ReadyPlanet.com


การซื้อบ้านแบบเปลี่ยนสัญญาผ่อนต่อกับธนาคาร


 สอบถาม เรื่อง  ผมจะซื้อบ้านกับเจ้าของที่นำบ้านไปจำนองไว้กับธนาคาร แล้วเจ้าของเสนอว่า  ถ้าจะซื้อ จ่ายส่วนต่างส่วนหนึ่ง แล้วเปลี่ยนสัญญาให้ผมผ่อนต่อได้เลย แบบนี้ถูกต้องไหมครับ  มีวิธีการอย่างไร  ข้อดี ข้อเสีย ข้อพึงระวัง มีไหมครับ



ผู้ตั้งกระทู้ บ้านมือสอง :: วันที่ลงประกาศ 2022-05-14 23:06:34 IP : 27.55.74.205


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4459087)

 การซื้อบ้านต่อจากผู้อื่น

  สามารถทำได้  ไม่ขัดต่อกฎหมาย  เพียงแต่ต้องเจรจาตกลงกันให้ชัดเจน  เรื่องสำคัญคือ  ต้องเปลี่ยนสัญญาใหม่  คือโอนมาทั้งที่ติดจำนองได้  แต่ต้องเปลี่ยนสัญญาให้เราผู้ซื้อเป็นผู้จำนองแทน และเราก็ผ่อนส่งต่อไปในนามของเราผู้ซื้อ ส่วนการตกลงค่าส่วนต่าง และราคาขายก็ตกลงกันไป ตามความเหมาะสม  ซึ่งเรื่องนี้ ต้องเจรจากันสามฝ่าย  คือผู้ขาย ผู้ซื้อ และธนาคารว่าให้ความยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือไม่  ถ้าธนาคารยินยอม  ก็คงมีค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนจดทำนองใหม่   และค่าธรรมเนียมอื่นๆ พอสมควร  มีหลายๆรายเห็นว่ายุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่ยอมเปลี่ยนสัญญา  ก็ตกลงซื้อขายและทำสัญญากันเอง  และผ่อนส่งในนามเจ้าของเดิม เพราะสะดวกดี  ถ้าทำเช่นนั้น  ถือว่าเป็นระเบิดเวลาที่รอวันระเบิด  คือเมื่อผ่อนหมดแล้ว ธนาคารก็ต้องโอนบ้านให้เจ้าของเดิมตามสัญญา  ผู้ซื้อไม่ได้มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับธนาคาร  มีเพียงสัญญาหรือข้อตกลงกับผู้ขาย ซึ่งย่อมไม่ผูกกับธนาคาร  ถ้าผู้ขายไม่ยอมโอนบ้านให้  คงต้องมีการฟ้องร้องกันยืดยาว  ดังนั้นต้องเปลี่ยนแปลงสัญญาใหม่เท่านั้น  ค่าใช้จ่ายต่างๆ  ก็ควรเจรจากันแต่แรกว่า ให้ช่วยเหลือออกค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง  หรือจะให้ผู้ซื้อหรือผู้ขายจ่ายเงินค่าธรรมเนียมก็ต้องตกลงกันให้ชัดเจน แต่แรก

  ข้อดี  อาจจะได้บ้านราคาไม่สูงนัก  เพราะผู้ขาย ยินยอมขายบ้านน่าจะขัดข้องเรื่องการเงิน  มักยอมขายขายทุน  ส่วนข้อเสีย  การเปลี่ยนสัญญาใหม่ ต้องมีค่าใช้จ่าย   และที่สำคัญธนาคารเจ้าหนี้ต้องยินยอมด้วย  ดังนั้นการเจรจากับธนาคารให้ลงตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ...

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2022-05-16 10:01:17 IP : 223.205.221.47


ความคิดเห็นที่ 2 (4459088)

 เพิ่มเติม...

เมื่อตกลงซื้อขาย   ควรตรวจสอบเรื่องค่าน้ำประปา  ค่าไฟฟ้า ว่าเจ้าของเดิมมีหนี้ค้างอยู่หรือไม่  ก็สามารถตรวจสอบได้ไม่ยาก ที่ การไฟฟ้า และ การประปา  กรณีเป็นบ้านที่มีนิติบุคคลประจำหมู่บ้าน  ก็ต้องตรวจสอบกับนิติฯให้ชัดเจนว่า  บ้านหลังหนี้มีหนี้ยังคงค้างอยู่หรือไม่...และเรื่องภาษีอื่นๆก็ตรวจสอบให้ชัดเจน..

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2022-05-16 10:06:11 IP : 223.205.221.47



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.