ReadyPlanet.com


การครอบครองกรรมสิทธิ์


1. ชายหญิงสมรสกัน แล้วตกลงปลูกบ้านอาศัยในพื้นมรดกของฝ่ายหญิง ภายหลังมีการหย่าร้าง ฝ่ายชายจะมีสิทธิ์เรียกร้องอะไรได้บ้าง

2. สามีภรรยาสมรสถูกต้องตามกฏหมาย ฝ่ายสามีซื้อบ้านในนามสามี ฝ่ายภรรยาเป็นผู้ค้ำประกัน ซื้อแบบผ่อนชำระ 30 ปี สามีเป็นผู้ผ่อนชำระ ภายหลังสามีภรรยา หย่าร้าง ฝ่ายสามีอาศัยอยู่ในบ้านที่ซื้อ และสามียังคงผ่อนชำระโดยลำพัง และยังไม่โอนกรรมสิทธ์จากธนาคาร ตัวบ้านถือเป็นสินสมรสหรือไม่ หากเป็นสินสมรสฝ่ายสามีต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ที่จะได้มาครอบครองเป็นของตนเอง

3. สามีภรรยาสมรสถุกต้องตามกฏหมาย ฝ่ายสามีซื้อรถยนต์เป็นชื่อสามีเป็นเจ้าของ ภรรยาเป็นผู้ค้ำประกัน  ซื้อแบบผ่อนชำระ 5 ปี สามีเป็นผู้ผ่อนชำระ ภายหลังสามีภรรยา หย่าร้าง ฝ่ายสามีเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ที่ซื้อ และสามียังคงผ่อนชำระโดยลำพัง และยังไม่โอนกรรมสิทธ์จากธนาคารผู้ให้เช่าซื้อ ตัวรถยนต์ถือเป็นสินสมรสหรือไม่ หากเป็นสินสมรสฝ่ายสามีต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ที่จะได้มาครอบครองเป็นของตนเอง



ผู้ตั้งกระทู้ นิด :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-27 16:13:23 IP : 58.137.32.186


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3251746)

1.เมื่อหย่า.....ฝ่ายชายเรียกร้องสิทธิในบ้านได้ครึ่งหนึ่งครับ

2-3  บ้านและรถยนต์เป็นสินสมรส   เมื่อหย่ากัน   ก็ต้องแบ่งปันกันคนละครึ่ง    ถ้าภรรยายินยอมทำสัญญามอบกรรมสิทธิ์ในบ้านและรถยนต์  หรือทำสัญญาสละสิทธิ์ไม่เรียกสินสมรสคือบ้านและรถนต์   ให้สามีเพียงผู้เดียว  ก็ใช้บังคับได้ในระหว่างคู่สัญญาครับ....ปัญหาคือภรรยาเขาจะยินยอม  ทำสัญญาที่เขาเสียเปรียบแบบนี้จริงหรือ.....

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-07-27 16:31:47 IP : 180.180.29.20


ความคิดเห็นที่ 2 (3251747)

ข้อ 2 - 3 หากขายไประหว่างที่ยังไม่โอนกรรมสิทธ์ (ขายดาวน์) ทำได้หรือไม่ และอดีตภรรยามีสิทธ์ขอส่วนแบ่งเงินที่ได้มาหรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น นิด วันที่ตอบ 2011-07-27 16:46:34 IP : 58.137.32.186


ความคิดเห็นที่ 3 (3251764)

ในทางกฏหมายตามสัญญาเช่าซื้อ ตราบใดที่ทรัพย์สินที่เช่าซื้อยังมิใช่ของผู้ที่ซื้อ(คือมีกรรมสิทธิ์) ผู้เช่าซื้อก็ไม่มีสิทธิที่จะขายทรัพย์นั้นได้ เพราะยังไม่ใช่ทรัพย์ของผู้เช่าซื้อนั่นเอง(ไม่ใช่เจ้าของ) แต่ในทางปฏิบัติสามารถขายได้ซึ่งจะเห็นอยู่ทั่วไปว่ามีการขายดาวน์กันทั้งรถและบ้าน หากผู้ซื้อยอมรับเงื่อนไขที่ผู้ขายเสนอก็ย่อมทำได้ครับ

ส่วนเรื่องการแบ่งหากเป็นสินสมรสไม่ว่าจะด้วยกรณีใด ๆ ก็ต้องแบ่งทั้งนั้นครับเพราะกฏหมายถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน จึงต้องมีสิทธิที่เท่า ๆ กันแม้ว่าในทางเป็นจริงคนผ่อนจะเป็นสามีคนเดียวก็ตาม แต่กฏหมายก็ไม่ได้ห้ามหากตกลงกันได้ว่าสามีจะเอาไปคนเดียวก็ได้ดังวิธีที่คุณคงคากล่าวไว้ ถ้าฝ่ายภริยาเห็นใจและรู้ถึงหลักของความเป็นจริงว่าตนไม่ได้เป็นผู้ผ่อนเลย แต่โดยทั่วไปส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมง่าย ๆ หรอกครับ ฉนั้นขึ้นอยู่ที่ว่าเขาจะใช้สิทธิของความเป็นภริยาในสินสมรสนั้นหรือไม่ พูดง่าย ๆ ก็คือภริยาที่ชอบด้วยกฏหมายมีสิทธิเรียกร้องขอส่วนแบ่งจากการขายดาวน์นั้น ๆ ได้ครึ่งนึงนั่นเองครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2011-07-27 23:45:48 IP : 61.90.97.175


ความคิดเห็นที่ 4 (3251800)

การทำสัญญาโดยไม่ผ่านทนาย แต่ใช้แบบฟอร์มที่ถูกต้องตามกฏหมายได้มั๊ยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น นิด วันที่ตอบ 2011-07-28 12:59:43 IP : 58.137.32.186


ความคิดเห็นที่ 5 (3251801)

สัญญา ไม่จำเป็นต้องทำผ่านทนายครับ ร่างขึ้นเองโดยที่มีเนื้อหาใจความที่ชัดเจนมันก็ใช้บังคับปฏิบัติต่อกันได้แล้วครับ หากเป็นการแสดงเจตนาที่ชอบด้วยกฏหมายและถูกต้องตรงกันทั้งสองฝ่าย เพียงแค่นี้ก็ถือเป็นการทำนิติกรรม-สัญญาที่ใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาแล้วครับ ไม่จำเป็นจะต้องทำผ่านทนายหรือตามแบบฟอร์มก็ได้ครับ เพียงถ้ามีฟอร์มอยู่แล้วก็จะเป็นการสะดวกเท่านั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2011-07-28 13:06:20 IP : 110.168.136.209



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.