หมายเหตุ กรณีสำนวนคดีอยู่ศาลอุทธรณ์ฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นอาจจะช่วยดำเนินการคัดสำนวนและสอบถามความประสงค์ของคู่ความเพื่อเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยดูจากสำนวนที่มีอยู่ที่ศาลชั้นต้น (จากสำนวน) แล้วแจ้งให้ศาลอุทธรณ์ฎีกาทราบ เพื่อดำเนินการต่อไปว่าคู่ความประสงค์จะให้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ฎีกาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
 
  1.2 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีในชั้นศาลฎีกาโดยศาลอุทธรณ์ฎีกา
      
       1.2.1 คู่ความยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์ฎีกา
 
       1.2.2 เจ้าหน้าที่สอบถามคู่ความในชั้นอุทธรณ์ฎีกาแล้วประสงค์จะไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์ฎีกา
 
       1.2.3 กรณีศาลอุทธรณ์ฎีกาคัดสำนวนคดีที่อยู่ในศาลอุทธรณ์ฎีกาแล้วสอบถาม และคู่ความประสงค์จะให้ศาลอุทธรณ์ฎีกาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2011-06-12 15:12:03 IP : 61.90.104.158


ความคิดเห็นที่ 2 (3247977)

แม้ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้มีความผิด   แต่เมื่อจำเลยกำลังฎีกาอยู่  ก็สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยเจรจายอมความกันได้เสมอ  ถ้าเป็นคดีที่สามารถยอมความกันได้  ถ้าการเจรจาตกลงกันได้สำเร็จ    คดีย่อมยุติ   จำเลยไม่มีความรับผิดทางอาญาอีกต่อไป  แต่อาจต้องรับผิดทางแพ่ง เช่นชดใช้เงินคืนตามที่ตกลงกันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-06-13 00:51:34 IP : 125.26.106.84



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.