ReadyPlanet.com


รบกวนด้วยตอบด้วยคะ เรื่่องสัญญาเงินกู้


 เรื่องมีอยู่ว่าดิฉันกับแม่ได้ไปกู้เงินนอกระบบมา50000 บาท โดยแม่เปนผู้กู้ และดิฉันซึ่งเปนลูกสาวเปนผู้ค้ำประกัน

โดยทำสัญญาเงินกู้กันไว้1ฉบับ โดยดิฉันเสียดอกเบี้ยเดือนละ5000บาท หลังจากนั้น4เดือน ดิฉันก็ได้ชำระเงินคืน

โดยการโอนผ่านบัญชี แต่บัญชีที่ดิฉันโอนไปเปนบัญชีของลูกสาวเค้า เพราะเค้าสั่งให้โอนบัญชีนี้ ได้โอนคืนไป50000 เรื่องผ่านไป2ปี กลับมีหมายศาลมาบอกว่าดิฉันค้างหนี้เค้า50000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ให้ดิฉันกับแม่ไปชำระ อยากทราบว่าแล้วหลักฐานที่ฉันมีว่าโอนไปชำระเค้าแล้ว จะใช้เปนพยานมาต่อสู้คดีความได้หรือเปล่าคะ

รบกวนด้วยนะคะ ดิฉันต้องไปไกล่เกลี่ยวันที่20 ดิฉันต้องหาทนายไปด้วยหรือป่าวคะ



ผู้ตั้งกระทู้ ดา (moodang1999-at-windowslive-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-12 01:17:24 IP : 183.89.26.165


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3247925)

ตามกฏหมายแล้วการกู้ยืมเงินอันมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อ

1) มีหลักฐานการใช้เงินลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง

2) ได้รับสัญญากู้เงินนั้นคืนมาเมื่อชำระเงินครบถ้วนแล้ว

3) มีการแทงเพิกถอนหรือทำลายสัญญากู้เงินนั้นแล้ว

จึงจะถือว่ามีการชำระเงินกันแล้วโดยสมบูรณ์ แต่ในกรณีของคุณได้โอนเงินเข้าบัญชีที่ผู้ให้กู้แจ้งไว้ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งถือว่าเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 แต่ทีนี้ปัญหาของคุณคือ บัญชีที่คุณโอนเข้าไปมันไม่ใช่บัญชีของผู้ให้กู้โดยตรงแต่เป็นบัญชีของลูกสาวของเขา ซึ่งตรงจุดนี้เองที่เขาคิดจะเล่นแง่หรือเอาเปรียบคุณด้วยการบอกว่ายังไม่ได้รับการชำระหนี้ ถ้าให้ผมสันนิษฐานก็อาจจะมีอยู่ 2 ข้อ คือ 1.เขาอาจจะไม่ได้รับเงินที่คุณโอนเข้าไปจริง หรือ 2.ได้รับแต่ไม่มีความซื่อสัตย์ แต่ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดก็แล้วแต่คุณก็ต้องไปพิสูจน์ให้ได้ว่าบัญชีนั้นคือบัญชีที่ผู้ให้กู้สั่งให้โอนเข้าไปเมื่อมีการชำระหนี้จริง เช่น มีการเขียนไว้เป็นลายลักอักษรในสัญญา หากพิสูจน์ไม่ได้ก็อาจต้องไปฟ้องร้องเอาเงินในส่วนนั้นคืนว่าด้วยหลักลาภมิควรได้อีกที จริง ๆ เรื่องนี้จะจบลงทันทีหากว่าคุณได้โอนเข้าบัญชีของผู้ให้กู้โดยตรงเพราะกฏหมายถือว่าเป็นการชำระหนี้ด้วยอย่างอื่นที่ไม่ต้องไปทำตามหลักเกณฑ์ใน 3 ข้อที่ดังที่ผมกล่าวไว้ ซึ่งเขาจะไม่มีข้ออ้างหรือข้อต่อสู้ใด ๆ เลยต่อคุณ แต่ในเมื่อบัญชีมันคนละคนแบบนี้เขาก็เลยอาจจะมาอ้างว่าไม่ได้รับเงินก็เป็นได้ แต่ก็ยังพอที่จะมีทางอยู่หากคุณพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่ามันเป็นบัญชีของลูกสาวเขาเองและก็เป็นเจตนาของเจ้าหนี้เองที่ให้โอนเข้าบัญชีนั้นถ้าศาลเชื่อผมว่าก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร

ส่วนการไกล่เกลี่ยนั้นจริง ๆ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปต่อสู้คดี แต่ทีนี้เจ้าหนี้เองเขาก็อาจจะรู้อยู่แก่ใจแล้วว่าคุณไม่ใช่ฝ่ายผิดแต่ที่เขาดำเนินเรื่องมาถึงขนาดนี้ก็เพื่อที่จะอยากได้เงินคุณเพิ่ม ผมไม่รู้ว่าเจ้าหนี้จะทำการโดยสุจริตหรือไม่(แต่ลึก ๆ ผมก็เชื่อว่าอาจจะไม่สุจริต) ดังนั้นเขาย่อมที่จะต้องให้คุณจบด้วยการจ่ายเงินเขาแน่นอน ดังนั้นคุณนน่าจะลองติดต่อไปเพื่อสอบถามว่าเขาได้รับการชำระเงินในครั้งนั้นหรือไม่โดยเอาสลิปไปยืนยันว่าได้โอนไปจริง หากจบลงด้วยดีก็ดีไปแต่ถ้าเขาเห็นสลิปแล้วยังคิดจะเอาอีกก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเขามีใจที่คิดไม่ซื่อ ก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วว่าจะไปต่อสู้คดีหรือยอมจ่ายไปเพื่อให้เรื่องมันจบจะได้ไม่ต้องเสียเวลาหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามการที่เขาเรียกดอกเบี้ยคุณร้อยละ 10 ต่อเดือนถือเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฏหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 ที่กำหนดไว้ว่าให้เรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น (1.25 ต่อเดือน) ดังนั้นสิทธิที่เขาจะเรียกร้องได้คือส่วนเงินต้นเท่านั้น ส่วนของดอกเบี้ยจะตกเป็นโมฆะไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2011-06-12 02:51:32 IP : 58.11.19.244



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.