ReadyPlanet.com


การทำพินัยกรรม


ดิฉันอยากทราบว่าการทำพินัยกรรมสามารถเขียนขึ้นมาเองได้หรือไม่  คือดิฉันจะยกทรัพย์สินของดิฉันให้กับหลาน คือว่าดิฉันไม่มีลูก แต่ไม่แน่ใจว่าถ้าเขียนขึ้นมาเองพี่น้องของดิฉันจะเข้ามามีส่วนร่วมในทรัพย์สินหรือไม่ จะมีวิธีไหนที่รัดกุมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง



ผู้ตั้งกระทู้ อำพร :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-24 19:32:52 IP : 103.1.167.200


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3254077)

 

 
ก็สามารถทำพินัยแบบเขียนเองฉบับได้  ตาม  ปพพ. ม.1657   ตามตัวอย่างที่ยกมาครับ  แต่อาจถูกโต้แย้งจากพี่น้องว่า เป็นพินัยกรรมปลอม   หลานคงต้องมีภาระให้ศาลพิสูจน์  กลายเป็นทุกขลาภ    ควรทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง  ตาม  ปพพ.  มาตรา 1658  โดยไปที่อำเภอแจ้งความจำนง เจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้ เพราะเป็นหน้าที่ที่เขาต้องปฏิบัติ   ถ้าทำเอกสารฝ่ายเมือง การโต้แย้ง น่าจะไม่มี เพราะเจ้าหน้าที่ร่วมเป็นพยาน  จะร้องขอให้เจ้าหน้าที่มาทำที่บ้านก็ได้ ตาม  ม.1659 .......แต่วิธีที่ปลอดภัยที่สุด    คือคุณโอนทรัพย์สินให้หลาน  โดยจดทะเบียนสงวนสิทธิเก็บกินไว้ตลอดชีวิต  แม้หลานจำหน่ายจ่ายโอนไป  สิทธิเก็บกินของคุณก็มีอยู่ตลอดไปครับ
 
 
                                                                                        พินัยกรรม
                                                                
                                                              
ทำที่……………………………………..
    วันที่…………. เดือน…………………..พ.ศ. ………….
 
 
ข้าพเจ้า………………………………………อายุ………….ปี เลขประจำตัวบัตรประชาชน..............................อยู่บ้านเลข
ที่……………หมู่ที่………. ถนน…………..…ตำบล/แขวง……………อำเภอ/เขต………………… จังหวัด..........
ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้ทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่ใน
ปัจจุบัน และที่จะมีต่อไปในอนาคตให้แก่......................................................เลขประจำตัวประชาชน...................................ที่
อยู่......................................................แต่เพียงผู้เดียว
 พินัยกรรมนี้ ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ ได้ทำไว้ ๒ ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันทุกประการ
ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่…………….………….………. อีกฉบับหนึ่ง    เก็บไว้ที่……………..……………….
ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติ
ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว
                                                                        ชื่อ…………………………….……ผู้ทำพินัยกรรม
                                                                                  (...........................................)
มาตรา 1658 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ
(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์ จะให้ใส่ไว้ใน พินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีก อย่างน้อยสองคน พร้อมกัน
(2) กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
(3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กรมการ อำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
(4) ข้อความที่กรมการอำเภอจดไว้นั้น ให้กรมการอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนั้น ได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุ มาตรา (1) ถึง (3) ข้างต้น แล้ว ประทับตราตำแหน่ง ไว้เป็นสำคัญ
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอ จะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
มาตรา 1659 การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้น จะทำ นอกที่ว่าการอำเภอก็ได้ เมื่อมีการร้องขอเช่นนั้น
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2011-08-25 08:23:30 IP : 180.180.27.81



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.