ReadyPlanet.com


ซื้อ-ขาย หนี้สัญญาเช่าซื้อ


เนื่องจากว่าผมได้ซื้อรถและได้ผ่อนกับ ธนชาติ ต่อมาได้มีการทำสัญญากับธนชาติโดยผ่อนเดือนละ 3000.- บาท ปรากฎว่าเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ได้มีบริษัทฯที่ได้ซื้อหนี้จาก ธนชาติ แล้วมาตามหนี้กับทางผม โดยให้ผมรับผิดชอบหนี้ตามคำพิพากษาเต็มจำนวน คือ 490,000.- บาท โดยไม่คำนึงถึงข้อตกลงตามสัญญาที่ผมได้ทำกับ ธนชาติ ไว้เลย

-ผมควรทำอย่างไรดีครับ สามารถร้องเรียนหน่วยงานไหนได้บ้างว่า บริษัทฯที่ได้ซื้อหนี้มาควรจะเคารพข้อตกลงตามสัญญาเดิม (ฟ้องละเมิดตามสัญญาปรับโครงสร้างได้หรือไม่)

-การซื้อขายหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้น ตามกฎหมายจะต้องแจ้งให้ผมทราบหรือเปล่าครับว่าเรายอมรับตามที่ทาง ธนชาติได้ขายหนี้ควรจะต้องได้รับความยินยอมจากเราหรือไม่ (ผมไม่ได้รับแจ้งให้ทราบแต่อย่างไรเลย) เราสามารถฟ้องอะไรได้บ้างครับ (นึกจะขายกันก็ไม่แจ้งกันบ้างเลย)

-ยอดหนี้ควรจะเหลือแค่ 3 แสนเศษ แล้วนี้อยู่ดีๆบริษัทที่รับซื้อหนี้ไปกลับมาเรียกร้องเอากับเราเต็มจำนวนตามคำพิพากษาควรทำอย่างไรดี และร้องเรียนหน่วยงานไหนได้บ้างครับ หรือฟ้องได้บ้างหรือเปล่าครับ



ผู้ตั้งกระทู้ เอ :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-05 13:48:36 IP : 124.120.159.220


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3247265)

ปัญหาที่คุณประสบอยู่  เป็นปัญหาที่คนเช่าซื้อได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก  เมื่อผิดนัดการชำระหนี้    ก็มีการขายหนี้ให้อีกบริษัท  และบริษัทที่รับซื้อหนี้ ก็มาไล่เบี้ยกับผู้เช่าซื้อในจำนวนเงินที่สูงเกินความเป็นจริง   ก็ป็นข้อสัญญาที่ไม่เป้นธรรม    ก็ต้องใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องได้.......ก่อนอื่นก็ร้อง  สคบ.  ก่อน    ถ้าการเจรจาไม่ได้ข้อยุติ   สคบ.  มักส่งฟ้องศาลเป็นคดีบริโภค ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย   ก็รีบดำเนินการตามขั้นตอนนี้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-06-05 14:28:39 IP : 180.180.28.155


ความคิดเห็นที่ 2 (3247268)

- ความเห็นของผมคือ ในเมื่อคุณได้ทำสัญญาประนอมหนี้กับทางธนชาติไว้โดยจะขอผ่อนจ่ายให้เดือนละ 3,000 บาท ก็ถือเป็นสิ่งที่ผู้รับโอนจะต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วยเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิที่ดีไปกว่าผู้โอน ดังนั้นคุณจึงสามารถยกข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอนก่อนเวลาที่ได้รับคำบอกกล่าวการโอนนั้นขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ ตามมาตรา 308 วรรคสอง ครับ

- โดยปกติแล้วหนี้ที่ยังไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลก็จะสามารถทำการโอนกันได้เรียกว่า "โอนสิทธิเรียกร้อง" ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้หากเป็นหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง คือมีตัวเจ้าหนี้ระบุได้แน่นอนว่าเป็นใครจะต้องปฎิบัติตาม มาตรา 306 คือ ทำเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนนั้นไปให้ลูกหนี้ทราบ หรือ กรณีไม่มีการบอกกล่าวแต่ลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมในการโอนนั้นเป็นหนังสือ การโอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้นก็จะถือว่าสมบูรณ์สามารถบังคับใช้ได้ระหว่างผู้ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องหรือหนี้นั้น ๆ เพื่อไปบังคับชำระหนี้กับลูกหนี้ต่อไป

- หากว่าคุณได้ชำระหนี้ไปบางส่วนแล้วจนยอดหนี้เหลือไม่เท่ากับที่เขาเรียกมาก หากมีหลักฐานการชำระหนี้หรือจ่ายเงินก็ไม่ต้องจ่าย(จ่ายเฉพาะในส่วนที่ตกลงกันไว้ตามสัญญา)ให้เขาไปฟ้องร้องเอาโดยยกเรื่องที่ได้ชำระเงินไปแล้วบางส่วนกับสัญญาประนอมหนี้ที่ได้ทำกับผู้โอนคือธนาคารธนชาติไว้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้อย่างที่ได้กล่าวไป หรือจะไปร้อง สคบ.เพื่อให้เป็นคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยตามที่คุณ คงคา แนะนำไว้ก็ดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2011-06-05 15:18:45 IP : 58.11.4.254



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.