ReadyPlanet.com


คดีโดนรถชนท้าย​ เป็นฝ่ายถูก​ จะเรียกค่าสินไหมได้เท่าไหร่​ หากไม่จบโรงพักไปศาลค่าใช


 สวัสดีค่ะอยากจะสอบถามว่าคุณเเม่ขับรถเครื่องอยู่ทางดีดี​ มีรถยนต์มาชนท้าย​ ทำให้คุณเเม่กระดูกคอหัก(คอหัก)​ ขาหักผิดรูป​ มีเรื่องจะสอบถามดังนี้ค่ะ​                                                                               ​ 1.ตอนนี้5เดือนเเล้วรักษามา​ คู่กรนีช่วยเหลือเเค่2หมื่นรับปากจะช่วยเเต่พอถึงเวลาหาหมอ​ บ่ายเบี่ยงไม่รับโทรศัพท์อยากทราบว่า​ คดีผ่านมา5เดือนเเม่ต้องนอนที่​ ไปให้ปากคำไม่ได้​ พึ่งจะให้ปากคำไป​ รอนัดไก่เกลีย  วันที่เราไปนัดไกล่เกลีย​ เราฝ่ายถูกจะต้องจ่ายค่าอะไรบ้างไหมค่ะ​                                                                                               22​   .เเม่หยุดงานมา5เดือนเเล้ว​ เงินเดือน15, 000​ หมอบอกว่าหมอต้องหยุดทำงานหนัก1ปี​ เพราะใส่ที่บลอคอไว้​ อนาคตไม่เเน่นอนว่าจะใช้คอได้เหมือนเดิมไหม​ เนื่องจากจุดที่คอหักไม่สามารถทำให้หันซ้ายขวาได้เลย​ ส่วนขาที่หัก​ ดีขึ้นเเต่เวลาเดินมีอาการเจบ้าง​  อาการหนักเเบบนี้สามารถเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่3.ถ้าเรียกค่่าเสียหาย6เเสนเราควรจะเรียกไป8หรือ9เเสนไหมค่ะเพราะเขาต้องขออีก​หรือควรเรียกค่าเสียหายเท่าไหร่​ 4.ถ้าไม่จบที่โรงพักต้องไปศาลมีค่าใช้จ่ยเท่าไหร่​ ปล.รถคู่กรนีไม่มีประกันไม่มีพรบ.ทั้งสิ้น​ มีเเต่พรบ.ของเราค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ พิมมาลา :: วันที่ลงประกาศ 2022-05-16 19:41:22 IP : 182.232.10.233


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4459158)

 อุบัติเหตุ

  การถูกชนท้าย  ก็ย่อมได้รับสันนิษฐานว่า เป็นฝ่ายถูก  แต่ก็อย่าได้วางใจ ควรสอบถามร้อยเวรเจ้าของคดี หรือขอดูการสรุปสำนวนว่า สรุปว่า ฝ่ายชนท้ายเราประมาทจริงหรือไม่ เพราะถ้ามีการฟ้องร้องเป็นคดี  คู่กรณีก็มักให้การต่อสู้เสมอว่า ตน ไม่ได้ประมาท  หรือรถคันหน้าเบรคกระทันหัน หรือมีส่วนประมาทด้วย เพื่อจะได้รับผิดน้อยลง...

  การขับรถชนท้ายโดยประมาท  เมื่อคุณแม่บาดเจ็บสาหัส  (รักษาฯเกินกว่า 20 วัน)ถือว่าทำการโดยประมาท ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส  ตาม ปอ.ม.300 มีโทษจำคุกสามปี ปรับหกหมื่นบาทฯ...คดีแบบนี้ เบื้องต้น ตำรวจก็มักให้เจรจากันก่อน เรื่องค่าเสียหายแบ่งได้สองส่วนคือ  ส่วนที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ชัดเจน ได้แก่ค่ารักษาพยาบาลก็ย่อมมีรายจ่ายที่ชัดเจน..  ค่าขาดประโยชน์ในการทำงาน ก็คำนวณได้ตามวันที่ไม่สามารถทำงานได้  ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งคือ  ค่าเสียหายแก่ร่างกายจิตใจฯ ตาม ปพพ. ม.420  ที่คนทั่วไปมักเรียกกันว่าค่าทำขวัญ กฎหมายจะไม่มีการกำหนดจำนวนเงินไว้ชัดเจน ก็เรียกร้องได้ตามสมควรแก่ฐานานุรูป (ฐานะความเป็นอยู่ ชื่อเสียง เกียรติศักดิ์ในสังคม เป็นต้น) บางรายเรียกเป็นแสน เป็นล้าน หรือหลายล้าน  ก็แล้วข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป...ถ้าการเจรจาต่อรองกันไม่เป็นผล  ตำรวจก็ต้องสรุปสำนวนเพื่อส่งอัยการเพื่อฟ้องผู้ขับรถฯฐานประมาทจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัสฯ( เพราะเป็นคดีอาญาที่ยอมความไม่ได้) ฝ่ายเราผู้เสียหาย  ก็สามารถเรียกค่าหายทางแพ่ง  ไปในคดีที่อัยการฟ้องได้(โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ศาล)  โดยไม่ต้องไปฟ้องเอง ให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย  แม้มีการฟ้องศาล   ศาลก็มักให้การเจรจาไกล่เกลี่ยเรื่องค่าเสียหายกันอีก  อาจจะสามารถตกลงกันได้(จะเรียกร้องเท่าไร  ต้องไปคิดคำนวณดูเอาเองตามความเหมาะสม ครับ)  ถ้าตกลงกันได้ ในส่วนคดีอาญา  ศาลอาจลงโทษน้อย  อาจจะไม่ถึงกับต้องถูกจำคุก     แต่ถ้าการเจรจาตกลงกันไม่ได้    ศาลจะพิจารณาคดี  ในห้องพิจารณาคดี คือสืบพยานต้องสองฝ่าย  และพิพากษาคดี ไปตามรูปคดี  คือค่าเสียหายศาลก็คงกำหนดให้ตามความเหมาะสม  จะมีโทษจำคุกหรือไม่  ก็เป็นไปตามดุลยพินิจของศาล  คงตอบในเรื่องนี้ไม่ได้...  ถ้ามีคดีถึงศาล ก็คงว่ากันยาวนาน  อาจข้ามเดือนข้ามปี ก็ได้   ดังนั้นต้องมีความอดทนที่สูงมาก คือแม่ก็เจ็บหนัก ยังมามีคดีถึงศาล   คงยุ่งยากพอสมควร...(ความเห็น) ถ้าเขายินยอมชดใช้ในจำนวนที่สมควร ก็ควรยอมรับ แม้ไม่คุ้มแต่ก็ไม่ยุ่งยาก..ข้อคิด ถ้าจะเรียกร้องเป็นตัวเงิน   ก็ต้องดูฐานะความเป็นอยู่ของเขาด้วยว่า เขามีกำลังพอจะชดใช้เราหรือไม่  เช่น ถ้าศาลให้เขาชดใช้  1 แสนบาท  ถ้าเขาไม่มีเงินชดใช้  ก็ต้องไปยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้  ถ้าเขาไม่มีทรัพย์สินใดๆเลย  เราก็ทำอะไรไม่ได้  บางคนยอมถูกจำคุกหน้าตาเฉยก็มี  คดีแบนี้ ก็คงถูกจำคุกประมาณ 1 ปี  บางคนยอมเข้าคุก เพราะไม่มีเงินจ่าย ก็มีมากมาย  ดังนั้นขั้นตอนการเจรจาต้องตรวจสอบฐานะความเป็นอยู่ของเขาด้วยว่า มีกำลังพอจะชดใช้เราหรือไม่  ด้วยความปรารถนาดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2022-05-17 10:29:01 IP : 223.205.221.47



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.